โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Potential Development Guideline of Historical Tourism Klongthom Museum, Klongthom District, Krabi Province
  • ผู้วิจัยนางสุนีย์รัตน์ คงศิริ
  • ที่ปรึกษา 1รศ.สมบูรณ์ บุญฤทธิ์
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ลัญจกร นิลกาญจน์
  • วันสำเร็จการศึกษา08/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/573
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 234
  • จำนวนผู้เข้าชม 501

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์  ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของพิพิธภัณฑสถานคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 2) และศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ วารสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสำรวจพื้นที่ และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มประชาชนในพื้นที่ กลุ่มผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว รวมจำนวน 32 รูป/คน                                                                     

ผลการวิจัยพบว่า

1.  พิพิธภัณฑสถานคลองท่อมเดิมเป็นสถานที่สำหรับเก็บลูกปัดและโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบที่ ควนลูกปัด ก่อตั้งโดยพระครูอาทรสังวรกิจเจ้าอาวาสวัดคลองท่อมในปี 2509 และพัฒนามาเป็นพิพิธภัณฑ์พระครูอาทรสังวรกิจเปิดให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ในปี 2525 ต่อมาเมื่อพระครูอาทรสังวรกิจมรณภาพลง พิพิธภัณฑ์ก็ได้อยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลตำบลคลองท่อมได้และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี 2550 ว่า พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม หลังจากนั้นพิพิธภัณฑ์ก็ได้ปรับปรุงสภาพทั้งภายนอกและภายในให้มีความทันสมัยมากขึ้นจนแล้วเสร็จในปี 2558 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม จนถึงปัจจุบัน     

2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ พบแนวทางการพัฒนาคือ 1) ด้านการจัดการพื้น โดยสำนักงานเทศบาลตำบลคลองท่อมใต้ ควรปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ควรปรับปรุงทางเดินเท้าให้เป็นพื้นคอนกรีตและมีหลังคากันแดดกันฝน ควรจัดระเบียบการจอดรถ ควรมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับโบราณวัตถุ และควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการเก็บรักษาโบราณวัตถุทุกชิ้น 2) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานจังหวัดกระบี่และสำนักงานเทศบาล  ตำบลคลองท่อมใต้ควรร่วมมือกันจัดทำเอกสารแนะนำ แผ่นพับ สื่อโฆษณาที่มีความหลากหลาย    ป้ายและลูกศรชี้บอกเส้นทางอย่างชัดเจน 3) ด้านบริการการท่องเที่ยว โดยสำนักงานเทศบาลตำบล คลองท่อมใต้ ควรเพิ่มบุคลากรและพัฒนาด้านภาษาอังกฤษให้สื่อสารกับชาวต่างชาติได้ จัดทำแผ่นพับเกี่ยวกับโบราณวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ 4) ด้านการปลุกจิตสำนึก โดยสำนักงานวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามันจังหวัดกระบี่รวมถึงเทศบาลตำบลคลองท่อมใต้ ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ควรร่วมกันรณรงค์ ให้ความรู้สร้างความศรัทธาและความเชื่อในเรื่องราวของลูกปัดและโบราณวัตถุ สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นจะต้องเป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้เด็กและเยาวชนให้รู้จักถึงความสำคัญและคุณค่าของประวัติศาสตร์และโบราณคดี ควรสร้างความร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน หน่วยงานของรัฐ กลุ่มผู้ประกอบการ สอดส่องดูแล ร่วมกันอนุรักษ์และร่วมสร้างความรู้สึกรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับแหล่งโบราณวัตถุ โดยการเริ่มจากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกระบี่ ควรมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยการนำนักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ควนลูกปัดและพิพิธภัณฑสถานคลองท่อมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 5) ด้านเศรษฐกิจชุมชน โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่และสำนักงานเทศบาลตำบลคลองท่อมใต้ ควรร่วมมือกันในการส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมให้ความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวโดยเน้นกระบวนการผลิตจากภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในกระบวนการผลิตเป็นของฝากของที่ระลึกที่มีต้นทุนต่ำ และจัดตั้งกลุ่มร้านค้าชุมชนที่เน้นเฉพาะผลิตภัณฑ์ลูกปัดโบราณในหลากหลายรูปแบบ และต้องยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่มีบรรจุภัณฑ์เป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงแหล่งที่มา ประวัติความเป็นมา รวมถึงเรื่องราวตามความเชื่อความศรัทธาในตัวผลิตภัณฑ์ และ  ควรพัฒนาระบบ QR Code ไว้บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่ระลึก

 

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this thesis were as follows : 1) to study  the history of the trace and development of Klongthom museum, Klongthom district, Krabi province and, 2) to study the guideline for development competency for history tourism, Klongthom museum, Klongthom district, Krabi province with qualitative research, study of data from documents, books, journals, research works, field study and survey and interview, the key informants for 4 groups; Local people, local enterprises, tourists, and government agents which are concerning with promotion and development of tourism totally 32 persons.                                                                                                         

The finding were as follows :                                                                                                                           

1. The Klongthom museum, from the being there was located for collecting Lukpad (bead) and archaeological materials which are found at “Khuan lukpad” and established by Phrakhru Arthonsangwarakit, abbot of Wat Klongthom in 2509 B.E. and developed as “Phrakhru Athonsangwarakit museum” and open for all to visit in 2525 B.E., later after death of Phrakhru Athonsangwarakit the museum was under responsibility of Klongthom municipality and changed to name as “Wat  Klongthom museum” after that it was improved as modernity either out door or in door and finished in 2558 B.E. and changed name as “Klongthom museum” up to the present.                         

2. The guideline of competency development as historical tourism of Klongthom museum, Klongthom district, Krabi province. The finding is 1) Location domain; there should improve the views as beautifully, there should improve foot path with cover way, there should adjust of car parking, there should have data base of archaeological materials and regarding on safety for saving archaeological materials.     2) Tourism charnal domain ; There should have informational documents, and multi-media, label, and direction as clearest. 3) Tourism service domain ; there should add personal  and English development for communication with foreigners, to have brochure or prospectus both Thai and English version. 4) Consciousness implantation domain ; to be campaigned on perceiving, faith and belief for history of Lukpad (bead) and archaeological materials. The local educational institutes must be on the master of running as the main instructors to children and youth for conservatives to know significance value both historical and archaeological study also,  there should cooperate of people in community, government office, enterprise, in looking after for the preservation and responsibility to problem which may occur with archaeological place, start with family institute, educational institute educational area in Krabi province, there should have extra – class for study tour in Klongthom museum atleast on year for one time.  5) Community economic domain  ;  There should support staff for training of gift production for selling tourists and emphasized on local wisdom for productive process as the low cost and to set up community enterprise group which is emphasized on ancient bead (Lukpad) in variety, and to rise up the products “one Tambol one product” as the identity of coverage as the main source, history, belief, faith of product and there should develop QR code system on souvenir product.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.81 MiB 234 8 มิ.ย. 2564 เวลา 21:29 น. ดาวน์โหลด