โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Model of Quality of Life Development for the Elderly in Mae Suai District, Chiang Rai Province
  • ผู้วิจัยพระมหาชัยยนต์ คมฺภีรวาที (เทพหาร)
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร. ผศ. อุบลวรรณา ภวกานันท์
  • วันสำเร็จการศึกษา03/08/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/581
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 200
  • จำนวนผู้เข้าชม 618

บทคัดย่อภาษาไทย

                 การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (2) เพื่อศึกษาการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และ (3) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย การวิจัย ครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมโดยการสุ่มแบบเฉพาะ คือ ผู้สูงอายุตำบลป่าแดดและผู้สูงอายุตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ณ วันที่เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 122 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 1. สภาพคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย  ด้านร่างกาย พบว่า สุขภาพของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวบ้าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น ด้านจิตใจ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ดี จิตใจดี อบอุ่น มีความเหมาะสมด้านความสัมพันธ์กับครอบครัวชุมชน สถานภาพของผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ค่อนข้างดี   มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมพอสมควร ภาครัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกเดือน ด้านสภาพแวดล้อมลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เหมาะสม มีสิ่งอำนวยความสะดวก อากาศถ่ายเทสะดวก

               2. ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงรายโดยรวม อยู่ในระดับมาก องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมกับครอบครัวและสังคม ด้านจิตใจ และด้านการสนับสนุนทางสังคม องค์ประกอบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านร่างกาย

               3. รูปแบบที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุเอง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ครอบครัว ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และหน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายดี จิตใจดี มีการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่

    1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย  จากการวิจัย พบว่าสภาพคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหน่วยงานภาครัฐ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    2. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ จากผลงานวิจัย รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ไม่มีผู้ดูแล ดังนั้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรมีผู้ช่วยเหลือดูแลในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ควรจ้างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบค่าจ้างดูแล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดูแลเรื่องปัญหาสุขภาพ การรักษาพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดูแลเรื่องที่อยู่อาศัย

                 3. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งนี้  จากผลงานวิจัยรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เริ่มจากตัวผู้สูงอายุ ครอบครัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ดังนั้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุต้องให้ความสนใจกับสุขภาพตนเองเป็นลำดับแรก และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องช่วยเหลือ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ต้องช่วยกันส่งเสริมและรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างจริงจัง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                This research aims i) to study the quality of life of the elderly in Mae Suai District, Chiang Rai Province; ii) to study the self-reliance of the elderly in Mae Suai District, Chiang Rai Province; and iii) to study the model of quality of life development for the elderly in Mae Suai District, Chiang Rai Province. This mixed methodology was carried out in this research. In terms of quantitative research, the data were collected from 122 elderlies in Si Thoi Subdistrict, Mae Suai District, Chiang Rai Province, being drawn by random sampling technique. Data were analyzed using frequencies, percentage, mean, standard deviation. To test the hypotheses, t-value, F-value (one-way analysis of variance) were employed.  In terms of qualitative research, document analysis and use the interview form as a tool to collect field data from 12 key informants and content analysis technique was used for collected data anlysis.

                The findings of this research were concluded as follows:

                1. The quality of life of the elderly in Mae Suai District on the physical aspect of Chiang Rai province, the health of most elderly people has some diseases such as diabetes, high blood pressure, pain in the body, etc. For the mind aspect, it was found that most of the elderly have a good life, good mind, warm, suitable for relationship with family, community. The status of the elderly in most communities is quite good. Participation in activities was fair. The government or local administrative organizations provide welfare for the elderly, allowance for elderly people every month. Regarding the environment, it was noted that the housing characteristics of the elderly are mostly appropriate with suitable facilities.

                 2. The level of quality of life for the elderly in Mae Suai District Chiang Rai province was found that the quality of life of the elderly in Chiang Rai province as a whole was rated a high level. The quality of life of the elderly is at a high level, including family and psychological participation and social support. The quality of life of the elderly is at a moderate level, including physical aspects.

                 3. Form suitable for the development of the quality of life for the elderly in Mae Suai district Chiang Rai province is to improve the quality of life for the elderly by the elderly themselves. Caregivers of elderly people, families who are involved and government agencies, Community Health Promotion Hospitals, Local government organizations, Social development and human security by participating in all sectors, the elderly will have good physical health, good mind, and practice daily activities appropriately.

                 The suggestions from this study reveal that:

                 1. Policy recommendations from the research was found that the quality of life of the elderly, most of them are seniors, are unhealthy and have congenital diseases. Therefore, those who are involved in government agencies such as Tambon Health Promotion Hospital Local health volunteers must be involved in the health care of the elderly, promote and support the elderly to have a better quality of life

                2. Operational suggestions from research results indicated that model of quality of life development for the elderly in Mae Suai District, Chiang Rai province in the elderly who cannot help themselves. There is no ability to perform daily activities without caregivers. Therefore, to improve the quality of life for the elderly who cannot help themselves. There should be helpers to take care of daily activities, there should hire elderly care volunteers at home by the local administrative organizations responsible for the wage, Tambon Health Promotion Hospital should take care of health problems, medical treatment and local government organizations should take care of housing.

                3. Suggestions for this research based on research results showed that the pattern of quality of life development for the elderly in Mae Suai District, Chiang Rai Province, found that the development of the quality of life of the elderly is due to the participation of all sectors, starting from the elderly, family, elderly caregivers, people involved government agencies in the area. Therefore, to improve the quality of life for the elderly, the elderly must pay attention to their own health first and those involved must help Government agencies in the area must help to promote and be responsible for the development of the quality of life for the elderly seriously

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 13.52 MiB 200 19 มิ.ย. 2564 เวลา 02:15 น. ดาวน์โหลด