-
ชื่อเรื่องภาษาไทยกระบวนการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพุทธจิตวิทยา สำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Teaching Process of Insight Meditation Based on Buddhist Psychology for Different Ages
- ผู้วิจัยพระครูปทุมภาวนาจารย์ วิ. (วีระนนท์ วีรนนฺโท)
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- วันสำเร็จการศึกษา01/02/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/613
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 265
- จำนวนผู้เข้าชม 746
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ1) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการสอนตามหลักพระพุทธศาสนาสำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัยในสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 2) เพื่อศึกษากระบวนการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัย และ 3) เพื่อเสนอกระบวนการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพุทธจิตวิทยาที่เหมาะสมสำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเริ่มจากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับพุทธวิธีการสอนตามหลักพระพุทธศาสนาสำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัยในสำนักปฏิบัติกรรมฐานในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลงพื้นที่สำรวจ สังเกตการณ์ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัย โดยวิธีการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อย พระวิปัสสนาจารย์ และผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชน (อายุไม่เกิน 18 ปี) และกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ทำการวิเคราะห์เนื้อหา สังเคราะห์กระบวนการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพุทธจิตวิทยาที่เหมาะสมสำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัย ผลวิจัยพบว่า
1. พุทธวิธีการสอนตามหลักพระพุทธศาสนาสำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัยในสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
1) หัวข้อและเนื้อหาที่สอน เริ่มจากเรื่องที่สร้างความเข้าใจและปฏิบัติได้ง่าย ๆ ไปสู่ระดับที่ยากขึ้น ใช้เรื่องจริงเชิงประจักษ์ที่เทียบเคียงได้เป็นตัวอย่าง ชี้ให้เห็นถึงเหตุและผลของเรื่องราวดังกล่าว และเกิดประโยชน์ที่ผู้ฟังนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของผู้ฟัง
2) วิธีการและลีลาการสอน ซึ่งใช้เป็นหลักที่เหมาะสมสำหรับบุคคลทุกช่วงวัย คือ
(1) อธิบายให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง
(2) จูงใจให้คล้อยตามและเร้าใจให้แกล้วกล้า
(3) ให้มีการถามโต้ตอบ
(4) กำหนดกฎเกณฑ์การเรียนรู้
(5) ตรงตามจริต และความสุกงอมของอินทรีย์/ญาณของผู้ฟัง
(6) สอนให้ปฏิบัติตาม
2. กระบวนการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัยครอบคลุมประเด็นต่างๆ ได้แก่
1) เนื้อหาสาระที่ใช้สอน สำหรับกลุ่มเยาวชนจะเน้นเนื้อหาทางหลักธรรมมากกว่าการปฏิบัติธรรม แต่กลุ่มใหญ่จะให้สัดส่วนด้านปฏิบัติธรรมมากกว่าหลักธรรม
2) ขั้นตอนในการสอน สำหรับกลุ่มเยาวชนจะนำด้วยการใช้กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมเดี่ยว และเสริมด้วยธรรมบรรยายตามลำดับ ส่วนกลุ่มผู้ใหญ่เริ่มด้วยกิจกรรมเดี่ยว ตามด้วยธรรมบรรยาย และการทำกิจกรรมกลุ่ม วิธีการ และเทคนิคที่ใช้เป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับกลุ่มผู้ใหญ่ในสำนักปฏิบัติกรรมฐานทั่วไป คือ การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น การปฏิบัติภาวนา การฟังธรรมบรรยาย และการปิดวาจา
3) การวัดและประเมินผล ในกลุ่มเยาวชนมีวิธีการที่หลากหลายตามพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงวัย ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพระวิทยากร หรือพระพี่เลี้ยง โดยทั่วไปจะแบ่งการวัด และประเมินผลเป็น 3 ขั้นตอน คือ ระหว่างการทำกิจกรรม ตอนปิดกิจกรรม และติดตามประเมินซ้ำหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่ ใช้การสอบอารมณ์ ตามรับรู้อารมณ์ สังเกตพฤติกรรม และการประเมินตนเอง โดยรับรู้ผลการปฏิบัติ จากข้อมูลย้อนกลับของพระวิปัสสนาจารย์
3. กระบวนการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพุทธจิตวิทยาที่เหมาะสมสำหรับบุคคลแต่ละช่วงวัย กระบวนการสอนปฏิบัติธรรมในภาพรวมประกอบด้วย 5 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้
1) ใช้ธรรมจริยาผู้สอน 5 ประการ คือ (1) สอนตามลำดับ (2) มีเหตุผลประกอบ (3) มีจิตเมตตา (4) ไม่เห็นแก่อามิส (5) ไม่กระทบต่อผู้อื่น
2) จำแนกกลุ่มผู้เรียนตามช่วงวัยและตามประสบการณ์การปฏิบัติธรรม กลุ่มช่วงวัยที่เหมาะสมมี 5 ช่วงวัย คือ กลุ่มเยาวชน 3 ช่วง คือ อายุต่ำกว่า 12 ปี, อายุ 12-15 ปี, อายุ 13-18 ปี สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ
3) เลือกสรรเนื้อหาให้เหมาะสมตามวัยผู้เรียน
4) การดำเนินการสอนในกลุ่มวัยรุ่นใช้การบรรยายธรรม ทำกิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมเดี่ยว ในกลุ่มผู้ใหญ่มีเทคนิค 9 ประการ คือ (1) สอดคล้องกับจริตคน(2) อธิบายให้ชัดเจน(3) เริ่มจากง่ายไปยาก จากกว้างไปลึก (4) ให้ซักถามย้อนกลับ(5) จูงใจให้ศรัทธา(6) เร้าใจให้แกล้วกล้า (7) คนเรียนช้าตามทัน (8) การฝึกฝนด้วยตนเอง (9) สร้างส่วนร่วมในการเรียนรู้
