-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในเขตภาคกลางของประเทศไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Community Preparation Model for Aging Society in the Central Region of Thailand
- ผู้วิจัยนางจารุณี จันทร์เปล่ง
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.วิวัฒน์ หามนตรี
- ที่ปรึกษา 2ดร.วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
- วันสำเร็จการศึกษา23/09/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/602
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 260
- จำนวนผู้เข้าชม 438
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา สภาพชุมชน โครงสร้างและระบบการเตรียมชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในเขตภาคกลางของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในเขตภาคกลางของประเทศไทย 3) การประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนากับการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในเขตภาคกลางของประเทศไทย 4) เพื่อเสนอรูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในเขตภาคกลางของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจาก เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 29 รูป/คน โดยมีเครื่องมือในการวิจัย คือ แนวทางสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่เน้นโครงสร้าง จัดระบบหมวดหมู่ข้อมูล และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อสังเคราะห์เป็นรูปแบบที่เกิดจากการศึกษา
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพชุมชน ของพื้นที่เป้าหมายตั้งอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1.สังคมเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป 2.สังคมชนบท ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา มีวิถีชีวิตพอเพียง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ อยู่บ้านเพียงลำพังและมีภาระต้องเลี้ยงหลาน มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ และโรงเรียนผู้สูงอายุ และในกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง จะมี Care Manager Care Giver ดูแลมีงบประมาณกองทุนตำบล และงบ สปสช. ระบบการเตรียมชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ มีการดำเนินงานตามนโยบายของประเทศ นอกจากนี้ก็มีการดูแลสภาพแวดล้อม ปรับปรุงบ้านให้กับผู้สูงอายุยากไร้ ส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุที่ต้องการมีรายได้เสริม
2) แนวทางเตรียมชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ควรเริ่มจากการกำหนดปัญหา ได้แก่ การศึกษาสภาพปัญหาและบริบทของผู้สูงอายุ โดยมีนโยบายจากระดับประเทศในเรื่องการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเรื่องผู้สูงอายุ และนโยบายของจังหวัด อำเภอและในพื้นที่ ที่สอดคล้องกัน ต่อจากนั้นมีการเตรียมข้อมูลของผู้สูงอายุ โดยแบ่งผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มติดสังคม ติดบ้านและติดเตียง เพื่อบริหารจัดการตามกลุ่ม โดยมีแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 6 ด้าน ในเรื่องของ 1. ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล 2. ด้านรายได้ 3. ด้านที่พักอาศัย 4. ด้านนันทนาการ 5. ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง 6. ด้านการสร้างบริการเครือข่ายการเกื้อหนุน
3) ยุทธวิธีสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ต้องสร้างเครือข่ายทางสังคม เปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุ คือ หลักภาวนา 4 หรือสุขภาวะแบบองค์รวมแนวพุทธ ในเรื่องของกายภาวนา จิตภาวนา ศีลภาวนาและปัญญาภาวนา และหลักอริยสัจ 4 เพื่อการปล่อยวาง มาเป็นธรรมะในการปฏิบัติ
4) รูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในเขตภาคกลางของประเทศไทยสามารถสังเคราะห์ได้รูปแบบ 3P/SM/1B Model เริ่มจากมีการศึกษาสภาพปัญหาผู้สูงอายุ P (problem base) โดยมีนโยบายการดำเนินงานผู้สูงอายุ p (policy) ทั้งจากรัฐบาล และทุกหน่วยงาน มาขับเคลื่อนเป็นแนวทางการปฏิบัติ P (Practice) 9 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล (Health) ด้านรายได้ (Income) ด้านที่พักอาศัย (Home) ด้านนันทนาการ (Recreation) ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง (Social security) ด้านการสร้างบริการเครือข่ายการเกื้อหนุน (Service of elderly) ยึดผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลาง (Elderly Center) การดูแลตามบริบทของพื้นที่ (Contextual Area care) และมีการเตรียมความพร้อมในการรองรับสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่วัยเด็ก (Preaging) ในการดำเนินงานเตรียมชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุให้ยั่งยืน ต้องมี S (Strength Community) หมายถึง แนวทางในการสร้างความเข้มแข็งยั่งยืน โดยการใช้เครือข่ายในสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ประกอบด้วย Social network หมายถึงเครือข่ายสังคม Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมของชุมชน Strength หมายถึง ความเข้มแข็งชุมชน และมีการบริหารจัดการที่ดี ประกอบด้วย M (4M) ในการเตรียม คน (man) /อุปกรณ์(material) /งบประมาณ (money) /การจัดการ (Management) และการดำเนินงานซึ่งมีหลากหลายมิติ ซึ่งจะใช้หลักพุทธธรรม B (Buddhist morality) หมายถึง หลักภาวนา 4 (สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ) และอริยสัจ 4 ที่นำมาประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุในทุกมิติของการดำเนินชีวิต
