โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระอินทร์ในนิทานชาดก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Indra’s Roles in Jataka Tales
  • ผู้วิจัยนายสัญญา ศิริชัยวัฒนาโยธิน
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. วุฒินันท์ กันทะเตียน
  • วันสำเร็จการศึกษา17/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/610
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,233
  • จำนวนผู้เข้าชม 354

บทคัดย่อภาษาไทย

    การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระอินทร์ในนิทานชาดกโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและบทบาทของพระอินทร์ 2) เพื่อศึกษาเรื่องเล่าของพระอินทร์ในนิทานชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระอินทร์ในนิทานชาดก วิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

   ผลการศึกษาพบว่า พระอินทร์เป็นบุคลาธิษฐานในตำนานที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้เคารพเชื่อถือทั้งในศาสนาต้นกำเนิดคือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนา ปรากฏการณ์เปลี่ยนผ่านความเชื่อเกี่ยวกับพระอินทร์แบ่งได้ 3 ช่วง คือ 1) จุดกำเนิดคติเทวานุภาพพระอินทร์ในฐานะเทพารักษ์ชาวอริยกะลุ่มแม่น้ำสินธุก่อนยุคพระเวทซึ่งเป็นช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด เป็นทั้งผู้สร้างโลก-เทพแห่งสงคราม และความหวังการเอาชีวิตรอดความโหดเหี้ยมจากภัยธรรมชาติ 2) ช่วงปรับเปลี่ยนบทบาทควบคู่กับวิวัฒนาการศาสนาพราหมณ์ เป็นอัตลักษณ์เชื่อมโยงวรรณะพราหมณ์และกษัตริย์ด้วยพิธีบูชายัญที่เรียกว่าอัศวเมธ 100 ครั้ง และถูกลดอำนาจบทบาทลงเพื่อเข้าสู่การปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางศาสนา และช่วงที่ 3) เปลี่ยนผ่านเข้าสู่เทพอภิบาลพระพุทธศาสนาที่ให้ความสำคัญในด้านคุณธรรม ลดความเหลื่อมล้ำระบบวรรรณะ สะท้อนภาพพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี

   สำหรับบทบาทพระอินทร์ในนิทานชาดกแตกต่างจากศาสนาต้นแบบด้วยเหตุว่าต้องปฏิบัติกุศลธรรม เช่น วัตตบท 7 อย่างบริบูรณ์โดยไม่ปรากฏความตกต่ำด้านพฤติกรรมมากนัก ซึ่งในนิทานชาดกพระอินทร์มีจุดเด่นด้านการแสดงถึงจริยธรรมในสถานภาพที่หลากหลาย คือ ผู้นำที่เปี่ยมเมตตา, ผู้ตามเปี่ยมด้วยศรัทธา, พุทธสาวกผู้อุปัฏฐาก, บรรพบุรุษผู้ตั้งมั่นทานบดี, สามีผู้ยึดมั่นวาจาสัตย์, บิดาผู้เที่ยงธรรม, นักสังคมสงเคราะห์บำเพ็ญประโยชน์, บุตรกตัญญู, ญาติผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่, กัลญาณมิตรต่อผู้ประพฤติธรรม, บุคลาธิษฐานเปรียบองค์ด้วยกฎแห่งกรรม, พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี สะท้อนผ่านเรื่องราวที่ปรากฏในนิทานชาดกทั้ง 21 เรื่อง

