-
ชื่อเรื่องภาษาไทยกระบวนการประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานกรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application Process of Buddhist Psychological Principles forEnhancing Work Effectiveness of Bangkok Officers
- ผู้วิจัยพระครูปลัดสิทธิศักดิ์ ฐิจสกฺโข
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.ประยูร สุยะใจ
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/612
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 272
- จำนวนผู้เข้าชม 306
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไป ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการสร้างกระบวนการประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นแบบผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 ท่าน และใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 254 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. สภาพทั่วไปของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครมีการนำเอาหลักสังคหวัตถุมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าให้มีคุณลักษณะของการเสียสละ มีการสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพ ร่วมกันทำงานด้วยความสามัคคี และมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คือขาดแคลนงบประมาณในการจัดฝึกอบรม การจัดสัมมนา การจัดประชุม และการไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนาให้เจ้าหน้าที่มีความรู้และประสบการณ์ในงานบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ จึงเกิดผลกระทบต่อการส่งเสริมและการพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิผลตามที่วางเป้าหมายไว้
2. แนวทางในการสร้างกระบวนการประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานกรุงเทพมหานครเกิดจากการบูรณาการสังคหวัตถุ 4 กับทฤษฎีองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ ๕ ประการของเฮอร์ซเบิร์ก โดยใช้ตัวแปรสังคหวัตถุ 4 แต่ละข้อเป็นฐานในการบูรณาการหลัก เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครมีคุณลักษณะทางพุทธจิตวิทยาที่เอื้อต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน การสร้างแรงบรรยากาศในการทำงาน การสร้างแรงความพึงพอใจในการทำงาน และการสร้างความผูกพันในองค์กร ด้วยความเสียสละเพื่อองค์กร มีศิลปะในสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะงานที่ตนเองรับผิดชอบ รู้จักวิธีสร้างมิตรภาพในที่ทำงาน ทำงานด้วยความสุข มีวิธีผ่อนคลายทำใจให้มีพลังด้วยการเติมอาหารให้สมองและร่างกาย แสวงหาความรู้สม่ำเสมอ มีความกระตือรือร้น รู้จักใช้เวลาหลังเลิกงานและวันหยุดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รู้จักสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและประชาชน มีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการแก้ปัญหาเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนเสมอต้นเสมอปลาย
3.ผลการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครในระบบงาน 4 ด้านโดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า งานที่มีประสิทธิผลมากที่สุด คือ ประสิทธิผลในงานบริการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 รองลงมา คือ ประสิทธิผลในงานสนับสนุน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 น้อยสุด คือ ประสิทธิผลในงานสวัสดิการ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.09 และผลการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทฤษฎีจิตวิทยาองค์ประกอบที่ทำให้มีความพึงพอใจในงานที่ทำของเฮอร์ซเบิรก (Herzberg) ต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครโดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีประสิทธิผลมากที่สุด คือ ด้านความผูกพันในองค์กร ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 รองลงมาคือด้านบรรยากาศในการทำงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 น้อยสุด คือ ด้านแรงจูงใจในการทำงาน และด้านความพึงพอใจในการทำงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ เท่ากับ 4.25
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study aims 1) to analytically study general conditions, problems and hindrances of Bangkok metropolitan officers’ performance; 2) to synthesize the constructing methods of an application process of Buddhist Psychological Principlesfor enhancingBangkok officers’ work effectiveness; and 3) to proposean application process of Buddhist Psychological Principlesfor enhancing Bangkok officers’ work effectiveness. The study is a mixed methods research between a qualitative method and quantitative one in nature. For collecting qualitative data an In-depth interview is used to collect data from 17 key informants and Focus Group Discussion is also used for collecting qualitative data from 12 specialists. A questionnaire is used to collect quantitative data from 254 respondents selected by a Random Sampling Method. For analyzing qualitative data a content analysis is employed and statistics including Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation is used for analyzing quantitative data.
Results of the study were as follows:
1. The general conditions of Bangkok officers’ performance were based on principles of service including generosity, convincing speech, rendering services, and equality consisting in impartiality to develop the qualities of generosity, good and effective communication, how to work in team, rendering services, and being determined to solve people’s problems; and problems of Bangkok officers’ performance was the lack of budget for training, seminar, academic forum and outside experiences for improving their particular work for the best performance.
2. The constructing methods of an application process of Buddhist psychological principles for enhancing Bangkokofficers’ work effectiveness was the integration of4 principles of service with the support of Herzberg’s 5 satisfactory factors the support of Herzberg’s 5 satisfactory factors applying each of 4 principles including generosity, convincing speech, rendering services, and equality consisting in impartiality as the core to enhance and develop Bangkok officers’ Buddhist Psychological qualities of achievement, recognition, work itself, responsibility and advancement to contribution to the organization, how to effectively communicate, the understanding of their work and responsibility, the ways of friendship building in the office, how to work happily, how to get relaxing by adding the food for brain and good health, seeking for new knowledge, enthusiasm, how to spend effective free time, how make good relations with office authorities, colleague and people, and how to contribute to the regularly getting rid of problems and grieves for people.
3. The application of 4 principles of service upon their work effectiveness was generally high with the mean of 4.25, while considering each the highest was the job of service with the mean of 4.24, runner-up was the job of support with the mean of 4.22 and the least was the job of welfare; and the application of Herzberg’s 5 factors of job satisfaction upon their work effectiveness was generally high with the mean of 4.26, while considering each the highest was the loyalty to the organization with the mean of 4.28, runner-up was the atmosphere in the office with the mean of 4.27 and the least was the motive for working
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.1 MiB | 272 | 10 มิ.ย. 2564 เวลา 21:30 น. | ดาวน์โหลด |