โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดสวัสดิการให้แก่แรงงานเมียนมาร์ในอำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSocial Welfare Management for Myanmar Labourers in Sampran District, Nakhonpathom Province
  • ผู้วิจัยนายชัยศรี มีป้อม
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  • ที่ปรึกษา 2พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา12/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/579
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 210
  • จำนวนผู้เข้าชม 318

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดสวัสดิการกับแรงงานเมียนมาร์ในพื้นที่หมู่บ้านศรีสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษากฎหมายพรบ.คุ้มครองสวัสดิการแรงงานแรงงานเมียนมาร์ในพื้นที่หมู่บ้านศรีสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา - อุปสรรคและแนวทางในการจัดสวัสดิการแรงงานเมียนมาร์ในพื้นที่หมู่บ้านศรีสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หน่วยงานทางภาครัฐด้านสวัสดิการสังคม จำนวน 5 ท่าน 2) ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ จำนวน 4 ท่าน และ 3) แรงงานชาวเมียนมาในหมู่บ้านศรีสามพราน จำนวน 18 ท่าน รวมทั้งสิ้น 27 ท่าน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิค การวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Techniques)

ผลการวิจัยพบว่า

การจัดสวัสดิการกับแรงงานเมียนมาในพื้นที่หมู่บ้านศรีสามพราน ด้านนโยบายการจัดสวัสดิการแก่แรงงานต่างด้าวของภาครัฐ พบว่า แนวทางการจัดสวัสดิการของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานชาวเมียนมาให้ได้รับความเป็นธรรมทางด้านกฎหมาย และข้อตกลง MOU ที่ตกลงทำร่วมกันเพื่อพัฒนาการจัดสวัสดิการให้แก่แรงงานและการควบคุมสถานประกอบการในการจัดสวัสดิการให้เป็นไปตามกฎหมายแก่กลุ่มแรงงานต่างด้าวในลักษณะการให้ขั้นต่ำ (Social safety net) ซึ่งเป็นการให้ในระดับที่ทำให้บุคคลผู้นั้นดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขและยังคงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ การบริการสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย 5 บริการที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต คือ 1 ด้านสาธาณสุข 2. ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. ด้านการศึกษาของเด็กต่างด้าว 4. การประกันสังคม และ 5. การสังคมสงเคราะห์ หากแรงงานต่างด้าวหากเข้ามาอยู่ในชุมชนหมู่บ้านศรีสามพราน แกนนำในชุมชนจะสามารถให้การดูแล ช่วยเหลือ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการให้ นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้นำในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการให้การดูแลและให้การช่วยเหลือ โดยใช้กระบวนการของสวัสดิการชุมชนเบื้องต้น คือ การตระหนัก/รับรู้ปัญหา /จัดหาทุน การร่วมกันศึกษาปัญหาชุมชน โดยการเก็บข้อมูลจากผู้นำในชุมชน การเสริมสร้างองค์ความรู้ การจัดทำแผนชุมชน นำแผนชุมชนสู่การปฏิบัติ การแสวงหางบประมาณในการบริหารจัดการ และการขยายเครือข่าย

ปัญหา-อุปสรรค และแนวทางในการจัดสวัสดิการแรงงานเมียนมาร์ในพื้นที่หมู่บ้านศรีสามพราน พบว่า ปัญหาการบริการสังคมใน 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านสาธารณสุข ความลำบากในการเดินทางไปรับบริการด้านสาธารณสุข ประชากรแรงงานเมียนมาร์เพิ่มขึ้นทำให้เกิดขยะในชุมชนเพิ่มขึ้น 2. ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แรงงานต้องหยุดงานเพื่อกลับไปตรวจวีซ่ากลับไปติดต่อกับหน่วยงานทางสถานทูต การเดินทางเข้า-ออกมีหลายขั้นตอนรวมทั้งปัญหาค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อวีซ่า แรงงานเมียนมากลัวเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่กล้าเข้าขอรับความช่วยเหลือ มีการแบ่งแยกสัญชาติในชุมชนและแรงงานที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 3. ด้านการศึกษาของเด็กต่างด้าว ขาดงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลางสำหรับการรองรับเด็กต่างด้าว ด้านภาษาในการสื่อสารแรงงานที่เข้ามาใหม่ๆจะพูดภาษาไทยไม่ได้เลย อีกทั้งการเข้ารับการให้บริการต่างๆจากการเพิ่มขึ้นของแรงงานต่างด้าวคนไทยจึงคิดว่าชาวแรงงานเมียนมานั้นมาเบียดเบียนคนไทยทำให้การบริการล่าช้า ได้รับความสะดวกน้อยลง 4. ด้านนประกันสังคม ไม่พบปัญหาเนื่องจากการจัดสวัสดิการอยู่ภายใต้กฎหมาย 5. ด้านสังคมสงเคราะห์ ที่พักนั้นทางสถานประกอบการไม่สามารถจัดที่พักให้ได้เพราะสถานที่ไม่เพียงพอ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This study consisted of three objectives, namely,  1) to study on the welfare provided to Myanmar labors in Sri Sampran village, Sampran District, Nakhon Phathom, 2) to analyze problems and obstacles in arranging welfare for Myanmar labors in Sri Sampran village, Sampran District, Nakhon Phathom. This research is a qualitative research. The sample groups used in this study are 5 officers in a governmental organizations related to social welfare, 2) 4 business owners, and 3) 18 Myanmar labors in Sri Sampran village, which in total 27 people. An in-depth interview was used with key informants and content analysis techniques were also used.

The results were found that:

Welfare Management for Myanmar Labors in Sri Sampran Village In terms of governmental policies related to welfare management for alien labors, there are models in managing welfare from governmental and private sectors, as well as communities. In participation of developing the well being of Myanmar labor according to the legal justice and the MOU on managing welfare for labors and controlling enterprises to provide welfare according to labor law, the welfare provided to alien labor is social safety net. This welfare is enough for a person’s living and maintaining his/her prestige. There are 5 important social services for living providing, which 1) health care service, 2) security of lives and property, 3) education of alien children, 4) social security, and 5) social welfare.

If an alien labor come to live in Sri Sampran village, the community leader will be able to take care, assist, and liaising with related organizations in arranging welfare to the labor. Moreover, it is found that the community leader take part in taking care and assisting by using primary community welfare process, which includes being aware, acknowledging of problems, and providing capital. Process of studying on the problems together, collecting data from community leaders, creating knowledge, creating community plans, putting plans into practice, obtaining budget in management, and widening the network were also used.

Problems and Obstacles in Providing Welfare to Myanmar Labors in Sri Sampran Village found that the difficulties are transportation for Myanmar labors to receive health care service, an increasing of garbage due to increasing number of Myanmar labors, the labors need to take days off to finish visa process, and high cost and complicated process for visa extension. Moreover, Myanmar labors fears of police. So, they cannot get enough service on security of lives and property. There is segregation of nationalities in the community and among the labors who enter to Thailand legally. There are not enough funds for alien children’s education. In terms of language, those labors who are new cannot speak Thai. Another problem is the waiting time for services is longer due to higher number of Myanmar labor. From this, many Thais think that Myanmar labors are exploiting and cause slow down and inconvenience in services. Regarding the accommodation, employers cannot provide enough space for the labors

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.46 MiB 210 8 มิ.ย. 2564 เวลา 22:09 น. ดาวน์โหลด