โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธจิตวิทยาสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Psychology for Building Resilience Quotient in Family Caregivers of Patients with Non-Communicable Diseases
  • ผู้วิจัยจ่าสิบตำรวจ หญิง กนกวรรณ ขวัญอ่อน
  • ที่ปรึกษา 1ดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ (เฉลิมจาน), ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา04/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/589
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 463
  • จำนวนผู้เข้าชม 634

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วิธีการสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจตามหลักพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้าง  ความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ 3) เพื่อนำเสนอโปรแกรม พุทธจิตวิทยาการสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การศึกษาเอกสารและการศึกษาภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งสิ้น 10 รูป/คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำผลจากวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพไปตรวจสอบยืนยันด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คนด้วยกระบวนการสุ่ม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคำถามในการสัมภาษณ์ โปรแกรมพุทธจิตวิทยาสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติแบบบรรยายและการทดสอบค่าทีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. การสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจตามหลักพุทธจิตวิทยา เกิดขึ้นจากองค์ประกอบของความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ คือ 1) แหล่งสนับสนุนภายนอกที่ส่งเสริมให้มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ 2) ความเข้มแข็งภายในของแต่ละบุคคล 3) ทักษะด้านการจัดการปัญหาและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 4) การสื่อสารระหว่างบุคคล  5) การวางแผน 6) การลงมือทำ บูรณาการเข้ากับหลักสัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ และสัมมาสติ ตามพุทธวิธี

             2. กระบวนการสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบด้วย กระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตนเอง 8 ขั้นตอน คือ 1) รู้จักตัวเราเข้าใจเขา  2) เฝ้าประเมินตน 3) ค้นหาสภาวะ 4) ทะยานสู่หนทาง 5) ขวนขวายทางเลือก 6) ขยายแผนชีวิต 7) ฟิตลงมือทำ และ 8) วัด skill พร้อมติดตาม แบ่งออกเป็น 13 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการบูรณาการตามหลักพุทธจิตวิทยา 6-I 3-R (I have, I am, I can, I message, I plan, I do, Right Understanding, Right Effort, Right Mindfulness) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากกระบวนที่ตนเองผ่านพ้นสถานการณ์นั้น

3. การประเมินผลการทดลองใช้โปรแกรมพุทธจิตวิทยาการสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) คะแนนเฉลี่ย ความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในกลุ่มทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามไม่แตกต่างกัน แสดงว่า มีความคงทนของระดับความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นผลจากการใช้โปรแกรมพุทธจิตวิทยาการสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ ที่พัฒนาขึ้น ตามกระบวนการ 8 ขั้นที่บูรณาการหลักพุทธจิตวิทยา 6-I 3-R ด้วยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตนเองเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติในชีวิตและเกิดความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purpose of this dissertation was to propose Buddhist Psychological program for building resilience quotient in family caregivers of patients with non-communicable diseases. The objectives were 1) to study concepts, theories, and methods of resilience quotient following the principles of Buddhist Psychology; 2) to develop Buddhist Psychological program for building resilience quotient in family caregivers of patients with non-communicable diseases; and 3) to propose Buddhist Psychological program for building resilience quotient in family caregivers of patients with non-communicable diseases. Mixed methods research using a quantitative method to extend qualitative results was used for research design. Qualitative data were collected by documentary study, field study and in-depth interview. Key informants were 10 family caregivers of patients with non-communicable diseases and were selected by using purposive sampling. Quantitative research was designed to confirm qualitative results using Quasi-experimental research. Randomization was used for selecting 40 samples and was divided into 20 samples for each experiment group and control group. Research tools were interview guideline, Buddhist Psychological program for building resilience quotient, and questionnaires. Content analysis and analytic induction were used for a qualitative data analysis. For quantitative data, descriptive statistics and t-test were analyzed by computer package.

 The research results were as follows:

1. Building resilience quotient based on Buddhist psychology occurred from the composition of 1) external supports to encourage resilience quotient, 2) internal strength of each person, 3) problem solving skill and people relationship, 4) intercommunication,  5) planning and 6) action. It was integrated in Buddhist method which consisted of right understanding, right effort and right mindfulness. 

2. Process of building resilience quotient in family caregivers of patients with non-communicable diseases consisted of 8 process of self-experience learning which were 1) know myself and understand others, 2) self-assessment, 3) search for problems, 4) focus on goal, 5) find alternative ways, 6) extend life plan, 7) lead to action, and 8) measure skills and follow up. There were 13 workshop activities integrating with 6-I 3-R of Buddhist psychology consisted of I have, I am, I can, I message, I plan, I do, Right understanding,      Right Effort and Right mindfulness in order to initiate self-learning from the process of passing experience.

3. The assessment of using Buddhist Psychological program for building resilience quotient in family caregivers of patients with non-communicable diseases indicated that 1) the average level of resilience quotient in family caregivers of patients with non-communicable diseases in experiment group after attended the program was higher than before attended the program at .05 significant level; 2) the average level of resilience quotient in family caregivers of patients with non-communicable diseases after attended the program of experiment group was higher than control group at .05 significant level; and 3) the average level of resilience quotient in family caregivers of patients with non-communicable diseases in experiment group between after attended the program and follow up was not different. It was shown that level of resilience quotient in family caregivers of patients with non-communicable diseases was sustainable which came from attending 8 steps of Buddhist Psychological program for building resilience quotient. Buddhist Psychology of 6-I 3-R were integrated for self-experience learning for moving over the critical point of their lives and initiate resilience quotient.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 12.62 MiB 463 29 ธ.ค. 2564 เวลา 23:42 น. ดาวน์โหลด