โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างกระบวนการรับรู้กับการพัฒนาปัญญา ตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Structural Equation of Recognition process and Wisdom Development according to Buddhist Psychology for King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL)
  • ผู้วิจัยพระมนตรี ปญฺญาทีโป (คู่ควร)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประยูร สุยะใจ
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/566
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 263
  • จำนวนผู้เข้าชม 655

บทคัดย่อภาษาไทย

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาหลักการและกระบวนการรับรู้กับการพัฒนาปัญญาตามหลักพุทธศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและกระบวนการรับรู้กับการพัฒนาปัญญาตามหลักจิตวิทยา และ 3) เพื่อพัฒนาโมเดลและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกระบวนการรับรู้ กับการพัฒนาปัญญาตามหลักพุทธจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประ จักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์อุสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 285 คน วิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างแบบมีตัวแปรส่งผ่านด้วยโปรแกรม LISREL

                 ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตพุทธจิตวิทยาต่อ การพัฒนาปัญญาและการรับรู้ด้วยกระบวนการพุทธจิตวิทยา ที่ส่งผลต่อวิธีการพัฒนาปัญญาตามสมมติฐาน มีความสอด คล้องของกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี พิจารณาได้จากผลการตรวจสอบค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 100.15  ค่า df เท่ากับ 84 ค่า p เท่ากับ 1.00 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.0 ดัชนี AGFI เท่ากับ 0.91 ดัชนีCFI เท่ากับ 1.0 ค่า SRMR เท่ากับ 0.03 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.03 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการพัฒนาปัญญาตามหลักพุทธจิตวิทยา ได้ร้อยละ 79 องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาปัญญาตามหลักพุทธจิตวิทยาตามข้อมูลเชิงประจักษ์ เกิดจากการบูรณาการหลักพุทธศาสตร์และหลักจิตวิทยาคือ POLMM Model

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 The objectives of this research are   1.) To study principle and recognition process and development of Buddhist Wisdom   2.) To study the theory concept and recognition process and development of Buddhist Wisdom and   3.) To develop the model and check for compatibility of the model structure towards the recognition process and development of Buddhist Wisdom. There were 285 samples which were students super senior and Faculty of Industrial Education and Technology, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL).  SPSS Analysis was applied for checking the compatibility of the model structure using LISREL as a variable transfer program.

                 The results of the research found that the model of Buddhist Psychology towards the recognition process and development of Buddhist Wisdom, which affected to the wisdom development according to the hypothesis, had a positive compatibility to the empirical data.  The results were found with the Chi Square = 100.15, df = 84, p = 1.00, GFI = 1.0, AGFI Index = 0.91, CFI Index = 1.0, SRMR = 0.03, RMSEA = 0.03. All variables of the model could explain the variance of Buddhist Wisdom development according to the principal of Buddhist Psychology with a percentage of 79. POLMM Model was the Knowledge achieved from Buddhist Wisdom development according to the empirical data which was caused from the integration of Buddhist principal and psychology.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.43 MiB 263 8 มิ.ย. 2564 เวลา 18:22 น. ดาวน์โหลด