-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Learning Management of Sufficiency Based on Buddhist Psychology for the Fourth Grade Upper Secondary Students
- ผู้วิจัยพระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท (แก้วบุตรดี)
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- วันสำเร็จการศึกษา16/01/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/570
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 278
- จำนวนผู้เข้าชม 458
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเชิงผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดการเรียนรู้และวิธีการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศึกษานารีวิทยา กรุงเทพมหานคร จำนวน 43 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น 2) แบบวัดด้านเจตคติความมีเหตุผลต่อความพอเพียง 3) แบบวัดพฤติกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง 4) แบบวัดการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 5) แบบสังเกตพฤติกรรม และ 6) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลังของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Paired-Samples t-test) ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็นการวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1) แนวคิดการจัดการเรียนรู้ และวิธีการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธจิตวิทยาสาหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ประกอบด้วย การผสานระหว่างทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม หลักธรรมทางพุทธศาสนา ได้แก่ ปรโตโฆสะ โยนิโสมนสิการ สัมมาทิฏฐิ และภาวนา 4 การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) กระบวนการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงด้วยหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. สร้างศรัทธา (Faith) 2. เสริมแรงจูงใจ (Inspiration) 3. ให้สะท้อนจิต (Reflection) 4. คิดวางแผนโครงการ (Planning) และ 5. สานสู่ปฏิบัติ (Practice)
3) ผลการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา ภายหลังการผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 มีคะแนนทั้ง 3 ประเด็นสูงขึ้นกว่าก่อนการผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจต่อความพอเพียงพอประมาณในการดำเนินชีวิต (t = 16.421, p = .000) การแสดงเจตคติความมีเหตุผลต่อความพอเพียง (t = 2.045, p = .047) และพฤติกรรมที่บ่งถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง (t = 5.367, p = .00)
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา (FIRPP Model) ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ 1. สร้างศรัทธา (Faith) 2. เสริมแรงจูงใจ (Inspiration) 3. ให้สะท้อนจิต (Reflection) 4. คิดวางแผนโครงการ (Planning) และ 5. สานสู่ปฏิบัติ (Practice) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริมให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 4 น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา (FIRPP Model) ที่ได้พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ จึงสามารถนำไปปรับใช้กับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this mixed method research were 1) to examine learning management principle and method of daily living based on the sufficiency economy principle and Buddhist psychology for the fourth grade upper secondary students, 2) to develop management process of learning into sufficiency economy based on Buddhist psychology, and 3) to the present model of the management process of learning into sufficiency economy based on Buddhist psychology. Subjects in this study were 43 fourth grade upper secondary students at Suksanari school in Bangkok by random sampling.
There were six research instruments, including 1) knowledge related to sufficiency economy principle questionnaire 2) attitude towards sufficiency rationale questionnaire 3) self-immunity behavioral questionnaire 4) management of learning into sufficiency based on Buddhist psychology for the fourth grade upper secondary students 5) behavior observation form, and 6) interview form. Data were analyzed by descriptive statistics, including mean, percentage, and standard deviation. Paired-Samples t-tests were also employed to compare score of knowledge, attitude, and practice before and after the implementation of the learning process. Narrative approach was used to represent qualitative data.
Results were as follows,
1) Learning management principle and method of daily living based on the sufficiency economy principle and Buddhist psychology for the fourth grade upper secondary students were the integration of Bloom’s taxonomy, Buddhist doctrines, i.e., Paratoghosa, Yonisomanasikãra, Sammãdiññhi, and the Bhãvanã 4, the framework for 21st century learning, and the sufficiency economy principle.
2) Management process of learning into sufficiency economy based on Buddhist psychology or FIRPP model, consisted of 5 steps, including 1) Faith, 2) Inspiration, 3) Reflection, 4) Planning, And 5) Practice.
3) According to outcomes of the management process of learning into sufficiency economy based on Buddhist psychology, after the FIRPP model was implemented, fourth grade upper secondary students who participated in this FIRPP learning model had statistically significant higher scores on knowledge (t = 16.421, p = .000), attitude (t = 2.045, p = .047), and practice (t = 5.367, p = .000), towards sufficiency economy principle than those before entering the program.
The results showed that the model of management of learning into sufficient based on Buddhist psychology or FIRPP Model, which consisted of 5 steps namely 1) Faith, 2) Inspiration, 3) Reflection, 4) Planning, And 5) Practice, was the effective learning model. It was able to promote the fourth grade upper secondary students to apply sufficiency economy principle into practicing in their daily lives. Thus, the model of management of learning into sufficiency based on Buddhist psychology or FIRPP Model that was developed in this study might be able to apply to fourth grade upper secondary students to promote their learning ability and apply the sufficiency economy principle to their daily living.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.46 MiB | 278 | 8 มิ.ย. 2564 เวลา 19:28 น. | ดาวน์โหลด |