   เมื่อวิเคราะห์บทบาทพระอินทร์ในแง่การรองรับหลักการทางพระพุทธศาสนาพบว่า แนวคิดพระอินทร์ยืนยันสาระสำคัญเรื่องการทำหน้าที่ของมนุษย์ใน 2 บทบาท คือ 1) บุคคลที่สมควรแก่การได้รับความช่วยเหลือต้องพึงกระทำหน้าที่ตนด้วยคุณธรรมความดีอย่างเต็มขีดความสามารถ และ 2) บุคคลผู้ให้ความอนุเคราะห์ ย่อมมีความดีในตนเป็นตัวผลักดันให้ช่วยเหลือตามหน้าที่ผ่านวิธีการรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งอัตลักษณ์ของพระอินทร์ที่ประมวลจากกรอบการวิจัย 3 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 1) คุณลักษณะ ปรากฏคุณลักษณะ 4 บทบาทในฐานะผู้วินิจฉัยแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม, ผู้พิทักษ์รักษาผู้ประพฤติธรรม, ผู้อุปถัมภ์ปกป้องพุทธศาสนา, พุทธมามกะผู้นำศรัทธา 2) คุณธรรม แสดงออกว่าเป็นแรงขับเคลื่อนที่สะท้อนบทบาทอันเป็นอัตลักษณ์ของพระอินทร์ ได้แก่ วัตตบท 7, เทวธรรม 2, กุศลกรรมบท 10, จาคะ การเสียสละ, ศีล, เมตตาธรรม, การสำรวมอินทรีย์ 6 และการละอบายมุข 3) คุณประโยชน์ เป็นผู้อำนวยประโยชน์ต่อองค์ประกอบทางพระพุทธศาสนาและคณะบุคคล ได้แก่ พระรัตนตรัย, ครอบครัว, ชุมชนตลอดจนสังคม จากการเสียสละอุทิศตนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ทั้งในฐานะผู้นำเหล่าเทวดาและมนุษย์ ซึ่งรับรองด้วยพุทธดำรัสที่ตรัสถึงความประพฤติไว้ในคัมภีร์หลายส่วน ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจใคร่ศึกษาว่าทำไมพระอินทร์จึงแสดงบทบาทเหล่านี้ในพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This thesis entitled “An Analytical Study of Indra’s Roles in Jãtaka Tales” has three objectives: 1) to study Indra's background and his roles, 2) to study Indra in Jãtaka Tales, and 3) to analytically study his roles in Jãtaka Tales. This based on the qualitative research as a research component.

The results of the study were found that the Indra is the personification of the legend, it said to be a great influence on the respected person of religious origin in both Brahma and Buddhism. The changing of belief on Indra was divided into 3 periods: 1) the origin of the mythology of Indra as the god of the first Aryan people in Indus civilization before the Vedas, the Indra is the most prosperous, the creator of the world, god of war, hope for the survival from the cruelty, natural disaster, 2) the period of role changing along with the evolution of Brahmanism, it refers to an identity linking caste of Brahmin and kings by the sacrificial ceremony which is called the Ashvamedha: horse sacrifice for one-hundred times, and it was reduced to a role for entering the religious performance, finally 3) the evolution into god for preserving Buddhism, the importance of Intra basically embraces the virtue, degrading the caste system and reflecting the image of the Bodhisattva’s perfection practice.

The role of Indra in the Jãtaka Tales is different from the original religion as it must follow the meritorious Dhamma such as the seven Vattapada where the immoral behavior is not clearly shown as the Jãtaka Tales pose the strength of the Indra expressing toward the various ethics, a compassionate leader, faithful follower, Buddha’s supported follower, the devoted ancestor, honest husband, the righteous father, the social worker, the gratitude children, humble relative to the adult, becoming a good friend to practitioner, the personification as the law of karma, the Bodhisattva practice perfection to reflect the past stories that appeared in the twenty-one Jãtaka Tales.

As far as the above mentioned term of supporting the principles of Buddhism is concerned, the concept of Indra has confirmed the essence of human duties in two roles: 1) one who is worthy of receiving help; he must perform one’s duties with fully virtue, goodness, and capacity, and 2) one who provides helping; he has goodness in oneself as pushing to help with duties through various methods. The Indra’s identity was combined by the research frameworks into three aspects which can be concluded that: 1) in characteristics; it consists of the four important roles as the judge to solve the ethical problem; the helpers protect the one who practice Dhamma, the supporters prevent Buddhist, the strictly Buddhist and the influential leader, 2) in morality; it is said to be a driving force to show the identity role such as the seven Vattapada, the Devadhamma 2, the ten kinds of Kusala-kammapada, generosity, selflessness, morality, loving-kindness, the control of the six senses, abandon the cause of ruin, and 3) in advantage; it is conducive to Buddhist factors and group of people e.g., the Triple Gems, the families, the communities until the societies from the dedication oneself to perform public benefit, the leader of deities until human beings which is endorsed by the Buddha’s words about his conduct in the many scriptures. According to these reasons, the researcher requires to study why Indra performed these roles in Buddhism.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 10.29 MiB 1,233 10 มิ.ย. 2564 เวลา 20:53 น. ดาวน์โหลด