โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPromoting Ethics Practice Buddhism of the Personnel Local Administrative Organizations in Rayong Province
  • ผู้วิจัยพระมหาบุญรอด อมรทตฺโต (สุวรรณโชติ)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.พิเชฐ ทั่งโต
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.บุษกร วัฒนบุตร
  • วันสำเร็จการศึกษา04/04/2017
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/57
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 241
  • จำนวนผู้เข้าชม 570

บทคัดย่อภาษาไทย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง 2. เพื่อศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง 
            ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (In-depth interview) จำนวน 19 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร พนักงาน พนักงานจ้าง จำนวน 361 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากประชากร 3,676 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.955 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเป็นการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ 
            ผลการวิจัย พบว่า 
            1. หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการส่งเสริมหลักพุทธธรรม  เพื่อการส่งเสริมจริยธรรมตามหลักเวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ คือ ธรรมทำความกล้าหาญ โดยรวม พบว่า  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.83) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นในระดับมาก 4 ด้าน และความคิดเห็นปานกลาง 1 ด้าน สามารถเรียงจากมากไปหาน้อย คือ อันดับหนึ่ง คือ ด้านพาหุสัจจะ ได้สดับหรือศึกษามาก มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =4.08) อันดับสอง คือ ด้านศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.94) อันดับสาม คือ ด้านศีล มีความประพฤติดีงาม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.91) อันดับสี่ คือ ด้าน วิริยารัมภะ เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.83) และอันดับห้า คือ ด้านปัญญา รู้ตอบ รู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (X bar =3.83) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการส่งเสริมจริยธรรมตามหลักภาวนา 4 คือ ธรรมที่ทำให้เป็นให้มีขึ้น โดยรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.82) เรียงจากมากไปหาน้อย คือ อันดับหนึ่ง คือ ด้านกายภาวนา พัฒนากาย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.95) อันดับสอง คือ ด้านปัญญาภาวนา การเจริญปัญญา พัฒนาปัญญา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.82) อันดับสาม คือ ด้านจิตภาวนา การเจริญจิต พัฒนาจิต มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.76) อันดับสี่ คือ ด้านสีลภาวนา การเจริญศีล พัฒนาความประพฤติ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.74) ตามลำดับ
2.การวิเคราะห์การพัฒนาการทางสติปัญญาเพื่อการพัฒนาจริยธรรมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง โดยรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้ง 3 ด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย คือ อันดับหนึ่ง ด้านระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.96) อันดับสอง ด้านระดับก่อนเกณฑ์สังคมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก(X bar =3.90) อันดับสาม คือ ด้านระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =3.83) ตามลำดับ ปัจจัยทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญามีอิทธิพลต่อการส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง โดยรวม อยู่ในระดับต่ำ .227 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.52 ซึ่งปัจจัยทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง ได้ร้อยละ 0.52 ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาการทางสติปัญญามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ (β=0.227) 
3. รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง พบว่า 1) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการรณรงค์การรักษาระเบียบวินัย ข้อบังคับ มีการดำเนินการทางวินัย ตัดสินใจด้วยเหตุผล มีจรรยาบรรณ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานทางวินัย มาตรฐานการลงโทษ ส่งเสริมการรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพื่อรักษากฎระเบียบวินัย และยึดถือหลักการและแนวทางปฏิบัติเพื่อความถูกต้อง 2) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการสร้างจิตสำนึกตามแนวพุทธเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 3) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการสร้างเครือข่ายส่งเสริมด้านจริยธรรม มีการส่งเสริมให้บุคลากรสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงานและองค์กรอื่นๆ เป็นเครือข่ายในการสร้างองค์ความรู้ด้านจริยธรรม เพียรพยายามพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและการรักษาวินัย สำหรับผู้บริหาร สมาชิก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบุคลากร และส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่เป็นสากล และ 4) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีกระบวนการฝึกอบรมให้เกิดปัญญาในการส่งเสริมจริยธรรม ด้วยการตระหนักรู้เหตุผล รู้คิด รู้วินิจฉัย และรู้หลักจริยธรรม มีการนำบุคลากรเข้าวัดฟังธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้บุคลากรประพฤติตนเป็นคนดี 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: 1. to study the ethics promotion according to Buddhism of personnel of local administrative organization in Rayong province, 2. to study the factors to effect on ethics promotion according to Buddhism of personnel of local administrative organization in Rayong province, 3. to present the form of promoting ethics practice buddhism of the personnel local administrative organizations in Rayong province
              This research was the mixed method research between the qualitative and quantitative researches. For the qualitative research collected the data from in-depth interview of 19 key informants by specific choosing from specialists. The tool to collect the data is the structured in-depth interview collected the data through interview face to face. The quantitative research collected the data from the sampling group such as executives, workers, employee from 361 out of 3676 persons for sampling group through simple random sampling and data collection used the questionnaire with reliability test at 0.05 and the data analysis used the statistic description, percentage, mean, standard deviation and test the hypothesis with coefficient of regression and analysis of multiple regression.              
