-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาโปรแกรมการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยา สำหรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Stress Management Program Following Buddhist Psychology for Nursing Students at Faculty of Nursing, Siam University
- ผู้วิจัยนางสุวรรณา เชียงขุนทด
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.ประยูร สุยะใจ
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์ เอกภัทร อภิฉนฺโท,ผศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา04/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/569
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 924
- จำนวนผู้เข้าชม 1,438
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสยาม 2) สร้างโปรแกรมจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการลดความเครียดในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสยามในการศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน
ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้คือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 98 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 64 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 32 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามการรับรู้ความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) แบบสองกลุ่มสัมพันธ์ (two paired samples t-test)
ผลการพัฒนาโปรแกรมการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยาของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ พบว่า
1. นักศึกษาพยาบาลของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ก่อนการทดลองเท่ากับ 3.06 หลังการทดลองเท่ากับ 2.42
2. ผลการเปรียบเทียบความเครียดของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการอบรม
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00
และจากการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่มกับผู้เข้าอบรมจำนวน 8 ท่าน ภายหลังการเข้าโปรแกรมการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่าในการลดความเครียดขณะฝึกปฏิบัตินักศึกษาส่วนใหญ่จะใช้ การหายใจ การเจริญสติ การให้การปรึกษาแบบกลุ่มเชิงพุทธทำให้เข้าใจตนเองและบุคคลอื่นมากขึ้น ทำให้สามารถจัดการกับความเครียดได้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This experimental research was a mixed method which consists of research and development. The purposes of this study were: 1) to study the stress level of the sophomore nursing students, 2) to develop the stress management program for nursing students, and 3) to study the effects of the Stress Management Model based on Buddhist psychology on stress reducing in sophomore nursing students of the basic nursing practice curriculum at Siam University.
The participants were 98 sophomore students of academic year 2017. Sixty four students were randomly selected to participate in the study as a control and experimental group equally.
The data collection instrument was Perceived Stress of Nursing Practice Questionnaire. The data were analyzed using mean, standard deviation, paired t- test.
The results of stress management program based on Buddhist psychology in nursing student revealed:
1. In the experimental group, the mean change in total scores for perceived stress from pre-test (M = 3.06) to the post-test (M = 2.42).
2. A statistically significant difference was found in total scores for stress between pre-test and post-test (p < .001).
In addition, the results of group interviewed among eight participants found that after participated in the stress management program, the majority of participants chosen breathing, mindfulness, and group counseling to release stress and understanding others.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 4.31 MiB | 924 | 8 มิ.ย. 2564 เวลา 19:16 น. | ดาวน์โหลด |