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This study aimed to meet the following objectives: 1) to study community conditions, structure and systems in preparation for aging society in the central region of Thailand, 2) to study community preparation guidelines for aging society, ) to apply Buddhist principles to link networks for aging society in the central region of Thailand, and 4) to present a community preparation model for aging society in the central region of Thailand. The study was qualitative research involving the study of documents and in-depth interviews with 29 informants including monks and lay people. The instruments employed in the study were in-depth interview forms, data analysis included qualitative and content analysis.
The research findings revealed as follows:
1) Community conditions, structure and community preparation Systems for aging society in the Central Region of Thailand indicated that there were two types of community conditions, namely urban society in which the majority of the population is engaged in vending/trade and general hire. In rural society, most of the population is engaged in agricultural livelihoods such as rice farming where lifestyles are based on sufficiency, most of the elderly people stayed home alone and had the task of raising their grandchildren. Senior citizens’ clubs have been established with schools for the elderly and groups for partial independent living and dependent living elderly. Care managers and caregivers are provided, and there are tambon (sub-district) and NHSO budgets. The community preparation system for an aging society has acted in line with national policy. In addition, care has been given to the environments of the elderly with home improvements for impoverished elderly and promotion of employment for elderly people seeking supplemental income.
2) Community preparation guidelines for aging society in the central region of Thailand began with identifying problems such as studying the situation of the problems and roles of the elderly with policy from the national level in solving the problems of the elderly and consistent policy at the provincial, district and local policy levels. After that, information was prepared for the elderly, who were categorized into three groups, namely independent living, partial independent living and dependent living, to manage by group. Practice guidelines for the care of elderly are divided into the following six dimensions: 1. Health and medical treatment; 2. Income; 3. Living accommodations; 4. Recreation; 5. Social, family, caregiver and protection security and 6. Building of support service networks.
3) Strategic methods have been set in place for strengthening the work performed, namely social networks, community participation and community strength are essential. This includes the application of Buddhist principles with the elderly, namely the four aspects of self-development (Bhavana 4) or the holistic Buddhist health status model for physical development, mental development, moral development and intellectual development, and the Four Noble Truths of Buddhism for people to let go and practice Dharma.
4)The community preparation model for aging society in the central region of Thailand (3P/SM/1B Model) began with studies of the problems faced by the elderly (P: problem base) with policy for performing work involving the elderly (P: policy) from the government and every agency as well as practice guidelines as a driving force (P: practice) in the following nine areas: health, income, home, recreation, social security (family, caregivers and protection, services for the elderly, elderly centers, contextual area care and pre-aging preparations for handling an aging society from childhood. In community preparations for handling a sustainable aging society, strong communities are essential (S), which means guidelines for building sustainability byusing social networks to handle Thailand’s aging society composed of social networks, community participation, community strength and good management composed of M (4M) in preparing people (manpower)/equipment (materials)/budgets (money)/management and multi-dimensional actions based on Buddhist morality (B), which means the four developmental principles (Bhavana 4) (holistic Buddhist health) and the Four Noble Truths of Buddhism with application to every aspect of the lifestyles of the elderly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.49 MiB | 260 | 10 มิ.ย. 2564 เวลา 17:11 น. | ดาวน์โหลด |