5) การวัดและประเมินผลมี 3 ระยะ คือ ก่อนฝึก ระหว่างฝึก และเมื่อสิ้นสุดการฝึก มีวิธีการวัดและประเมิน 3 วิธี คือ(1) วัดผลและการประเมินตนเอง โดยการติดตามดูอารมณ์ให้เท่าทัน (2) การสอบอารมณ์โดยพระวิปัสสนาจารย์ และได้รับข้อมูลย้อนกลับถึงผลแห่งการปฏิบัติ (3) การวัดด้วยเครื่องมือวัดผลเป็นแบบวัดความพึงพอใจและความคิดเห็น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The three objective of this research were 1) to study the Buddha’s method of teaching based on Buddhism principles for different ages in meditation center 2) to study a teaching process of insight meditation based on Buddhist psychology for different agesand 3) to present a teaching process of insight meditation based on Buddhist psychology for different ages. A qualitative research method was employed and the results of the Buddha’s method of teaching based on Buddhism principles documents study were used as guidelinefor the area surveying and observing. The data was collected fromBuddhist meditation master,youth practitioners (age not over 18 years) and adult practitioners (age over 18 years) by in-depth-interview and focus group discussion. Data were analyzed by content analysis and synthesis .Findings of Research were as follows:
1. TheBuddha’smethod of teaching based on Buddhism principles for different ages in meditation center include
1) Topics andcontents: Starting from easy to difficult levelunderstanding story, comparable empirical real stories as examples, to point out the cause and effect of the story and the benefits that the listener can use to suit the different ages
2) Main teaching methods and styles for different ages consist of
(1) Clearly explanation
(2) Motivation to conform and inspiration to brave
(3) To have interactions
(4) To set rules for learning
(5) Matching with the intrinsic nature of a person and ripeness of spiritual faculties / wisdom of the listener
(6) Teaching to follow
2. A teaching process of insight meditation based on Buddhist psychology for different agescovering various issues include
1) Content used to teach: in youth groups will emphasize the content of the principles rather than the dharma practice;conversely, adult groups will give more proportion of dharma practice than the content of principle
2) Teaching steps: In youth groups will lead by using group activities, single activity and supplemented by Dharma lecture respectively while the adult group starts with a single activity, Dharma lecture and group activities respectively. Methods and techniques that used as important activities for the adult group in the general meditation center are praying, morning-evening chanting, mediation, listening to Dharma lectures and verbal closure
3) Measurement and evaluation: The measurement and evaluation in youth group depends on the discretion of the lecturer or mentor because there are various methods according to the development of children's learning at each age. In general, measurement and evaluation are divided into 3 steps: during the activities, activities ending and follow-up after repeated activities. The measurement and evaluation in adults are the examination of experience meditation, emotional perception, behavior observation and self-assessment from mediation master’s feedback
3. A teaching process of insight meditation based on Buddhist psychology for different ages in the overall picture consists of 5 steps in the following order:
1) 5 morality for instructorsare (1) Teaching in order(2) Giving reasons(3) Having mercy(4) Not to care a bribery (5) Not to affect others
2) 5suitableagegroup,classifyinglearnersaccordingtoageandDharma practice experienceare 3 sessions of youth group; aged below 12 years old, aged 12-15 years old, aged 13 to 18 years old and 2 sessions of adult group; working age and elderly
3) The selection of appropriate content according to the learner's age
4) Teaching operation: In youth group use Dharma lecture, group activities and single activities. There are 9 techniques in adult group as follows(1) consistent with the intrinsic nature of a person(2) Clearly explanation(3) Starting from easy to difficult and wide to deep (4) Allowing to ask back (5) motivating to believe in (๖) inspiration to brave(7)slow learners can catch up(8) Self-practicing (9) creating participation in learning
5) There are 3 stages of measurement and evaluation which are before training, during training and at the end of training. There are 3 methods of measurement and evaluation which are (1) self- measurement and evaluation by keeping track of emotions(2) the examination of experience meditation and feedback from mediation master (3) measurement tools is a measure of satisfaction and opinion
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.19 MiB | 265 | 10 มิ.ย. 2564 เวลา 21:28 น. | ดาวน์โหลด |