โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Causal Model for Active Aging in Buddhist Psychology
  • ผู้วิจัยนางสาวพฤฒิณี นนท์ตุลา
  • ที่ปรึกษา 1ดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร. สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • วันสำเร็จการศึกษา11/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/572
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 377
  • จำนวนผู้เข้าชม 337

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีทางพุทธจิตวิทยาและจิตวิทยาร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับพฤฒิพลัง 2) เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในการสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการเชิงคุณภาพกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง จำนวน 19 รูป/คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 401 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  แนวคำถามในการสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า

1. การสนับสนุนจากครอบครัว ประกอบด้วย 1) การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 2) การยกย่องชมเชย 3) การทำตนเป็นประโยชน์ 4) การเสมอต้นเสมอปลาย การฝึกฝนตามหลักไตรสิกขาประกอบด้วย 1) การพัฒนาพฤติกรรมระดับศีล 2) การพัฒนาพฤติกรรมระดับจิตใจ 3) การพัฒนาพฤติกรรมระดับปัญญา การรับรู้ความสามารถแห่งตน ประกอบด้วย 1) การกระทำที่ประสบผลสำเร็จ 2) การได้เห็นตัวอย่างจากประสบการณ์ของผู้อื่น 3) การชักจูงด้วยคำพูด และการกระตุ้นทางอารมณ์ พฤฒิพลังประกอบด้วย 1) การมีสุขภาพดี 2) การมีส่วนร่วม 3) การมีหลักประกันความมั่นคง

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย ตัวแปรภายนอกแฝง 1 ตัวแปร คือ การสนับสนุนจากครอบครัวและตัวแปรภายในแฝง 3 ตัวแปร คือ 1) การฝึกฝนตามหลักไตรสิกขา 2) การรับรู้ความสามารถแห่งตน และ 3) พฤฒิพลัง โดยที่การฝึกฝนตามหลักไตรสิกขาทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่านในโมเดล

              3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 51.53 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 52 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .49 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .98  ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .96 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .000 อธิบายความแปรปรวนของพฤฒิพลังได้ร้อยละ 28.00 เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผลต่อตัวแปร พบว่า พฤฒิพลัง ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการสนับสนุนจากครอบครัว การฝึกฝนตามหลักไตรสิกขา และการรับรู้ความสามารถแห่งตน โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .26 , .17 และ .19 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพฤฒิพลัง ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการสนับสนุนจากครอบครัวโดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The 3 objectives of this research were: 1) to study Buddhist Psychology and Psychology for Active Aging, 2) to development of Causal Model for Active Aging in Buddhist Psychology and 3) to validate and propose Development of Causal Model for Active Aging in Buddhist Psychology.Mixed Methods Research using quantitative research to extend qualitative results was used for research design. The key informants were the Buddhism experts, Psychologist, Specialists in elderly care, the elderly who are the model, total 19 experts, selected by purposive sampling method with the sampling group of 401 samples. The Research instrument were interview schedule and the questionnaires. Qualitative data were analyzed by using content analysis and analytic induction.Quantitative data were analyzed using descriptive statistics and correlation, and to validate model with the empirical data using LISREL program. Research results were shown as follows:

1. Family Support consisted of 1) giving 2) kindly speech 3) useful conduct 4) even and equal treatment. Threefold Training consisted of 1) training in morality 2) training in morality 3) training in mentality and training in wisdom. Self-Efficacy consisted of 1) Performance Accomplishment 2) Vicarious Experience 3) Verbal Persuasion and 4) Emotional Arousal. Active Aging consisted of 1) Healthy 2) Participation 3) Security.       

2. Development of Causal Model for Active Aging in Buddhist Psychology consisted of 1 Exogenous Variable which was Family Support and 3 Endogenous Variables which were Threefold Training, Family Support and Active Aging. Threefold Training that caused to Active Aging was mediator in the model.

3. Development of Causal Model for Active Aging in Buddhist Psychology was fit with the empirical data, Chi-Square was 51.53, the degree of Freedom (df) was 52, the Probability value (P-value) was 0.49. The Goodness of Fit Index (GFI) was .98, the Adjusted Goodness of Fit Index was 0.96 and the Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was 0.000 accounting for the variations Active Aging at 28.00 percent.To consider the direct and indirect Effects to The quality of life of People Homeless, it was found that Active Aging got the direct Effect from Family Support, Threefold Training and Self-Efficacy with the value of 26, .17 and .19 were significant at the .01 level. Active Aging also got the indirect effect form Family Support with the value of .20 and was significant at the .01 level.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 9.84 MiB 377 8 มิ.ย. 2564 เวลา 19:59 น. ดาวน์โหลด