-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการพัฒนาสันติกรุณาสำหรับยุวนารีสันติภาพ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model for the Development of Santi-karunā for Youth
- ผู้วิจัยนรารัตน์ สงวนทรัพย์
- ที่ปรึกษา 1พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
- ที่ปรึกษา 2พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
- วันสำเร็จการศึกษา14/12/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/6
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,838
- จำนวนผู้เข้าชม 2,400
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหารูปแบบการพัฒนาสันติกรุณาสำหรับยุวนารีสันติภาพ เป็นวิจัยแบบเชิงคุณภาพ เพื่อการพัฒนา Qualitative Research & Research and Development หรือ (R and D) โดยการนำพุทธสันติวิธี และศาสตร์สมัยใหม่มาบูรณาการ เพื่อได้รูปแบบการพัฒนา และทดลองรูปแบบจนเกิดประสิทธิภาพหัวข้อเรื่อง“รูปแบบการพัฒนาสันติกรุณาสำหรับยุวนารีสันติภาพ” ศึกษากรณีอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหาเยาวชนหญิงในอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนา (2) เพื่อพัฒนารูปแบบยุวนารีสันติภาพตามแนวพุทธสันติวิธี (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสันติกรุณาสำหรับยุวนารีสันติภาพ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เกิดแนวทางการส่งเสริม ป้องกัน เป็นทางออกในการแก้ปัญหาให้สังคมได้สันติสุข และความสงบสุขภายใน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากสภาพปัญหาหลังการทดลองพบว่า เยาวชนหญิงอำเภอปรางค์กู่ กำลังเผชิญความเสี่ยง อันเกิดจากสังคมแวดล้อม อันตรายที่ล้อมรอบตัวเยาวชนมีพฤติกรรมความรุนแรง สื่อลามกอนาจาร เสพยาเสพติด และมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร อยู่ในแหล่งมั่วสุม พฤติกรรมเด็กและเยาวชนหญิง จึงสรุปปัญหาภาพรวมได้ว่า 1. เยาวชนเริ่มมีสัมพันธ์ชู้สาวระหว่างเรียน การตั้งท้องก่อนวัยอันควร 2. เยาวชนใช้เวลาไม่เป็นประโยชน์ 3. เยาวชนมีความต้องการ อยากได้ อยากมีในวัตถุนิยม 4. เยาวชนมีทัศนะที่ยังอ่อนต่อโลก 5. เยาวชนขาดประสบการณ์แยกแยะทางความคิด คำพูด การกระทำที่แสดงออกไม่เหมาะสม โดยสาเหตุมาจาก ค่านิยม การคบเพื่อน การใช้สื่อโซเชียล ตามรายงานประจำปี 2562 สภาเด็กและเยาวชน อำเภอปรางค์กู่ ด้านค่านิยมของวัยรุ่น ทำให้ส่งผลกระทบต่อตนเอง ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ต่อสังคมเกิดความขัดแย้ง การคบเพื่อนการเลียนแบบพฤติกรรม การใช้สื่อที่เกินพอดี ที่ขาดการควบคุมตนเองได้ผลโดยสภาพรวมหลังการทดลองพบว่า ยุวนารีสันติภาพ เมื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาสันติกรุณา ได้มีการพัฒนาตามกระบวนการ ขั้นตอนของชุดฝึกอบรม ทำให้หลังจากเข้ารับการอบรมยุวนารีมีการพัฒนาจิตใจตนเองให้เกิดการยอมรับตนเอง และผู้อื่นมากขึ้น พัฒนาส่งผลทำให้เกิดความกรุณา ปรารถนาช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นความเดือดร้อนอย่างเต็มใจ และมีสติใคร่ครวญมากขึ้น และขณะที่ผ่านการอบรมทำให้ป้องกันปัญหาที่พบในยุวนารี ด้านเศรษฐกิจ จากกิจกรรมหมวดสติ “ วิถีสติแห่งสายน้ำ” หรือน้ำสมุนไพรในชื่อ “Karuna drink” ทำให้มีการพัฒนาจนสามารถทำเป็นอาชีพเพื่อเป็นรายได้ครอบครัวได้ และพัฒนาสติ สามารถแยกแยะเครื่องดื่มให้โทษต่อร่างกายและต่อเศรษฐกิจครอบครัว ด้านสังคม จากกิจกรรมหมวดกรุณา “Peaceful to Powerful” โครงงาน“แมสปันสุข”“ขยะกรุณา” ทำให้ยุวนารีมีการยอมรับการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับฟังความเห็นต่าง จนทำให้โครงงานบรรลุเป้าหมาย มีความยินดีบริการสังคมด้วยความเต็มใจ ยิ้มแย้ม และใจเย็น ด้านอิทธิพลสื่อ จากกิจกรรมหมวดสติ สันติ และกรุณา “ภาวนาเพื่อสันติภาพ” “เส้นลวดชีวิต” “เสน่ห์ยุวนารี” “แบ่งปันเท่ากับออม Baria Gard” “Who ae hero?”ทำให้ยุวนารีใช้เวลากับกิจกรรมมากขึ้น มีการยอมรับ เห็นคุณค่าในตนเอง มีความเป็นกุลสตรีทั้งภายในภายนอก มีการดูแลภาพลักษณ์ตนเองให้สง่างามสมวัย ด้านการศึกษา จากกิจกรรมหมวดสันติ และกรุณา “พิธีกตัญญู” “สันติภาพผ่านเพลง” ทำให้ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน ถึงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางความคิด การกระทำ มีการวางแผนการศึกษาในอนาคต มีการพัฒนากตัญญูต่อครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
