-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Buddhadhamma Integration for Promoting Environmental Management of Muang Tia Subdistrict Municipality, Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province
- ผู้วิจัยนายรุ่ง วรรณดิษฐ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร. วิชชุกร นาคธน
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/5763
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 82
- จำนวนผู้เข้าชม 163
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และ 3. เสนอแนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จำนวน 369 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.983 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย เจ้าหน้าที่สำนักสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย ผู้ดูแลระบบการจัดการขยะของเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย พนักงานรักษาความสะอาดเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย ประธานชุมชนตำบลม่วงเตี้ย ปราชญ์ชุมชนตำบลม่วงเตี้ย เจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย กำนันตำบลม่วงเตี้ย และผู้ใหญ่บ้านตำบลม่วงเตี้ย จำนวน 10 คนหรือรูป ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ ด้านการบริหารโครงการ ด้านการวางแผนดำเนินงาน ด้านการกำหนดนโยบาย และด้านการประเมินผลโครงการอยู่ในระดับมาก ส่วนการบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรม พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านฉันทะ (ความพอใจ) ด้านวิริยะ (ความเพียร) ด้านวิมังสา (ปัญญา) และด้านจิตตะ (ความเอาใจใส่) ตามลำดับ อยู่ในระดับมาก
2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านวิมังสา และด้านจิตตะ และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านฉันทะ และด้านวิริยะ ตามลำดับ
3. แนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง พบว่า 3.1 ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในรักษาสิ่งแวดล้อม เข้าใจถึงแผนงานหรือโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เทศบาลจัดขึ้น 3.2 วิริยะ (ความเพียร) คือ การจัดเวทีประชาคมร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเพื่อร่วมกันเสนอปัญหา ร่วมกันคิดวิธีการแก้ไขปัญหา ร่วมกันวางแนวทางการแก้ไขปัญหา และถ่ายทอดไปยังประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง 3.3 จิตตะ (ความเอาใจใส่) คือ เกิดจิตสำนึกร่วมกัน ในการลงมือปฏิบัติในการรักษา สิ่งแวดล้อมโดยเริ่มจากตนเอง และ 3.4 วิมังสา (ปัญญา) คือ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน นำไปสู่การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และนำไปปฏิบัติได้อย่างยั่งยืน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1. to investigate the level of environmental management of Muang Tia Subdistrict Municipality, Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province; 2. to explore the correlation between the Iddhipada Dhamma and environmental management of Muang Tia Subdistrict Municipality, Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province; and 3. to present the guidelines for integrating the Buddhadhamma for promoting environmental management of Muang Tia Subdistrict Municipality, Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province.
The study used a mixed-method approach that included both qualitative and quantitative methods. A sample group used for the quantitative method consisted of 369 people who were above 18 years old living in Muang Tia Subdistrict Municipality, Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province who were chosen by purposive sampling. The tool used for data collection was a questionnaire with a reliability of 0.983. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. The qualitative method employed in-depth interview to collect data with 10 key informants comprising Executives of Muang Tia Subdistrict Municipality, Director of Public Health and Environment Division in Muang Tia Subdistrict Municipality, Officer of Muang Tia Municipal Environment Office, Waste Management Administrator of Muang Tia Subdistrict Municipality, Muang Tia Subdistrict Municipality Cleaning Staff, Chairman of Muang Tia Subdistrict Community, Local Scholar of Muang Tia Subdistrict Municipality, Muang Tia Sangha Subdistrict Head, Muang Tia Subdistrict Headman, and Muang Tia Village Headman. The key informants were chosen by purposive sampling. The obtained data were analyzed by content analysis.
From the study, the following results are found:
1. People’ opinions toward the environmental management of Muang Tia Subdistrict Municipality, Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province are overall at a high level. When each aspect is examined, the following aspects have a high level of opinion: defining responsibilities, project management, operational planning, defining policies, and project evaluation, respectively. People’ opinions toward an integration of the Iddhipada Dhamma are overall at a high level. When each aspect is examined, the following aspects have a high level of opinion: Chanda (aspiration), Viriya (perseverance), Vīmaṃsā (wisdom), and Citta (thoughtfulness), respectively.
2. The Iddhipada Dhamma and environmental management of Muang Tia Subdistrict Municipality, Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province are positively correlated in the same direction at a high level, with a statistical significance of 0.01. When each aspect is examined, two aspects are found to be positively correlated at a high level: Vīmaṃsā and Citta. Chanda and Viriya are found to be positive correlated at a moderate level.
3. The guidelines Buddhadhamma integrating for promoting environmental management of Muang Tia Subdistrict Municipality, Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province are found as follows: (1) Chanda (aspiration) in which people have knowledge and comprehension of environmental protection, environmental management plans, and projects coordinated by the municipality, (2) Viriya (perseverance) in which there is a community forum hosted by the government sctor, private sector, and people sector to discuss problems and solutions, as well as accurately communicating them to people in the communities, (3) Citta (thoughtfulness) in which there is an awareness raising of the significance of taking action to protect the environment, beginning with oneself, and (4) Vīmaṃsā (wisdom) in which there is a co-learning in order to develop guidelines for protecting the community’s environment, which will lead to effective environmental management and sustainable implementation.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6453204011 | 6453204011 | 5.64 MiB | 82 | 15 ส.ค. 2566 เวลา 21:36 น. | ดาวน์โหลด |