-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ในประเทศไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Corporate Governance Promotion of Japanese Company in Thailand
- ผู้วิจัยนายทองดี ปาโส
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา25/08/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/6103
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 21
- จำนวนผู้เข้าชม 44
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทยและ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.973 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย จำนวน 322 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ได้แก่ สร้างทัศนะคติที่ดีมีการปฏิบัติงาน ใช้กฎเกณฑ์ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด และมีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติที่ชัดเจน 2) ด้านการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่เราต้องอยู่ร่วมด้วยในการผลิต ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียต้องมีความชัดเจน 3) ด้านการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ได้แก่ ฝ่ายตรวจสอบภายในจะต้องมีความโปร่งใสมากกว่าฝ่ายจัดซื้อ เปิดเผยข้อมูลอย่างระมัดระวัง 4) ด้านความรับผิดชอบ ได้แก่ ยอมรับผลจากการตัดสินใจการปฏิบัติงาน ตระหนึกถึงความรับผิดชอบต่อเป้าหมายของตนเอง ยอมรับข้อคิดเห็นเพื่อมาพัฒนาปรับปรุง
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย พบว่า
1) การบริหารตามหลัก PDCA ส่งผลต่อการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย มี 4 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า การบริหารตามหลัก PDCA สามารถร่วมกันทำนายการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย ได้ร้อยละ 78.2 ตามลำดับ 2) หลักฆราวาสธรรม 4 ส่งผลต่อการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย มี 3 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า แสดงว่า หลักฆราวาสธรรม 4 สามารถร่วมกันทำนายการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย ได้ร้อยละ 63.1 ตามลำดับ
3. การบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย
1. ด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ 2. ด้านการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย 3. ด้านการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส 4. ด้านความรับผิดชอบ โดยในส่งเสริมการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย มีปัจจัยที่ส่งเสริม คือ การบริหารตามหลัก PDCA นอกจากนั้นยังบูรณาการหลักฆราวาสธรรม 4 มีลักษณะดังนี้ 1) ด้านสัจจะ ความจริงใจ ได้แก่ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีความจริงใจต่อผู้อื่นในการปฏิบัติหน้าที่ ประเมินกำปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมา เปิดรับความคิดเห็นอย่างจริงจัง 2) ด้านทมะ การฝึกฝน ได้แก่ มีความยับยั้งชั่งใจในการกระทำใด ๆ ที่อาจเป็นการละเมิดต่อจริยธรรม มีการฝึกฝนอบรมให้พนักงานมีศักยภาพสูงขึ้น 3) ด้านขันติ ความอดทน ได้แก่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความเข้มแข็ง อดทนในความรับผิดชอบต่องาน ลดการทะเลาะเบาะแว้งในบริษัท 4) ด้านจาคะ ความเสียสละ ได้แก่ เสียสละเวลาอาจจะมีการทำงานร่วงเวลา เสียสละสิ่งของ ค่าตอบแทนและเวลาให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were to: 1. Study the corporate governance of Japanese companies in Thailand, 2. Study of factors affecting the corporate governance of Japanese companies in Thailand and 3. Present Buddhist integration for promoting corporate governance of Japanese companies in Thailand, conducted by the mixed methods. The quantitative research used questionnaires with a total reliability value of 0.973 to collect data from 322 samples who were the Japanese company personnel in Thailand and analyzed the data using frequency, percentage, average, standard deviation and stepwise regression analysis. The qualitative research, data were collected by face-to-face in-depth interviewing 18 key informants Data were analyzed by content descriptive interpretation. Data were also collected from 9 participants in focus group discussion to confirm the body of knowledge after data synthesis.
Findings were as follows:
1. The corporate governance of Japanese companies in Thailand, by overall, was at a high level. When considered each aspect, consisted of 1) compliance aspect such as creating a positive attitude towards performance with clear criteria of operations. 2) aspects of the treatment of stakeholders, i.e., environmental responsibility that we must be involved in in production; 3) the aspect of Information disclosure and transparency: The Internal Audit Department must be more transparent than the Purchasing Department, careful information disclosure, 4) responsible aspects, such as accepting the results of operational decisions, being aware of responsibility for one's own goals, accepted comments for improvement.
2. Factors affecting the good management of Japanese companies in Thailand was found that: 1) the organizing according to PDCA principles affected the corporate governance of Japanese companies in Thailand in 4 aspects with statistically significant value at the level of 0.01 indicating that PDCA was able to jointly predict the corporate governance of Japanese companies in Thailand by 78.2 percent, respectively. 2) Ghar v sa-dhamma 4 affected the corporate governance of Japanese companies in Thailand in 3 areas, with statistically significant value at the level of 0.01 indicating that Ghar v sa-dhamma 4 could jointly predict the corporate governance of Japanese companies in Thailand by 63.1 percent, respectively.
3. Corporate governance of Japanese companies in Thailand in
4 aspects, namely, 1) Compliance with rules, 2) Treatment of Stakeholders
3) Information disclosure and transparency 4). Responsibility. The promotion of corporate governance of Japanese companies in Thailand had factors that promoted the governance according to the principle. PDCA also integrated with Ghar v sa-dhamma 4 principles as follows: 1) Sacca; Sincerity included encouraging and encouraging sincerity towards others in the performance of duties. Evaluate performance honestly. 2) Dama; practice: having restraint in any action that may violate ethics; There was training for employees to have higher potential, 3) Khanti; patience included encouraging personnel to be strong, to be patient in job responsibilities, to reduce quarrels in the company, 4) C ga; Sacrifice, i.e., sacrifice of time, may have work overtime, sacrificing of materials, compensation and time to subordinates.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6401104207 | 6401104207 | 6.08 MiB | 21 | 18 ก.ย. 2566 เวลา 21:06 น. | ดาวน์โหลด |