โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบล ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration to Develop the Competency In Tambon Administrative Organizationto Build Strengthen Community
  • ผู้วิจัยพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี (มากคล้าย)
  • ที่ปรึกษา 1ศาตราจารย ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • ที่ปรึกษา 2อาจารย ดร.บุษกร วัฒนบุตร
  • วันสำเร็จการศึกษา31/03/2017
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/58
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 262
  • จำนวนผู้เข้าชม 635

บทคัดย่อภาษาไทย

 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบลในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบลในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบลในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 22 รูปหรือคน และเพื่อความแม่นยำของข้อมูล สร้างความมั่นใจในการใช้ได้ของผลที่ได้จากการศึกษาเชิงคุณภาพ และสามารถจัดลำดับสมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็น ผู้วิจัยได้เลือกใช้การวิจัยเชิงปริมาณร่วมด้วย โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ จากประชากรในองค์การบริหารส่วนตำบล 335 แห่ง ด้วยการแจกแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสภาพความต้องการจำเป็นโดยใช้ค่าดัชนี PNIModified และทำการหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อสมรรถนะตามแนวพระพุทธศาสนา กับระดับสภาพชุมชนเข้มแข็ง เพื่อสามารถที่จะสนับสนุนให้ข้อมูลเชิงคุณภาพมีความถูกต้องน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น จากนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ 12 รูปหรือคน เพื่อหาข้อสรุปแนวทางพุทธบูรณาการ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การจำแนกข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูล และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย เพื่อนำไปสู่พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบล ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ที่มีความเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ
ผลการวิจัยพบว่า 
1. สภาพทั่วไปของสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.66)  เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด ในด้านสมรรถนะหลักด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม (ค่าเฉลี่ย=3.957), สภาพชุมชนเข้มแข็งในปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.64) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด ในด้านการเกื้อกูล (ค่าเฉลี่ย=3.85), ส่วนสมรรถนะตามแนวพระพุทธศาสนา มีความสัมพันธ์กับระดับสภาพชุมชนเข้มแข็งในระดับสูงมาก (r=0.864) และองค์ประกอบสมรรถนะจากทั้ง 5 ด้าน ที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา เรียงตามลำดับจากค่าดัชนีแต่ละด้าน คือ (1) สมรรถนะความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน (PNImodified=0.2544) (2) สมรรถนะบริการเป็นเลิศ (PNImodified=0.2197) (3) สมรรถนะการทํางานเป็นทีม (PNImodified=0.1991) (4) สมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ (PNImodified=0.1931) และ (5) สมรรถนะยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม (PNImodified=0.1142)
2. หลักพุทธธรรมในการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบลในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง คือ การนำหลักไตรสิกขา 3 ได้แก่ ศีล บูรณาการกับหลักธรรมสุตมยปัญญา เป็นการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสุตะ เพื่อพัฒนาสมรรถนะความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน โดยใช้หลักภาวนา 4, สมาธิ บูรณาการกับหลักธรรมจินตามยปัญญา เป็นการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างจาคะ ธรรมะสำหรับพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีม โดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 และปัญญา บูรณาการกับหลักธรรมภาวนามยปัญญา  เป็นการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างปัญญา โดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นธรรมะนำสำหรับพัฒนาสมรรถนะให้เกิดการบริการเป็นเลิศ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ หลักอิทธิบาท 4 สำหรับพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และฆราวาสธรรม 4 สำหรับพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างมีผลสัมฤทธิ์ ทั้ง 3 ด้าน คือ การพึ่งตนเอง การเกื้อกูล และการมีส่วนร่วม ซึ่งหลักธรรมดังกล่าวสามารถนำไปสร้างคำอธิบายสมรรถนะ และประยุกต์เป็นแนวทางการพัฒนา ได้อย่างมีมาตรฐานและสามารถชี้วัดได้จริง
3. แนวทางพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบลในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง มีองค์ประกอบจากฐานสมรรถนะหลักทั้ง 5 ด้าน เรียงตามลำดับความต้องการจำเป็น คือ 1) ความเข้าใจในองค์กรและระบบงานเชิงพุทธบูรณาการ ได้แก่ มีโครงสร้างประสานชุมชนที่ดี (กาย) สร้างระบบตัวชี้วัด (ศีล) รู้ทันเทคโนโลยี (จิต) เน้นองค์การแห่งการศึกษาเรียนรู้ (ปัญญา) 2) การทำงานเป็นทีมเชิงพุทธบูรณาการ ได้แก่ เน้นการมีส่วนร่วม (เมตตา) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (กรุณา) สร้างแรงจูงใจ (มุทิตา) และมีทักษะการสื่อสารที่ดีในกลุ่ม (อุเบกขา) 
3) การบริการเป็นเลิศเชิงพุทธบูรณาการ ได้แก่ ใช้เทคนิคการเสริมแรง (ทาน) มีทักษะการประสานงานเชิงบวก (ปิยวาจา) ใช้เครือข่ายประชาชน (อัตถจริยา) และมีความต่อเนื่อง (สมานัตตตา) 4) การมุ่งผลสัมฤทธิ์เชิงพุทธบูรณาการ ได้แก่ มีระบบประเมินผล (ฉันทะ) เน้นการจัดระบบปัญหาความต้องการ (วิริยะ) และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย (จิตตะ) รวมถึงมีการประเมินความพึงพอใจชุมชน (วิมังสา) และ 5) การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรมเชิงพุทธบูรณาการ ได้แก่ จัดทำค่านิยมองค์กร (สัจจะ) เน้นการตรวจสอบอย่างมีส่วนร่วม (ทมะ) ใช้หลักศีลธรรมในการพัฒนา (ขันติ) และมีระบบรางวัลบุคลากรต้นแบบ (จาคะ) โดยต้องเริ่มจากการสร้างเครือข่ายและขับเคลื่อนด้วยภาคีแห่งความสำเร็จที่มีอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ด้วยการใช้กรอบแนวคิดอารยวัฒิ 5 บวรทัส-วชิรเจดีย์ คือ บ้าน, วัด, ราชการ, ท้องถิ่น,  สถาบัน ให้ทุกภาคส่วน เข้ามาร่วมพัฒนา และเริ่มพัฒนาจากองค์ประกอบสมรรถนะข้างต้นที่มีความต้องการจำเป็น ตามผลค่าเฉลี่ย PNImodified จำนวน 
5 สมรรถนะหลัก 24 สมรรถนะย่อย โดยแนวทางการพัฒนาสมรรถนะจากการวิจัย ประกอบด้วย 81 แนวทางการพัฒนา ที่มีความเหมาะสม เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were 1) to study tambon administrative organization’s competency development strengthen community and 2) to study Buddhist morality of tambon administrative organization’s competency development strengthen community, and 3) to study guidelines of Buddhist integration to develop the competency in tambon administrative organization to build strengthen community 
This research was Mixed Methods Research, The qualitative research was conducted by In-Depth Interviews from 22 interviewees to obtain accurate information and the Result of prioritizing essential competency. The quantitative research was surveyed 335 people from tambon administrative organizations to analyze needs according to PNIModified and find out relative factors to study parameters which impact on Buddhist competency and condition level of strengthened community to contribute reliability of qualitative information. Then, researcher discussed with 12 savants inducing monks to summarize the guidelines of buddhist integrated approach and analyze qualitative information by classifying, comparing and summarizing inductive information leading to Buddhist integration to develop the competency in tambon administrative organization to build strengthen community in practice.
 
