โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel of Happiness Monastery Development by Sappaya Based on Buddhist Psychology
  • ผู้วิจัยพระมหาเสงี่ยม สุวโจ (มณีวงษ์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
  • ที่ปรึกษา 2: พระครูพิพิธปริยัติกิจ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา18/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/586
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 178
  • จำนวนผู้เข้าชม 604

บทคัดย่อภาษาไทย

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของวัดและแนวคิดของการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา ในจังหวัดสระบุรี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา ในจังหวัดสระบุรี 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา ในจังหวัดสระบุรี เป็นวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ด้วยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) และ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบบังเอิญ คือ ผู้มาทำบุญที่วัดพระพุทธบาทจำนวน 400 คน เพื่อสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

                  1. สภาพปัญหาของวัดและแนวคิดการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยาในจังหวัดสระบุรี จากการวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็งของวัด ในจังหวัดสระบุรีมีวัตรปฏิบัติมุ่งสู่วิธีการปฏิบัติธรรม มีความสงบ ปราศจากการรบกวน โดยสภาพบริเวณรอบๆ ถือเป็นเขตเมืองมีความเจริญ ไปมาสะดวก สามารถหาพาหนะเดินทางได้ง่าย บรรยากาศในวัดสะอาด สงบ ร่มรื่น โปร่ง ลมพัดเย็นสบาย โคจรคามรอบๆ บริเวณวัดพระพุทธบาทและมีชุมชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จุดอ่อนคือ การจัดสภาพแวดล้อมมีสภาพไม่เอื้อต่อความเป็นสัปปายะและบ้านชุมชนรอบวัด มีความกลัวการเปลี่ยนแปลงและการทำลายความเป็นโบราณสถานของวัด

                2.สร้างรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิยาในจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย 1) ด้านสภาพแวดล้อมภายในวัด คือ จัดมุมรมณียสถานในวัด มีป้ายประชาสัมพันธ์ มีมุมเก็บภาพที่ระลึก ต้นไม้พูดได้ มีป้ายปริศนาธรรมนำชีวิต 2) ด้านกิจกรรมบุญสร้างสุขคือ รับบาตรในศาลา การสวดมนต์ การฟังธรรม การจัดค่ายคุณธรรม ชีวิตพัฒนาได้ถ้าใจมีศีล 3) ด้านกิจกรรมชุมชนสร้างสุข คือ แจกทานผู้ยากไร้รอบวัด จิตอาสาพัฒนาวัด ทักษะชีวิต เกมชีวิตพิชิตทุกสิ่งและพัฒนาชีวิตพลิกวิกฤติเป็นโอกาส

                3.จากการประเมินความพึงพอใจของผู้มาทำบุญที่วัด พบว่า มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยาอยู่ในระดับมาก เป็นการยืนยันการพัฒนาวัดตาม โมเดล ACCG  Wat Model เป็นรูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขที่สามารถทำให้ผู้เข้ามาทำบุญที่วัดมีความสุขตามกรอบสุขภาวะ 4 ด้านคือ กาย อารมณ์ สังคม และ ปัญญา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                      The purpose of this study were 1) to study the problems of contexts of monastery and concept of model of happiness monastery development by Sappaya based on Buddhist psychology in Saraburi province 2) to create model of happiness monastery development by Sappaya based on Buddhist psychology in Saraburi province 3) to present model of happiness monastery development by Sappaya based on Buddhist psychology in Saraburi province. Mixed methods were used in this study.  Focus group, a qualitative method, was conducted from 9 key informants and to collect quantitative data, the satisfaction questionnaires were employed to investigate from 400 samples with accidental sampling who come to make merit at Wat Prabuddhabat. The quantitative data was analyzed by descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean and standard deviation and the qualitative data was analyzed by content analysis. 

                      The results revealed that:

                1. The problems of contexts of monastery and concept of model of happiness monastery development by Sappaya based on Buddhist psychology in Saraburi province: The strength of the monastery In Saraburi province are duty practice towards the practice of dharma, being calm and free from interference , setting in a prosperous urban area, approachable and easy to find transportation vehicles easy. The atmosphere in the monastery are clean, peaceful, shady, airy, cool and windy. There are alms-resort villages around Wat Prabuddhabat Temple and dense community. The weakness of the monastery In Saraburi province are the setting of an environment that is not conducive to being Sappaya and a community around the monastery, fear of change and destruction of the monastery's history.

     2. According to SWOT Analysis of the creation of model of happiness monastery development by Sappaya based on Buddhist psychology in Saraburi province found that 1) The internal­­ environment of the monastery is to arrange the corner of a house of pleasure, public relation boards, memorial photo corner, talking tree and dharma puzzle signs 2) Happiness merit making activities are to receive a bowl in the pavilion, to pray, to listen Dhamma and to arrange moral camps named “Life can be developed if the mind has a morality” 3) Happiness community activities are alms-giving for impoverished person around the monastery, volunteer of  development monastery, life skills, life conquest game and life development by turning crisis into opportunities.

     3. The results of the evaluation of the satisfaction of people who make merit at the monastery showed that they satisfied with the model of happiness monastery development by Suppaya based on Buddhist psychology at high level. This is a confirmation of monastery development based on the ACCG model Wat Model that can make visitors in the monastery happy in 4 aspects of health which are physical, emotional, social and intellectual.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.44 MiB 178 8 มิ.ย. 2564 เวลา 23:53 น. ดาวน์โหลด