2. ผลการพัฒนารูปแบบยุวนารีสันติภาพ พบว่า การบูรณาการหลักธรรม “สติ และกรุณา” ร่วมกับวิทยาการร่วมสมัย เป็นแนวทางการพัฒนารูปแบบยุวนารีสันติภาพ ที่มีคุณลักษณะหลักการพัฒนาความ “กรุณา” ที่มีในพรหมวิหารธรรม 4 คือธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ มากำกับความประพฤติให้ยุวนารีมีเมตตากรุณา ลงมือช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นความเดือดร้อน จำเป็นต่อการหล่อหลอมเพื่อฝึกจิตใจยุวนารีให้อ่อนโยน เป็นกุลสตรีทั้งภายใน และภายนอก มีความสงสาร และช่วยเหลือ โดยอาศัยหลัก “สติ” เป็นแรงขับเคลื่อนในความกรุณา ตลอดจนมีความกรุณาต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยมีกระบวนการเกิดขึ้นจากความสงบสันติสุขภายในจิตใจ เป็นแรงปรารถนาสู่ภายนอกในการช่วยเหลือ อย่างมี“สติ” ที่มีในสติปัฏฐาน 4 การรู้เท่าทันอารมณ์ในการกระทำ และคำพูด เพื่อป้องกันปัญหาค่านิยม การคบเพื่อน และอำนาจวัตถุนิยมในสื่อโซเชียล
ดังนั้น การพัฒนารูปแบบยุวนารีสันติภาพ พบว่า ผลการพัฒนาหลังจากยุวนารีเข้ารับการอบรมการพัฒนายุวนารีสันติภาพ ยุวนารีมีความกรุณาเพิ่มขึ้น ในด้านการช่วยเหลือแบ่งปัน มีความสันติสุขเพิ่มขึ้น ในด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับฟังความเห็นผู้อื่นในการทำงานเป็นทีม การมีสติเท่าทันในการกระทำ คำพูด ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น รวมถึงสิ่งแวดล้อม โดยการประเมินผลจากเครื่องมือวิจัย และแบบสังเกตพฤติกรรม
3. รูปแบบการพัฒนาสันติกรุณาสำหรับยุวนารีสันติภาพ ผลการวิจัย พบว่า กระบวน การพัฒนาสันติกรุณาเพื่อเกิดสันติภาพ มี 6 คุณลักษณะการใฝ่สันติกรุณาตามกรอบแนวคิด (KARUNA - DHAM MODEL) ได้แก่ ยิ้มแย้ม ใจเย็น เป็นกัลยาณมิตร คิดถึงผู้อื่น หยิบยื่นแบ่งปัน สานฝันพลโลก ที่มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ เปิดใจ ยอมรับ พัฒนา แบ่งปัน เป็นขั้นตอนการพัฒนาการเข้าถึงความเปลี่ยนแปลงให้มีความกรุณา เพื่อเกิดสันติภาพ โดยเริ่มพัฒนาจากตนเอง ส่งเสริมครอบครัว วัด โรงเรียน ชุมชน ให้ได้ผลลัพธ์จากคุณลักษณะดังกล่าว เพื่อพัฒนาไปสู่สันติภาพ 4 ประการ ได้แก่ แกล้วกล้า มีวินัย ใจกตัญญู เชิดชูสังคม เป็นสันติภาพที่เหมาะสมสำหรับยุวนารีสันติภาพอำเภอปรางค์กู่ ที่สอดคล้องกับบริบท และสภาพปัญหาในพื้นที่ของงานวิจัย
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสรุปผลลัพธ์จากการวิจัยว่า รูปแบบการพัฒนา เป็นกระบวนการกล่อมเกลาพฤติกรรม การปลูกจิตสำนึกให้หลีกเลี่ยงสิ่งเร้า ความขัดแย้งทั้งภายใน ภายนอก ที่ส่งผลกระทบตนเอง สังคม ทั้งภาพรวมของเยาวชนหญิงในอำเภอปรางค์กู่ และยุวนารีสันติภาพ เพื่อป้องกันปัญหาค่านิยม การคบเพื่อน และสื่อโซเชียล จึงพบว่าองค์ความรู้ใหม่ของผู้วิจัย เมื่อยุวนารีได้พัฒนาตามกระบวนการดังกล่าว ทำให้ทราบว่าสามารถป้องกันปัญหายุวนารีด้านเศรษฐกิจ สังคม อิทธิพลสื่อ และการศึกษา และสามารถพัฒนาเป็นแกนนำเยาวชนหญิงอำเภอปรางค์กู่ ที่มีส่วนช่วยเหลือในฐานะต้นแบบ แนวทางป้องกันแก่เยาวชนหญิงให้มีสันติกรุณาในตนเอง เพื่อเกิดสันติภาพ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The dissertation aimed at finding a model for the development of compassionate peace for youth. The study applied the research and development (R&D) approach by integrating the Buddhist peaceful means and modern science in order to acquire a development model. The obtained model was experimented to achieve efficiency. The dissertation entitled “A Model for the Development of Santi-karunā for Youth” consisted of 3 objectives as follows: 1) to study the context and problems of youth in Prang Ku district of Sisaket province; 2) to developing a model for the development of Santi-karunā for youth; and 3) to present a model for the development of Santi-karunā for youth in Prang Ku district of Sisaket province. The obtained model will create a guideline for promotion, prevention, and solution to problems in order for the society to have peace and people in society to achieve inner peace.
The results of the research are as follows:
