โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา : รูปแบบและเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวของวัดในสังคมไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Tourism : The Pattern and Network Tourism Management of the Temples in Thai Society
  • ผู้วิจัยพระศรีสังคม ชยานุวฑฺโฒ (ธนาวงษ์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ปาริชาติ วลัยเสถียร
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร. โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  • วันสำเร็จการศึกษา22/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/582
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,397
  • จำนวนผู้เข้าชม 2,566

บทคัดย่อภาษาไทย

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาบทบาทการส่งเสริมของวัด และความเชื่อมโยงไปสู่เครือข่ายการปฏิบัติธรรม 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของวัดที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม และการจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยว ด้านการปฏิบัติธรรม การศึกษาครั้งนี้ ทำการรวบรวมข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสังเกต และการสัมภาษณ์ภิกษุสงฆ์ในวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 10 วัด แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อให้เห็นรูปแบบ บทบาท ความเชื่อมโยงและการจัดการเครือข่าย ดังนี้

 รูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของวัดในสังคมไทย แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบของวัดที่ส่งเสริมให้เป็นแหล่งชมความงดงามของงานพุทธศิลป์และทำบุญ ไหว้พระ  ขอพร ที่มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายนอกและภายในตามบริบทของวัด มีการใช้    สัญลักษณ์และการสื่อสารที่ทันสมัย เข้าใจง่าย ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมากนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 2. รูปแบบของวัดที่เน้นส่งเสริมให้เป็นสถานที่สำหรับการปฏิบัติธรรม กำลังได้รับความสนใจมากจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

บทบาทของวัดที่ส่งเสริมให้เป็นแหล่งชมความงดงามของงานพุทธศิลป์ทำบุญ ไหว้พระ ขอพร พบว่า มีการส่งเสริมกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญของชาติ งานวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชุมชน โดยกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีขึ้นนี้ เป็นการพึ่งพาเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างวัดกับชุมชน และวัดจะสอดแทรกให้มีการนั่งสมาธิ การปฏิบัติวิปัสสนาเข้าไปร่วมด้วยอยู่เสมอตามโอกาส เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สนใจงานด้านพุทธศิลป์ซึ่งเป็นวัตถุธรรม ได้มีการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในเชิงลึกที่เป็นนามธรรมไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างความเชื่อมโยงให้เกิดพฤติกรรมการเปลี่ยน แปลงขึ้นในจิตใจของนักท่องเที่ยวให้สนใจกับการปฏิบัติธรรม ในวัดที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

ผลการศึกษาด้านการจัดการเครือข่าย พบว่า วัดที่จัดให้มีการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องและจริงจังนั้น มีลักษณะของความเป็นเครือข่ายการปฏิบัติธรรมอยู่ทั่วในสังคมไทย ซึ่งมีการจัดการอยู่ 2 ระดับคือ 1. ระดับบน ได้แก่ องค์กรบริหารกิจการพระพุทธศาสนาสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย เรียกว่า มหาเถรสมาคม (มส.) โดยมีคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา รับผิดชอบด้านการปฏิบัติธรรม ขณะนี้ได้จัดทำโครงการต่าง ๆ ขึ้น เพื่อส่งเสริมช่วยเหลือและสนับสนุนให้เครือข่ายการปฏิบัติธรรม มีความเป็นเอกภาพ และสร้างมาตรฐานการสอนการปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้แนวทางเดียวกันคือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐานสูตร ยึดพระไตรปิฎกเป็นหลัก 2. ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการภายในสำนักของตนให้มีความสมบูรณ์ และพร้อมที่จะพัฒนาเพื่อสร้างพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ มีภูมิรู้ภูมิธรรมทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ รวมถึงการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมสาขาให้สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น และสร้างผู้นำรุ่นใหม่เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ย่อมก่อเกิดเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ เป็นประโยชน์ต่อสังคมในชาติและเป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกโดยรวม

แม้ว่าผลจากการศึกษาจะพบว่า มีนักท่องเที่ยวที่ชมความงามของงานพุทธศิลป์และมีความสนใจไปปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น แต่มักจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีกิจกรรม “ทัวร์ธรรมะ” แต่ยังมีจำนวนเยาวชนที่ค่อนข้างน้อย จึงมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานภาครัฐและองค์กรพระพุทธศาสนา ควรมีการขยายความเข้าใจ ส่งเสริมและสนับสนุนเรื่อง การท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาจิตใจ โดยให้เยาวชนได้แสดงความเป็นผู้นำในการเข้าร่วมทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาให้มากขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research contains 3 objectives: 1) to study the Buddhist tourism Pattern, 2) to study the role of promotion and linkage of meditation practice network of the temple and 3) to analyze the role of promotion and the link of meditation practice of temple and its tourism network management. This was a qualitative survey by observing and interviewing 10 monks who live at tourist temple and then analyzing the data synthesized to illustrate the role model, linkage and network management. Its results were as follows:

 Buddhist tourism model of temples in Thai society was divided into 2 types: 1) the temples which promote the Buddhist art works, merit performances, blessings that are organized in the physical environment both inside and outside according to each temple’s surroundings. There is using religious symbols and update communication that are easier to be understood, which is a very popular tourist site since past to present, 2) the temple that promotes meditation place which is well-known by both Thai and foreign tourists.

The role of temples that promote Buddhist arts revealed that they promote merit activities in auspicious days of Buddhism and nation, culture, traditions and the way of life in community. The said activities were done through mutual support of Sangha and community by which temple applies meditation and Vipassana practice in such activities in order to encourage tourists who were impressed in Buddhist arts having chance to learn Buddhist abstract teachings in depth at the same time. This is considered to create a link to direct their minds into meditation practice in temples that promote continuous practice of meditation.

 

Network management study results showed that the temple that has been continuously and rightly practiced seen as Dharma practice network throughout Thai society contains 2 levels of management: 1) the top level or the highest Buddhist administration organization of the Thai Sangha called Sangha Supreme Council of Thailand (SSC), with the committee of Buddhism propagation responsible for dharma practice. The committee raised various projects to promote, support and encourage the Dharma network to be unified and form of teaching standard of meditation practice for efficiency by using the correct teaching based on Mahāsatipaṭṭhānasutta found in Tripitaka as principal course. 2) operator level signifying an abbot, in charge who manages the temple for being proper and ready to develop Vipassana teachers to be expert in both of correct knowledge (Pariyatti) and moral qualifications (Patipatti). It includes administration system with effectiveness, transparency and produces Buddhist leaders in order to continue and spread Buddhism which in turn provides great benefits for practitioners, society and the world.

Although the results of the study found that most tourists who had appreciated the Buddhist arts and interested in further Dharma practice, are adults and seniors who participate ‘Dharma Tour’ activity, but only small number of youth were seen therefore the government agencies and Buddhist organizations should have given right understanding, promote and support tourism to develop the mind by allowing the youth to perform their leaderships and participate in Buddhist tourism activities as much as possible

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.66 MiB 1,397 19 มิ.ย. 2564 เวลา 02:09 น. ดาวน์โหลด