 
Research Results were as follows: 
1. The overall competency of tambon administrative organization was high (average = 3.66), considering by section found that competency of right and morality is highest (average = 3.957), the current competency of strengthening community was high (average = 3.64) and considering by section found that social assistance had highest competency (average= 3.84). The competency of Buddhist integrated approach to Tambon administrative organization has strong relationship with strengthening community (r=0.864) and competency of all 5 sections requires development prioritized by the need according to PNImodified which were (1) competency of organizational awareness (PNImodified  = 0.2544), (2) competency of service mind (PNImodified = 0.2197), (3) competency of teamwork (PNImodified= 0.1991), (4) competency of outcome (PNImodified = 0.1931) and (5) competency of right and ethics (PNImodified= 0.1142). 
2. Buddhist Morality in Buddhist integration to develop the competency in tambon administrative organization to build strengthen community was conducting Tri-Sikkha 3 which consists of Sila, Samadhi and Panya to the community. Sila, the first principle, is able to develop by integrating education and Suta-maya panya wisdom which is development of “Suta” to improve competency of organizational awareness as following Bhavana 4. Samadai, the second principle, is able to conduct integrated with Jintamaya Panya wisdom which is development of “Jakha” and Buddhist principle for improving competency of teamwork according to Brahmavihara 4. Panya, the last principle, is able to develop human resource by integrating development and Bhavana-maya panna to develop intellectas Sangahavatthu 4 principle to develop competency of service mind. Besides, Iddhipada 4 is conducted to develop competency of achievement and Gharavasa-dhamma is for development of competency of right and ethics to strengthen community by achieving 3 things, namely Self-sufficiency, Social assistance and Participation. Such dharma principles are able to describe competency and apply to be development guideline with standard and indicator. 
3. For Buddhist integrated approach to improve Sub-district Administration Organization performance in strengthening communities, there are 5 elements of the core competencies in prioritized order are as follows:  1) an understanding of the organization and work in Buddhist integration including good community coordinated structure (Kaya), measuring system (Sila), Cognizant of Technology (Citta), focus on the organization of the study (Panna), 2) Buddhist integration teamwork are focused on participation (Metta), knowledge exchange (Karuna), motivation creation (Mudita) and good mass communication skills (Upekkha), 3)  Buddhist integration service excellence are the reinforcement techniques (Dana), positive coordination skills (Piyavaca), public network usage (Atthacariya) and consistency (Samanattata), 4)Buddhist integration Achievement Motivation are the evaluation system (Chanda), system to solve problems with need (Viriya), updating (Citta), and community satisfaction (Vimamsa), and 5) adherence to Buddhist integration righteousness and ethics are preparation of corporate values (Sacca), focus on the participation inspection (Dama), using moral principle for  development (Khanti) and awarding role model (Caga). Guideline for Buddhist integration to develop the competency in tambon administrative organization to build strengthen community should be started with creating network and driven with member in tambon administrative organization by using Arayawatti 5, Bavaratus-Vajirajedhi is a house, a temple, a government office (establishment for education, improvement of potential unit), local area (tambon administrative organization), institution (health promoting hospital district). All sectors should participated development project, based on 5 competencies by staring with needed competency according to 5 core competencies and 24 sub-competencies. The guideline of research competency consisted of 81 approaches to proper development and be able to apply in practice.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 32.39 MiB 262 18 ก.พ. 2564 เวลา 21:21 น. ดาวน์โหลด