โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study on Guideline for Tourist Development in Sathigphra District, Songkhla Province
  • ผู้วิจัยพระครูธรรมกถาสุนทร (อิทธิกร อนันตกูล)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูวิรัตธรรมโชติ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว
  • วันสำเร็จการศึกษา01/04/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/585
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,194
  • จำนวนผู้เข้าชม 776

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ 1)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาตามความคิดเห็นของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกันและ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปัญหาและแนวทางส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)ประชากรได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาในตำบลคูขุด ตำบลดีหลวง และตำบลชุมพล ในเขตอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาจำนวน 3,457คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ เคร็จซี่และมอร์แกน (R.V. Krejcie and D.W. Morgan)ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ(Percentage)ค่าเฉลี่ย(Mean)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)ค่าสถิติทดสอบที(t – test)ค่าสถิติทดสอบเอฟ(F – test)ถ้าพบความแตกต่าง จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุดของ เซฟเฟ่(Scheffe’s method)ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) 

ผลการวิจัยพบว่า: 

1.แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า โดยรวมทั้ง 4ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(= 4.06) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.19)  รองลงมาคือ ด้านเศรษฐกิจ(= 4.18) และด้านสิ่งแวดล้อม (= 3.98)ส่วนด้าน สังคม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(= 3.98) เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาพบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา ไม่แตกต่างกัน 

3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า ประชาชนได้เสนอแนะปัญหา ด้านเศรษฐกิจ มีค่าความถี่มากสุด โดยเสนอแนะว่าการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยวจากภาครัฐไม่เพียงพอกับความต้องการของชุมชนขาดการพัฒนาและประยุกต์สินค้าพื้นเมืองให้สัมพันธ์กับยุคติจิตอล ส่วนแนวทางส่งเสริมประชาชนได้เสนอแนะแนวทางส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเสนอแนะว่าภาครัฐต้องให้การส่งเสริม เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้แก่คนในชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างจริงจัง รัฐต้องจัดสรรเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               This research was aimed at three  objectives as following : 1)  to study on guideline for tourist development in Sathigphra district, Songkhla  province, 2)to compare on guideline for tourist development in Sathigphra district, Songkhla  province in terms of sex, age, degree of education and occupation as differently,and   3) to study on  problem and guideline for tourist development in Sathigphra district,Songkhla  province, This is the quantitative research The population composed of people  in Khukhud sub district,Deeluang sub district, and Chumpol sub district under the area of Sathingphra district Songkhla province for 3,457 persons.  Sample size by Krejcie and Morgan’s table measurement, The samples were amount 350 persons. The instrument for data collection was questionnaire designed by researcher and experts, data analysis by package computer program in social science. The statistics were applied as follow;  percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test, Scheffe’s  method and one way ANOVA 

               The findings were as follows:

               1) The guideline for tourist development in Sathigphra district, Songkhla  province found that by overview was at more level ( = 4.06) for all aspects when considered in each aspect found that the aspect of culture was highest mean( = 4.19)  and followed up the aspect of economic ( = 4.18) and the aspect of environment ( = 3.98)  but the aspect of social was the lowest mean (  = 3.89) when classified in terms of sex, age, degree of education and occupation found that by overview was at more level.

               2) The comparative result on guideline for tourist development in Sathigphra district, Songkhla  province in terms of sex, age, and degree of education found that there were different as statistically significance at .05 but in term of  occupation and found that there were not different. 

               3) The guideline for tourist development in Sathigphra district, Songkhla  province found that the aspect of economic was the highest mean and they had recommended that the promote of investment, commerce and tourism from government were not enough with community’s  need, lack of development and apply products in Digital age, the guideline for promotion of tourism they had recommended that the government must promote with creative economic to community for making surplus value of community products as seriously. The government sector must provide more budget to develop tourist area of community.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.77 MiB 1,194 8 มิ.ย. 2564 เวลา 23:08 น. ดาวน์โหลด