-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาเปรียบเทียบพิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวพุทธจังหวัดสุรินทร์ กับชาวจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Sandonta Rite of Buddhists in Surin Province and BanteayMeanchey Province
- ผู้วิจัยSam Ath Suon
- ที่ปรึกษา 1ดร.ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ทวีศักดิ์ ทองทิพย์
- วันสำเร็จการศึกษา18/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/608
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 433
- จำนวนผู้เข้าชม 382
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบพิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวพุทธ จังหวัดสุรินทร์กับชาวจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ 1) ศึกษาความเป็นมาของพิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวพุทธจังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาความเป็นมาของพิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวพุทธจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณค่าพิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวพุทธจังหวัดสุรินทร์กับชาวจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์ ผู้ศึกษาเลือกใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ภาคสนาม (Field Research) คือ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทยและจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์ ประเทศกัมพูชา โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคภาษาไทยและภาษากัมพูชา และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอเป็นความเรียงแบบบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analytic Descriptive)
ผลการศึกษาพบว่า
ด้านที่มาของคติความเชื่อพิธีกรรมแซนโฎนตา พบว่า ทั้งสองจังหวัดมีคติความเชื่อเหมือนกัน คือ เชื่อในเรื่องการทำบุญอุทิศให้กับบรรพชน แต่แตกต่างกันในเรื่องที่มา คือ ชาวพุทธเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ เชื่อตามคติในเรื่องเปรตของพระเจ้าพิมพิสาร ส่วนชาวพุทธในจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์มีเชื่อตามคติในเรื่องของพระอุปคุตต์, เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี, เรื่องนายพราน และเรื่องเปรตผู้เป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ด้านคำจำกัดความพิธีกรรมแซนโฎนตา พบว่า มีความแตกต่างกันในศัพท์ที่เรียกใช้ คือ ชาวพุทธในสุรินทร์เรียกว่า “แซนโฎนตา” ส่วนชาวพุทธจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์ เรียกว่า “พจุมบิณฑ์” แต่เมื่อกล่าวถึงโดยนัยแห่งความหมายแล้วไม่แตกต่างกันคือหมายถึง พิธีการทำบุญอุทิศให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้วเหมือนกัน ด้านความสำคัญของพิธีกรรมแซนโฎนตา พบว่าชาวพุทธทั้งสองจังหวัดที่เป็นเชื้อสายเขมร ให้ความสำคัญต่อพิธีกรรมแซนโฎนตาไม่แตกต่างกัน เพราะพิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อผู้มีพระคุณ, ด้านองค์ประกอบของพิธีกรรมแซนโฎนตา พบว่าพิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวพุทธในจังหวัดสุรินทร์และชาวพุทธในจังหวัดบัณเตียเมียนเจย์มีองค์ประกอบในการจัดพิธีกรรมเหมือนกัน, ด้านประเภทของพิธีกรรมแซนโฎนตา พบว่าชาวพุทธจังหวัดสุรินทร์และชาวพุทธจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์ประเทศกัมพูชานั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเหมือนกัน คือเบ็นตูจ และเบ็นธม ด้านคุณค่าของพิธีกรรมแซนโฎนตา พบว่าชาวพุทธจังหวัดสุรินทร์กับชาวพุทธจังหวัดบัณเตียยเมียนเจย์ไม่แตกต่างกันในเรื่องคุณค่าในด้านหลักธรรมแต่จะแตกต่างกันในข้อปลีกย่อยเท่านั้น ส่วนการเปรียบเปรียบคุณค่าตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพิธีกรรมแซนโฎนตา คติธรรมหรือหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีปรากฏอยู่ในพิธีกรรมแซนโฎนตา คือ คติธรรมเกี่ยวกับการบูชา, หลักธรรมเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที, หลักกฎแห่งกรรม ซึ่งหลักธรรมทั้ง 3 นี้ เป็นหลักธรรมที่ปรากฏอย่างชัดเจนในประเพณีแซนโฎนตา ดังนั้น พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และยังคงคุณค่าทางวัฒนธรรมแบบพุทธที่สืบทอดจากบรรพบุรุษสู่อนุชนตราบเท่าทุกวันนี้พิธีนี้จึงเป็นสิ่งหล่อหลอมให้ชาวพุทธทั้งในประเทศไทยและประเทศกัมพูชาอยู่กันอย่างปกติสุขและสันติสุข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
There are three objectives of this research are 1) to study of Sandonta Rite of Buddhist in Surin province, 2) to study of Sandonta Rite of Buddhist in Banteay Meanchey province and 3) to the comparative study of the values of the Sandonta Rite of Buddhist in Surin province and Banteay Meanchey province. This research is a qualitative and field research, such as in Surin province in Thailand and Banteay Meanchey province in Cambodia. The research used various resources from relevant documents, both in Thai and Cambodia and from an in-depth interview of people whose concern to this research, and then to analyzed the content and finally, to presented the analytic descriptive.
The results of the studies were revealed as follows:
For the origin of the rituals of Sandonta in Surin province in Thailand and Banteay Meanchey province in Cambodia found that they are the same original source. Because of this ritual is related to meritorious doing for dedicated to the ancestors who were passed away. But this ritual the difference in the sources, namely the Buddhists in Surin province have the belief and following the story of the Peta (hungry ghosts) who were the relatives of King Bimbisara, but the Buddhists in Banteay Meanchey province have the belief and following the story of Upaguttathera, the story of Añathapinḍika Seṭṭhῖ and the story of the hunter as well as the story of the Peta (hungry ghosts) who were the relatives of King Bimbisara too. For the definition of the Sandonta ritual, it was found that there were differences in the term used by Buddhists, in Surin province called “Sandonta", but in Banteay Meanchey province called “Pajumpinda”, but when referring to the implication of meaning, they are not different. The merit-making ceremony was dedicated to the deceased relatives as well. The importance of the Sandonta ritual found that both Buddhists of the province were Khmer descent giving priority to the Sandonta ritual, which is no different, because this ritual is a ritual that expresses gratitude towards the previous benefactors, the elements of the Sandonta ritual found that the Buddhist Sandonta rituals in Surin province and Banteay Meanchey province have the same elements of ritual arrangements. The categories of the Sandonta ritual, it was found that the Buddhists in Surin and the Banteay Meanchey province of Cambodia were divided into two categories, namely, “Ben-Tuch”, and “Ben-Thom”, and in Surin province and Banteay Meanchey provinces are not different in the values of the principles, but are different in the minutiae only. For the comparison of values according to Buddhist morals that appeared in the Sandonta rituals. The morals or principles of Buddhism appear in the Sandonta rituals, which are the morality about the principle of honoring, the principles of gratitude, and the principle of Kamma. These three Buddhist principles are obviously the principles that appear in the Sandonta tradition. Therefore, this ritual is a ritual that expresses gratitude to the previous benefactors, and still maintains the Buddhist cultural values inherited from the ancestors to the youth as long as today. This ceremony is a norm for Buddhists in Thailand and Cambodia to live happily and peacefully.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.95 MiB | 433 | 10 มิ.ย. 2564 เวลา 20:34 น. | ดาวน์โหลด |