โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แบบจำลองพุทธจิตวิทยาการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Buddhist Psychological Model For Holistic Healthcare and Promotion on Traditional Thai Medicine
  • ผู้วิจัยนางพรรณทิพา ชเนศร์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ (เฉลิมจาน), ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา27/11/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/565
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 184
  • จำนวนผู้เข้าชม 327

บทคัดย่อภาษาไทย

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทยสำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 2) เพื่อสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแบบแพทย์แผนไทย สำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และ 3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองพุทธจิตวิทยากระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทยสำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลและสร้างองค์ความรู้จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 รูป/คน การสนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 12 รูป/คน และการยืนยันตัดสินการใช้ในภาคปฏิบัติของ แบบจำลองของงานวิจัย โดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน 8 รูป/คน ที่ใช้การวิธีวิจัยแบบการประชุมผู้เชี่ยวชาญพิเศษ Connoisseurship เพื่อยืนยันตัดสินการนำไปใช้ของแบบจำลอง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบ 6 C Technic Analysis  และเทคนิคสามเส้า  ผลการวิจัยพบว่า

 1. การวิเคราะห์กระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทยสำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบว่า มีกระบวนการหลักสำคัญที่สามารถใช้ได้ ทั้งในการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพ  4 กระบวนการ คือ 1) การตรวจโรค 2) การวินิจฉัยโรค 3) การรักษาโรค 4) การติดตามผล เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตกายจิตดีขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายของการสมดุลกายและจิต

2. การสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาเพื่อการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแบบแพทย์แผนไทยเพื่อให้เกิดสุขภาวะสูงสุดเกิดดุลยภาพกายใจ  พบว่าหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมได้แก่ ไตรสิกขาเป็นหลักการปฏิบัติเพื่อการรักษาสุขภาพกายใจ พรหมวิหาร 4 หลักธรรมแห่งความรัก การเอาใจใส่และการวางใจ กัลยาณมิตร 7  เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพแพทย์ เสริมคุณค่าทางจิตและปัญญา อริยสัจ 4 หลักพุทธธรรมที่เป็นธรรมแห่งการพ้นทุกข์ของชีวิต และหลักจิตวิทยาที่เหมาะสมและส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพของบำบัดดูแล คือ หลักการให้การปรึกษา ที่มีทักษะสำคัญ คือ การฟังด้วยใจ ,การคิดใคร่ครวญที่ตรงตามความจริงในเชิงบวก การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ และหลักการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทำให้กระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวม คือ เกิดดุลยภาพกายใจ มีความสุขอย่างแท้จริงและยั่งยืน

3. สำหรับแบบจำลองพุทธจิตวิทยากระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทย สำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบว่า เป็นรูปแบบการบูรณาการ 3 ศาสตร์ศักดิ์สิทธ์แห่งปัญญาเข้าด้วยกัน ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการบำบัดดูแล และดูแลสุขภาพที่เป็นองค์รวมมีความอย่างยั่งยืน ตรงตามเป้าหมายในชีวิตของมนุษย์ทุกคนต้องการ โดยใช้หลักไตรสิก ขาในการพัฒนากายจิต บนพื้นฐานความรักความเมตตาของหลักพรหมวิหาร 4 ทำให้เกิดการเอาใจใส่ด้วยหัวใจ การวางใจของแพทย์ หลักกัลยาณมิตร 7 ที่เป็นคุณค่าทางจิตและปัญญา หลักอริยสัจ 4 เป็น กระบวนการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง การวิเคราะห์ร่างกายและจิตใจในระดับขันธ์ 5 เพื่อให้เข้าใจสาเหตุของทุกข์ และหาแนวทางการออกจากทุกข์ทั้งกายจิตที่แท้จริง ทำให้เกิดดุลยภาพกายและจิต กายคือการใช้ชีวิตพื้นฐานที่เป็นปกติ ทางจิตคือการมีจิตที่สงบมั่นคง มีสติอยู่กับปัจจุบัน การยอมรับและมองโลกตรงตามความเป็นจริง คือการเกิดปัญญาในตัวของผู้ป่วย มองทุกอย่างมีคุณค่า การยอมรับความสามารถตนเอง มีความภูมิใจ คือการสร้างพลังของการมีชีวิต และค้นพบสุขภาวะองค์รวมสูงสุดทางกายและจิต

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

 The study entitled A Buddhist Psychological Model for Holistic Healthcare and Promotion on Traditional Thai Medicine is of objectives: 1) to analyze the process of holistic healthcare and promotion in traditional Thai medicine for ones of Chronic illness; 2) to synthesize the Buddhadhamma and Psychological principles of holistic healthcare and promotion in traditional Thai medicine ones of Chronic illness; and 3) to present a Buddhist Psychological model for holistic healthcare and promotion in traditional Thai medicine ones of Chronic illness. The study is  qualitative in nature. An in-depth interview is used to collect data from 17 key informants and Focus Group Discussion is also used to collection data from 12 specialized ones and Connoisseurship method used to judge the practical model with 8 specialists.  6’s  C Technic analysis is used for analysing data.

Research results were  as follows:   

1) From the analyzing the process of holistic healthcare and promotion in traditional Thai medicine for ones of Chronic illness it found that the process of holistic healthcare and promotion in traditional Thai medicine for ones of Chronic illness included 4 steps: 1) Examination, 2) Diagnosis, 3) Treatment, and 4) Follow up in order to improve the quality of life as the goal of a balance of body and mind.

 2) Regarding the synthesizing of the Buddhadhamma and Psychological principles of holistic healthcare and promotion in traditional Thai medicine ones of Chronic illness it found that the suitable Buddhamma was the Threefold training, for the bodily and mental healthcare, Four Sublime States of Mind for caring, Kalayanamitr 7 for improving personality to reinforce the mental and intellectual values,  Four Noble Truths for eliminating suffering and the suitable Psychological principles comprised the counseling principles including a deep listening, positive thinking, persuasive communication, and self-actualization resulted in strengthening a sustainably holistic healthcare and promotion in traditional Thai medicine ones of Chronic illness.

 3) With regard to a Buddhist Psychological model for holistic healthcare and promotion in traditional Thai medicine ones of Chronic illness it revealed that  it integrated three sciences and promoted the effectiveness of a sustainably holistic healthcare  in association with the human goal applying the Threefold training for a bodily and mental development based on the loving-kindness of  Four Sublime States of Mind, a good care in Kalayanamitr 7 as the mental and intellectual value,  Four Noble Truths for eliminating suffering, and the bodily and mental analysis in Five Aggregates for realizing the causes of suffering and find out the ways out of both bodily and mental gravities resulted in the bodily and mental balance: the bodily balance was a common basis of course of life and mental one was a stable, peaceful and mindful mind. Lastly Chronic ill ones accepted the truth with the wisdom of realization on a self-value, self-pride and self-ability for a good holistic healthcare of body and mind.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 19.2 MiB 184 8 มิ.ย. 2564 เวลา 18:12 น. ดาวน์โหลด