โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBudget Effective Management Model of Local Administrative Organizations in Ubon Ratchathani Province
  • ผู้วิจัยนางสาวอุบลกาญจน์ อมรสิน
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมาน งามสนิท
  • ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • วันสำเร็จการศึกษา07/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/6108
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 36

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 198 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.969 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล     

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับดังนี้ คุณภาพของงาน (Quality) โดยประชุมวางแผนปรับปรุงการบริหารงานงบประมาณขององค์กร พัฒนาบุคลากรให้ตระหนักถึงความสำคัญของงานงบประมาณ สามารถตรวจสอบได้และพัฒนาหรือปรับวิธีการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมาคือ ปริมาณงาน (Quantity) โดยดำเนินการเสร็จตามที่กำหนดในแผนงานหรือเป้าหมาย จัดอัตรากำลังที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม ค่าใช้จ่าย (Costs) โดยใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ประหยัด มีความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและประชาชน และเวลา (Time) โดยดำเนินการตรงตามเวลา ตามแผนอย่างเป็นระบบ บริหารงานตรงตามเวลา ใช้เวลาอย่างเหมาะสม มีการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

             2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า 1) การบริหารจัดการตามกระบวนการ PDCA ส่งผลต่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับตามสมการดังนี้คือ การปฏิบัติตามแผน การปรับปรุงแก้ไข การตรวจสอบ การวางแผน โดยสามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 53.9 (Adjusted R2=0.539) 2) หลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 โดยเรียงลำดับตามสมการดังนี้คือ ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความคิดมุ่งไป) และวิมังสา (ความไตร่ตรอง) โดยสามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 60.1 (Adj. R2=0.601)

             3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี มีดังนี้ ประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย คุณภาพของงาน (Quality) ปริมาณงาน (Quantity) เวลา (Time) ค่าใช้จ่าย (Costs) โดยนำหลักอิทธิบาท 4 มาปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 1) ฉันทะ (ความพอใจ) โดยบุคลากรมีความรู้และชอบในงานงบประมาณ รวมทั้งปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและเต็มกำลังความสามารถ 2) วิริยะ (ความเพียร) โดยบุคลากรมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และมุ่งคุณภาพของงานด้านงบประมาณ 3) จิตตะ (ความคิดมุ่งไป) โดยบุคลากรทำงานด้วยความทุ่มเท ใส่ใจอย่างดีเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ 4) วิมังสา (ความไตร่ตรอง) โดยวัดประเมินผลการปฏิบัติ พัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูลการบริหารต่อสาธารณะ และมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยมีหลักการบริหารจัดการตามกระบวนการ PDCA เป็นฐาน ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติงานตามแผน การตรวจสอบ การปรับปรุงงาน

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the budget effective management of Ubon Ratchathani Local Organizations, 2. To study factors affecting the budget effective management of Ubon Ratchathani Local. Organizations, and 3. To propose the budget effective management model of Ubon Ratchathani Local Organizations, conducted by the mixed research methods. The quantitative research, data were collected from 198 samples using questionnaires with a reliability value of 0.969. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The qualitative research, data were collected by face-to-face in-depth-interviewing 18 key informants and analyzed by descriptive interpretation and also from 9 participants n focus group discussion to confirm the body of knowledge after data synthesis.

       Findings were as follows:

      1. The budget effective management of Ubon Ratchathani Local. Organizations, by overall, was at high level. Each aspect was found at high level in all aspects; sorted by orders as follows: Quality of work; by meeting for planning to improve the organization's budget management, to develop personnel to realize the importance of budget work to be inspected and to develop the work methods for maximum efficiency. Secondly, the Quantity of work, by completing tasks as specified in the work plan or goal, organizing manpower in accordance with concrete strategies. Costs; by spending worthwhile, economically, fairly, transparently, verifiably resulting in maximum benefit to the organization and people and Time; by operating in accordance with timeframe as systematically planned, managed work to be finished on time, used working time properly with effective time management.

2. Factors affecting the budget effective management of Ubon Ratchathani Local Administrative organizations was found that; 1) management according to the PDCA process resulted in the budget effective management of Ubon Ratchathani Local Administrative organizations in all 4 aspects with statistically significant value at  0.01 level, sorted by the following equation: implementation of the plan, doing improvement, checking inspection to act to improve the operation regularly which together could predict the budget effective management of Ubon Ratchathani Local Administrative Organizations by 53.9 percent (Adjusted R2=0.539). 2) Itthipăda 4 affected the budget effective management of Ubon Ratchathani Local Administrative Organizations in all 4 aspects with statistically significant value at 0.01 and 0.05 levels sorted by the following equations, namely: Chanda, aspiration, Viriya, effort, Citta, attention to work, and Vimamsă, contemplation, critical thinking. They were able to jointly predict the budget effective management of Ubon Ratchathani Local Administrative Organizations by 60.1 percent (Adj. R2=0.601).

3. The model for developing the budget effective management of Ubon Ratchathani Local Administrative Organizations was as follows: The budget effective management of Ubon Ratchathani Local Administrative Organizations in 4 aspects, consisting of Quality of work, Quantity of work, Time and Costs by integrating  Itthipăda 4 to increase the budget effective management of  Ubon Ratchathani Local Administrative Organizations, consisted of 1) Chanda, satisfaction, whereby personnel had knowledge and liked  budget work. Including working with willingness and full capacity. 2) Viriya, perseverance. whereby the personnel were committed,attentive and work achievement oriented, 3) Citta, personnel were attentive and focusing on the quality of the work, paid good attention to the interests of the people and the nation, 4)Vimamsă, critical thinking by assessing and evaluating performance, developing the system for disclosing administrative information to the public transparently and verifiably, based on the principles of management of PDCA: Planning, Doing as planned, Checking to improve the work and Acting to improve the quality of work regularly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