-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลัก พุทธจิตวิทยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Structural Equation Model of Elderly Care in Family Following Buddhist Psychology
- ผู้วิจัยนางสาวพวงชมนาถ จริยะจินดา
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2ดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ
- วันสำเร็จการศึกษา04/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/596
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 514
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อพัฒนากรอบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยากับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้การศึกษาเอกสารและการศึกษาภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลโดยครอบครัว เครือข่าย และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพุทธศาสนา รวมทั้งสิ้น 20 รูป/คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำผลจากวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพไปตรวจสอบยืนยันด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแบบสถิติบรรยายและวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์และวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรมลิสเรล
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การเผชิญปัญหา 2) การประเมินความต้องการของผู้สูงอายุ 3) การสร้างความร่วมมือกับเครือข่าย 4) การดูแลผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 5) การพัฒนาตนเองของผู้ดูแล 6) การประเมินตนเองของผู้ดูแล เมื่อนำผลการวิเคราะห์เนื้อหาจากวิธีการเชิงคุณภาพมาบูรณาการด้วย พบว่า แนวทางการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยาประกอบด้วยขั้นตอนการปฏิบัติ ๖ ขั้นตอน ได้แก่ การเผชิญปัญหา – ค้นคว้าความต้องการ – ประสานเครือข่ายช่วย – ดูแลด้วยหลักภาวนา 4 – มีการพัฒนาตน – มุ่งประเมินผลตนเอง
2. กรอบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยาที่มี ตัวแปรส่งผ่าน สรุปได้เป็นโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุซึ่งแสดงอิทธิพลขององค์ประกอบคุณสมบัติของผู้ดูแลและองค์ประกอบปัจจัยสนับสนุนจากเครือข่ายต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีตัวแปรการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยาเป็นตัวแปรส่งผ่าน ตัวแปรในโมเดลที่พัฒนาขึ้นนี้ ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร แบ่งเป็นตัวแปรภายในแฝง ๒ ตัวแปร ตัวแปรภายนอกแฝง 2 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัวแปร
3. โมเดลรูปแบบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ว่า χ2= 111.32, df = 104, p = .29, GFI = .95, AGFI = .91, RMSEA = .02 องค์ประกอบคุณสมบัติของผู้ดูแล และปัจจัยสนับสนุนจากเครือข่าย สามารถอธิบายความแปรปรวนการดูแลผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา ได้ร้อยละ 82.00 และองค์ประกอบคุณสมบัติของผู้ดูแล ปัจจัยสนับสนุนจากเครือข่าย และการดูแลผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา สามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 62.00 และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยสนับสนุนจากเครือข่ายเท่ากับ 0.35 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากองค์ประกอบคุณสมบัติของผู้ดูแล โดยผ่านการดูแลผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา เท่ากับ 0.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสรุป ผู้สูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เป็นผลจากคุณสมบัติของผู้ดูแลที่มีหลักอิทธิบาท 4 โดยส่งผ่านการดูแลผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this dissertation were 1) to study models of elderly care in family following Buddhist Psychology; 2) to develop a framework for the elderly care structural based on family following Buddhist Psychology; and 3) to examine the consistency of the structural equation model of elderly care in family following Buddhist Psychology with the empirical data. Mixed methods research using a quantitative method to extend qualitative results was used for research design. For qualitative data collection, the design used documentary studies and field studies using in-depth interviews with 20 key informants consisted of elderly, care in family, networking, Buddhist and psychological experts with purposive sampling. Qualitative results were confirmed by quantitative research using simple random sampling method and 220 samples were sampling from population. The research instruments were in-depth interview and questionnaires. Content analysis and analytic induction were used for a qualitative data analysis. For quantitative data, descriptive statistics including the analysis of correlation were analyzed by computer package, and relationships between the model and empirical data, direct and indirect influences were analyzed by LISREL program.
The research results were as follows:
1. Models of elderly care in family following Buddhist Psychology that studied from related research and literature consisted of 6 steps which were (1) coping, (2) need assessment of elderly, (3) build collaborative with networking, 4) elderly care following Bhavana 4, (5) self-development of caregivers, and (6) self-assessment of caregivers. Results of content analysis from qualitative research were integrated and found that guideline for elderly care in family following Buddhist Psychology consisted of 6 steps which were coping – searching for need – connecting network – taking care with Bhavana 4 – having self–development – assessing themselves.
2. The framework for the elderly care structural based on family following Buddhist Psychology with mediator was developed as a causal model that showed the effect of factor of elderly care qualification and supporting factor from network to elderly’s quality of life and showed elderly care in family following Buddhist Psychology as a mediator. The developed model consisted of 4 latent variables which divided into 2 endogenous latent variables, 2 exogenous latent variables, and 18 observed variables.
3. Structural equation model of elderly care in family following Buddhist Psychology fit with the empirical data. Results of validation indicated that Chi-square = 111.32, df = 104, p = .29, GFI = .95, AGFI = .91, RMSEA = .02. Accounting for the validation of factor of elderly care qualification and supporting factor from network can explain elderly care in family following Buddhist Psychology of 82.00 percent. Accounting for the validation of factor of elderly care qualification, supporting factor from network, and elderly care in family following Buddhist Psychology can explain elderly’s quality of life of 62.00 percent. The elderly’s quality of life was direct effects by supporting factor from network equal to 0. 35 at .01 significant level, and indirect effects by elderly care qualification through elderly care in family following Buddhist Psychology, equal to 0.70 at .01 significant level. In conclusion, elderly can have good quality of life usually comes from elderly care qualification with Iddhibada 4 mediated by elderly care in family following Buddhist Psychology.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|