-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูต สายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Active Buddhist Dissemination of India-Nepal Overseas Dhammaduta Monks Based on Buddhist Psychology
- ผู้วิจัยพระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์ ญาณธีโร)
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2ดร.ลำพอง กลมกูล
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/571
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 322
- จำนวนผู้เข้าชม 418
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาภาคสนามเพื่อสร้างรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป ได้จากการเลือกแบบเจาะจง สำหรับในระยะที่ 2 ใช้การสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้น จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 13 รูป/คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล ในปัจจุบันใช้วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เป็นกระบวนการมุ่งเข้าถึงชุมชนและบุคคล ใช้แนวทางตามพระพุทธเจ้าและพุทธสาวกเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการทำงานพระธรรมทูต
2. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล มีองค์ประกอบตามหลักพุทธจิตวิทยา ได้แก่ สังคหวัตถุ 4 เทศนาวิธี 4 และการเผยแผ่เชิงรุกของ พระธรรมทูตที่ใช้กระบวนการ (1) การบรรยายธรรม (2) สื่อสารออนไลน์ (3) การสื่อสารสิ่งพิมพ์ (4) ธรรมภาคปฏิบัติ (5) สังคมสงเคราะห์ และ (6) งานศาสนสัมพันธ์ และคุณสมบัติพระธรรมทูต ประกอบด้วย มีจริยาวัตรงดงาม ปณิธานแน่วแน่ มีองค์แห่งพระธรรมกถึก และทักษะภาษาดี จะนำไปสู่ผลคือ เกิดการนำหลักไตรสิกขาไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
3. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา สามารถสรุปเป็นแนวคิดได้ว่า 4S Model ได้แก่ เป้าหมายชัด (Set goals) หลักการดี (Skillful) มีวิธีการเยี่ยม (Strategic) เปี่ยมด้วยคุณสมบัติพระธรรมทูต (Smart)
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research were 1) to study active Buddhist Dissemination of India-Nepal Overseas Dhammaduta monks, 2) to develop a model of active Buddhist Dissemination of India-Nepal Overseas Dhammaduta monks, and 3) to propose a model of active Buddhist Dissemination of India-Nepal Overseas Dhammaduta monks based on Buddhist Psychology. Qualitative research was used for research design and was divided into two phases. For the first phase, a field study using in-depth interview and observation were conducted for developing a model of active Buddhist Dissemination of India-Nepal Overseas Dhammaduta monks, and 17 key informants were selected by purposive sampling. For the second phase, focus group discussion was used for validate the developed model of active Buddhist Dissemination of India-Nepal Overseas Dhammaduta monks based on Buddhist Psychology, and 13 target groups were selected from purposive sampling. Data from in-depth interview and focus group discussion were analyzed by using content analysis and analytic induction.
Research results were shown as follows:
1. The current active Buddhist Dissemination of India-Nepal Overseas Dhammaduta monk was the process that approach into community and individual person. The way of practice for Dhammaduta monks followed Buddha teaching and Buddhist disciples.
2. A model of active Buddhist Dissemination of India-Nepal Overseas Dhammaduta monks consisted Buddhist psychology composition which were Sangahavatthu 4, Manner of teaching 4, and the process of active Buddhist dissemination which were 1) Dhamma talk, 2) online communication, 3) printing communication, 4) Dhamma practice, 5) social work, and 6) religious relations. The qualification of Dhammaduta monks are good manners, focus on resolution, qualities of a preacher, good language skill. This will lead to apply the threefold training for the guideline for living.
3. A 4S model was developed for active Buddhist Dissemination of India-Nepal Overseas Dhammaduta monks based on Buddhist Psychology which composed of Set goals, Skillful, Strategies and Smart.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 13.37 MiB | 322 | 8 มิ.ย. 2564 เวลา 19:45 น. | ดาวน์โหลด |