โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการเสริมแรงใจตามหลักพุทธจิตวิทยาด้วยพิธีกรรมการเจิม ของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Spirit Reinforcement Model based on Buddhist Psychology Through the Anointing Rites of Thai Buddhists
  • ผู้วิจัยพระมหาพลกิตติ์ ภูริปญฺโญ (สุรชน)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา16/02/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/564
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 183
  • จำนวนผู้เข้าชม 389

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสัญลักษณ์ หลักการและกระบวนการของพิธีกรรมการเจิมในสังคมไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติและประสิทธิภาพในการเจิมของพุทธศาสนิกชน  ในสังคมไทย และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมแรงใจตามหลักพุทธจิตวิทยาด้วยพิธีกรรมการเจิมของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิธีกรรมการเจิมผู้เชี่ยวชาญทางด้านพุทธธรรม จิตวิทยาร่วมสมัยและผู้เคยผ่านพิธีกรรมการเจิมจำนวน 16 รูป/คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์และวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL

ผลการวิจัย มีดังนี้

1. สัญลักษณ์ต่างๆ ในพิธีกรรมการเจิมในสังคมไทย สามารถสื่อถึงหลักธรรมพระรัตนตรัย ให้คนทำความดี การเริ่มใหม่ การก้าวไปข้างหน้า เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีหลักการและกระบวนการ คือเตรียมผู้เจิมและผู้ถูกเจิม เริ่มตั้งแต่นิมนต์พระ ดูเวลา ฤกษ์ยาม วันที่ดีที่เหมาะสมตามฤกษ์ตามชัยเตรียมสถานที่และวัตถุที่จะเจิมเตรียมแป้ง น้ำหอม น้ำมนต์ แผ่นทอง ผู้เจิมทำพิธีการเจิม เริ่มตั้งแต่  มีพิธีสงฆ์คือสวดมนต์ มีการอาราธนาคุณพระพุทธคุณพระธรรมคุณพระสงฆ์คุณครูบาอาจารย์และบิดามารดา รับศีล พระเจริญพุทธมนต์ ถวายเครื่องสักการะ พระสงฆ์ฉัน ให้พร เสร็จแล้วจึงเจิม และผู้เจิมสอนหลักธรรมที่เกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิตด้วยการเทศน์หรือให้ข้อคิดจากการเจิม

2. ทัศนคติและประสิทธิภาพในการเจิมของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยเกิดจากศรัทธาและความคาดหวังในการเสริมแรงใจให้ทำสิ่งที่ดีงามสามารถแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงของกระบวนการของผู้เคยผ่านการเจิมว่ามีศรัทธาอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1) ศรัทธาในผู้เจิม 2) ศรัทธา   ในพิธีกรรม และ 3) ศรัทธาในคนต้นแบบ จากศรัทธานั้นนำไปสู่การเกิดความคาดหวัง 3 ประการ ประกอบด้วย 1) เป้าหมาย 2)  ความพยายามต่อการกระทำ และ 3) การกระทำต่อผลลัพธ์นำไปสู่การเสริมแรงใจตามหลักพุทธจิตวิทยาด้วยพิธีกรรมการเจิม 5 ประการ ประกอบด้วย 1) ความเชื่อมั่น 2) การมองโลกในแง่ดี 3) ศีล 4) สมาธิ และ 5) ปัญญา

