โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ : รูปแบบการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของวิถีเกษตรอินทรีย์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Sustainable Happiness Model of Organic Farming.
  • ผู้วิจัยพระณัฏฐนันท์เดช พงษ์พิทักษ์
  • ที่ปรึกษา 1รศ.ปาริชาติ วลัยเสถียร
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.วิวัฒน์ หามนตรี
  • วันสำเร็จการศึกษา21/01/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/591
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 385
  • จำนวนผู้เข้าชม 423

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนทัศน์และหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ในการพัฒนาความสุขของเกษตรกรรมอินทรีย์ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ กับการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของเกษตรกรรมอินทรีย์ และเสนอรูปแบบการนำหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธกับการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของเกษตรกรเกษตรอินทรีย์  ทำการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม โดยการคัดเลือกกลุ่มที่ศึกษาแบบเจาะจง ประกอบด้วยเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 10 ครัวเรือน และเจ้าพนักงานทางด้านการเกษตร จำนวน 2 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล โดยใช้การนำเสนอและวิเคราะห์แบบอัตชีวประวัติ (Autobiography ) และพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

              กระบวนทัศน์และหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ในการพัฒนาความสุขของเกษตรกรรมอินทรีย์ มาจากความเชื่อและกระบวนการคิดของคนในชุมชนตั้งแต่การทำเกษตรเคมีเป็นการทำเกษตรอินทรีย์  ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการแห่งการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของแต่ละครัวเรือน เปลี่ยนการทำเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ ใน 5 ด้าน คือ 1) การผลิตที่ไม่มุ่งเน้นด้านการเงินเพียงอย่างเดียว 2) การเปลี่ยนแปลงการผลิตให้มีความหลากหลาย 3) การพึ่งพาตนเอง 4) การเกษตรเพื่อสุขภาพ และ 5) การวางแผนระยะยาวให้กับตนเองและลูกหลาน ความเชื่อและกระบวนการคิดทั้ง 5 ประการนี้ เป็นสิ่งที่กำหนดการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต การแปรรูป และการจำหน่าย 5 หลักใหญ่ ๆ คือ 1) การปรับโครงสร้างการผลิต การแปรรูป และการจำหน่ายให้มีความเหมาะสมต่อครัวเรือนและชุมชน 2) การลด ละ เลิกใช้สารเคมีทั้งปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืช 3) การปรับการผลิตพืชเชิงเดี่ยวเป็นการผลิตที่หลากหลายและเกื้อกูลกันมากขึ้น ความเชื่อกระบวนการคิดและการปฏิบัติของคนในชุมชนมีกระบวนการที่สำคัญ คือการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเกษตรอินทรีย์ให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ คือการประยุกต์หลักพุทธธรรมไปใช้ในการพัฒนาเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ ตามหลักพุทธธรรมทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ในพระพุทธศาสนาคือหลักหลักสมชีวิตา (ใช้ชีวิตพอเพียง) และหลักอหิงสา (ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น)  

          ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ กับการพัฒนาวิถีชีวิตของเกษตรกรอินทรีย์เพื่อให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืน มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอยู่ 5 ลักษณะ คือ 1) วิถีชีวิตที่ซื้อกินน้อยลง 2) วิถีชีวิตที่ขยันและอดทน 3) วิถีชีวิตที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อญาติมิตร 4) วิถีชีวิตที่มีจิตใจที่สงบมีความสุขกับครอบครัว 5) วิถีชีวิตที่มีการรวมกลุ่มมีชุนชนและสังคมที่กว้างขึ้น รวมถึงการได้แลกเปลี่ยนความรู้ที่เกิดจากเครือข่ายเกษตรกรต่างถิ่น การปรับเปลี่ยนดังกล่าว เป็นการนำหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธมาปรับใช้ให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืน คือ 1) การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงไม่มีโรค 2) การมีสุขภาพจิตที่ดี มีความเข้าใจธรรม (สัมมาทิฏฐิ), มีความรู้สึกที่ดี (เวทนา), มีกิจกรรมที่ทำร่วมกับคนในครอบครัว (กิจวัตร), 3) การมีปัญญารอบรู้ในสิ่งที่ตนทำคือการเกษตรอินทรีย์ และปัญญาในการใช้ชีวิตที่พอเพียงไม่เบียดเบียน 5) การสร้างให้เกิดเป็นสังคมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขที่เกิดจากการทำเกษตรอินทรีย์

          รูปแบบการนำหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธเพื่อพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของเกษตรกรรมอินทรีย์ คือการดำเนินชีวิตที่ผสมกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์ธรรมชาติ โดยมีรูปแบบที่พึงประสงค์ของเกษตรกร 8 ด้าน คือ 1) ด้านความขยัน 2) ด้านการประหยัด 3) ด้านความซื่อสัตย์ 4) ด้านความอดทน 5) ด้านวินัย 6) ด้านคุณธรรม 7) ด้านปัญญา และ 8) ด้านสังคม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purposes of this research are (1) to study paradigms and Buddhist economic principles in the development of happiness of organic agriculture (2) to analyze of the links between Buddhist economy and the sustainable happiness development of organic agriculture; and (3) to propose model presentation for applying Buddhist economy principles and the sustainable happiness development of organic farmers.

This research is a qualitative research that the researcher gathered the data from documents and field work through in-depth interviews. The group of study was selected by purposive sampling which were 1) 2 agricultural officials and 2) 10 households of organic farmers. They are selected by using the selection criteria from members of the Khlong Yong Organic Community Enterprise Group that are successful in organic farming and are the group's leading educators. The data are analyzed by autobiography and description.

The results were found as follows:

Paradigms and Buddhist economic principles in the development of happiness of organic agricultural farmers, stem from the process of experiential learning. Thus, the main changes in beliefs and thinking processes are 1) not just financial-oriented farming,  2) diversity agriculture, 3) self-reliance, 4) healthy agriculture, and 5) long-term planning for family. They define 3 major changes in the production, processing, and distribution are followings: 1) restructuring the production, processing, and distribution to be suitable for households and communities, 2) reducing and discontinuing to use chemicals including chemical fertilizers and pesticides, 3) modification of mono-crop production to diversity agriculture.. These are transformative learning. The application of Buddhist principles in promoting organic farming mainly employ the Buddhist Dhamma principles (Middle Way)  which are the Somchiwita principle (Sufficiency Living) and Ahimsa principle (Do not encroach oneself or others).

          The study of linkage between Buddhist economy and the sustainable happiness development of organic agriculture reveals that there are crutial changes in the farmers lifestyle  that are less buying and eating lifestyles, diligent and patient, generous to relatives, peaceful and happy relations with the family, and networking with other people and groups for exchanges of knowledge and skills. The aforementioned lifestyle changes are the application of Buddhist economic principles for sustainable happiness, which are 1) healthy physical health without disease, 2) good mental health and Dharma understanding (Sammathitthi), good feelings (sensations), activities to do with family members (routines), 3) the intelligence and knowledge of what they do is organic agriculture and wisdom in living a sufficient life without encroaching, and 5) creating a society that is full of happiness arising from organic farming.

          The model of applying Buddhist economy principles and the sustainable happiness development of organic agriculture is live in a harmonious way of life between hamans and humans, humans and nature. There are 8 forms of desirable for farmers: 1) diligence 2) saving 3) honest 4) patience 5) discipline 6) morality 7) intelligence and 8) society

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 8.39 MiB 385 9 มิ.ย. 2564 เวลา 01:26 น. ดาวน์โหลด