1) From studying the context and problems of youth in Prang Ku district of Sisaket province, it was found that youth are exposed to the risks posed by the surrounded dangerous social environment. Youth are found to have violent behavior, get addicted to pornography and drugs, have early sexual intercourse, get involved in risky places to committing unlawful actions, etc. All of these behaviors have become parts of students and youth. The problems of youth, therefore, can be concluded as follows: 1) a romantic affair during study leading to teenage pregnancy; 2) the time that is not spent productively; 3) the desire of wanting to be and have; 4) a naive attitude towards life; and 5) the lack of experience to distinguish inappropriate thought, speech, and action. All of these problems are caused by social values, the influence of friends, and the use of social media which altogether impact youth to have low self-esteem, conflict in society, imitation of behavior, excessive use of media, and lack of experience to distinguish ideas.
2) From analyzing a model and process for the development of compassionate peace for youth, it was found that Brahmavihārā (the four sublime states of mind) should be applied in order for youth to have a behavior that is based on compassion, loving-kindness and inner peace. This will allow youth an ability to confront problems in the society of materialism where people tend to be selfish and narrow-minded. The practice of compassion, loving-kindness, and forgiveness towards other people will develop youth to become a role model of youth leaders. Therefore, the training of youth should focus on following the principle of compassion in Brahmavihārā in order to have a volunteer mind and empathy for the sufferings of other people by wanting to help them. This can start from having compassion toward oneself before helping others to be free from troubles, as well as compassionately conserving the environment. Youth should also be promoted to be mindful of their emotions, compassionately understand and accept oneself, have an attitude that is not clinging on the social values, compassionately coexist with friends and family with understanding and acceptance, and lastly, stay away from social media and use the time productively for the benefits of oneself, the community, and the environment.
3) From studying a model for the development of Santi Karuna for youth, it was found that there are 6 attributes under the framework of “Karunadham Model” as follows: smiley, calm, kalyāṇa-mittatā (being a good friend), empathetic of others, sharing, and following dreams. A model also consists of 4 phases: keeping an open mind, accepting, developing, and sharing. This is a process of development for reaching Santi-karunā. Youth should be promoted to develop oneself first and followed by family, temple, school, community to achieve the abovementioned attributes. All of which will lead to the 4 kinds of peace: having courage, being disciplined, having gratitude, and upholding society. This is the kind of peace appropriate for the youth of Prang Ku district conforming to the context and problems of the research area.
In summary, the research has allowed the researcher to discover the process for training the behavior of youth and raising their awareness to avoid both outside and inside conflict that impact oneself and society. The obtained body of knowledge will be effective if youth receive the training for peace youth development program. Youth will be developed to become youth leaders of Prang Ku district, leading youth in the society to have Santi-karunā and bring peace upon family and community.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 28.48 MiB | 1,838 | 12 ม.ค. 2564 เวลา 17:46 น. | ดาวน์โหลด |