3. รูปแบบการเสริมแรงใจตามหลักพุทธจิตวิทยาด้วยพิธีกรรมการเจิมของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย (FPECOT Model) ประกอบด้วย 1) ความศรัทธา (Faith: F) ได้แก่   (1) ศรัทธาในผู้เจิม (2) ศรัทธาในพิธีกรรม และ (3) ศรัทธาในคนต้นแบบ 2) กระบวนการของพิธีกรรมการเจิม (Process: P) ได้แก่ (1) เตรียมผู้เจิม ผู้ถูกเจิมและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง (2) ผู้เจิมทำพิธีการเจิม (3) ผู้เจิมสอนหลักธรรมที่เกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต 3) ความคาดหวัง (Expectation: E) ได้แก่ (1) มีเป้าหมาย (2) ความพยายามที่จะกระทำ (Effort) (3) การกระทำต่อผลลัพธ์ (Performance) 4) การเสริมแรงใจตามหลักพุทธจิตวิทยา (COT) ได้แก่ ความเชื่อมั่นในตนเอง (Confidence) การมองโลกในแง่ดี (Optimism) และไตรสิกขา (Threefold Learning) โดยพัฒนาจากโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของรูปแบบการเสริมแรงใจตามหลักพุทธจิตวิทยาที่มีความคาดหวังเป็นตัวแปรส่งผ่าน พบว่ามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 26.04 องศาอิสระเท่ากับ  20และค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.16 ดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.034 อธิบายความแปรปรวนของการเสริมแรงใจตามหลักพุทธจิตวิทยาได้ร้อยละ 90.00 อิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผลต่อการเสริมแรงใจตามหลักพุทธจิตวิทยา โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.13 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research aims 1) to study the symbol, principle, and process of anointing rites in Thai society; 2) to analyze the attitude and efficiency of anointing rites of Thai Buddhists; and 3) to present the spirit reinforcement model based on Buddhist Psychology through the anointing rites of Thai Buddhists. The study is a mixed methods research using a quantitative method to extend qualitative results. Key informants were 16 experts in anointing rites in Thai society, in Buddhadhamma, in contemporary psychology, and the target groups who had experiences in the anointing rites. They were selected by a purposive sampling method. For quantitative research, a simple random sampling method was used to select 270 samples  of population. The research instruments were in-depth interviewand questionnaires. Content analysis and analytic induction were used for a qualitative data analysis.  For quantitative data, descriptive statistics including the analysis of correlation,  relationships between the model and empirical data and direct and indirect influences were analyzed by LISREL.

The research resultswere as follows:

1. The symbols in anointing rites in Thai society describe Dharma and the Triple Gem to encourage people to do good deeds, renewal, forwarding, and reliance. The principle and procedure included preparing the people who anoint and were anointed, starting with the inviting of monks to look for auspicious date and time, preparing the place and objects for being anointed, powder, perfume, holy water, gold leaves, inviting Buddhist monks to chant Buddhist prayers by paying homage to Triple Gem, teachers andparents, observing Five Precepts, offering objects for worshipping, offering meal to monks, offering respectful souvenirs, and being blessed by Buddhist monks and lastly performing  an anointing rite. At the time an anointing rite Buddhadhamma for earning living was taught.

2. The attitude and efficiency of anointing rites of Thai Buddhists initiated from the faith and the expectation in order to have good express at the form of spirit reinforcement showed that the relationship of the process of the people who had been anointed included three faiths: 1) faith to the person who anoints; 2) Faith in the anointing rites; and 3) faith in model. From those kinds of faiths it led to 3 expectations including
1) goal, 2) effort, and 3) performance. These led to 5 spirit reinforcement models based on Buddhist psychology through the anointing rites including 1) confidence, 2) optimism, 3) virtue, 4) concentration, and5) wisdom.

3. For a spirit reinforcement models based on Buddhist psychology through the anointing rites in Thai society it revealed the FPECOT Model including 1) Faith (F) consisting of(1) faith to the person who anoints (2) Faith in the anointing rites and, (3) faith in model; 2) Process of anointing (P) consisting of (1) preparing the people who anoint and are anointed and objects involved, (2) having an anointing rite, and (3) the person who anoints teach the Dharma relating to the ways of life or the concept of anointing; 3) Expectation (E) consisting of  (1) Goal, (2) Effort, and (3) Performance;   4) A spirit reinforcement in Buddhist psychology (COT) were Confidence, Optimism, and Threefold Learning. This was developed from causal relationship of a spirit reinforcement in Buddhist psychology which had an expectation as a mediator variable. It also found that the relationship merges empirical data as showed Chi-Square test was 26.04, Degree of Freedom was 20, Probability (p) was 0.16, Goodness-of-fit index (GFI) was 0.98, Adjusted goodness-of-fit index (AGFI) was 0.94, and Root mean square of error approximation (RMSEA) was 0.034. Accounting for the variation in a spirit reinforcement in Buddhist Psychology was 90.00 percent. Indirect influence effects on a spirit reinforcement in Buddhist psychology was 1.13. It has a statistical significant of .01

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.27 MiB 183 8 มิ.ย. 2564 เวลา 18:02 น. ดาวน์โหลด