     The findings of this research as follows:
              1. The principle of Buddhadhamma for ethics promotion according to Buddhism of  personnel of local administrative organization in Rayon province, found that  the finding of data analysis for Buddhiadhamma promotion for ethic promotion according to principle of  Vesarachchakoranadhamma V are the Dhamma for brave in over all, found that had the opinion, was at high level ( 


 =3.83). When considered in each aspect, found that had the opinion at high level for four aspects and had the opinion at moderate level for one aspect. The first aspect is the Pahusacca or much education, had the opinion at high level (  = 4.08). The second aspect is the Sattha or Faith is to believe as proper believe, had the opinion at high level ( = 3.94). The third aspect is the Silla or Precept is to have good behaviour, had the opinion at high level (  =3.91). The Fourth aspect is the Viriyarampha or Work hard is to work seriously, had the opinion at high level (  =3.83). The fifth aspect is the Panya or Wisdom is to know the proper thing, had the opinion at moderate level ( =3.94). The finding the data analysis from ethics promotion according to Phawana IV or Development IV, are the arising Karma or deed that in over all , had the opinion at high level. When considered in each aspect, found that every aspect had the opinion at high level (  =3.82). For the first aspect is Kayaphawana or Bodily Development, had the opinion at high level (  =3.95). The second aspect is Panyaphawana or Wisdom development, had the opinion at high level ( =3.82). The third aspect is Silabhawana or the precept development, had the opinion at high level (  =3.76). The fourth aspect is Cittabhawana or Mind development, had the opinion at high level ( =3.74). 
              2. The analysis to wisdom development for ethics promotion according to Buddhism of personnel of local administrative organization in Rayon province, in over all, found that had the opinion at high level (  = 3.90). When considered in each aspect found that all three aspects, had the opinion at high level. For the first was the ethics level according to rule of society, had the opinion at high level (  =3.96). For the second was the ethics level according to pre-rule of society, had the opinion at high level (  =3.90). For the third was the ethics level according to rule of society, had the opinion at high level (  =3.83) respectively. The factors of Development theory for wisdom had the influence to  ethics promotion according to Buddhism of  personnel of local administrative organization in Rayon province in over all, was at the lowest level as 0.227 as the value of coefficient equals to 0.52 that the factors of Development theory for wisdom had the influence to  ethics promotion according to Buddhism of  personnel of local administrative organization in Rayon province got 0.52 that researcher had the opinion test about the factors of development to wisdom had the significantly statistic at 0.05 for one aspect was the ethics level  according to principle of good consideration or Vicharanayana (β=0.227).
          (3) The form of ethics promotion according to Buddhism of personnel of local administrative organization in Rayon province found that 1) The personnel of local administrative organization is strict on the rule and regulation, have the practice about discipline, rational decision, have the behavior code, knowledge, understanding about practice about discipline, punishment, duty responsibility, to keep the rule of discipline, to be strict with the principle and to work on the proper way. 2) The personnel of local administrative organization have the consciousness for corruption by having the principle of morality and ethics, to be strict or rely on the benefit of the nation above own benefits and no interest conflict. 3) The personnel of local administrative organization have the network for knowledge organization of ethics, have the promotion to personnel to have the network with friends in the office and other organizations  as the network  for creation of  knowledge organization and ethics, work hard to develop the organization to continuously success by proceeding along with the knowledge organization and ethics project for the executives, members, local administrative organization and personnel and  to promote to have the traditional, customs, and culture learning of locality and international culture. 4) To have the reason, to know the thinking, to know the punishment or consideration and to know the principle of ethics, to allow the personnel or staff to go for listening to Dhamma or the sermon at the temple for life quality development, to promote the personnel to behave well as good persons 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 26.38 MiB 241 18 ก.พ. 2564 เวลา 21:00 น. ดาวน์โหลด