โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Personnel’s Work Performance Enhancement of Bangkapi District Office, Bangkok Metropolis
  • ผู้วิจัยพระมหาขวัญชัย อติชาโต
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.รัฐพล เย็นใจมา
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธวัชชัย สมอเนื้อ
  • วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/6139
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 104
  • จำนวนผู้เข้าชม 150

บทคัดย่อภาษาไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลัก
อิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
3.
เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่เป็นข้าราชการ และลูกจ้างของสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น คำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 279 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ทำการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.38 S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านฉันทะ (ความพอใจ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.44 S.D. = 0.65) รองลงมา ด้านวิริยะ (ความเพียร) มีค่าเฉลี่ย (x ̅  = 4.38 S.D. = 0.67) ด้านจิตตะ (ความตั้งใจ) มีค่าเฉลี่ย (x ̅  = 4.36 S.D. = 0.68) และด้านวิมังสา (ความไตร่ตรอง) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x ̅  = 4.32 S.D. = 0.70)

2. หลักอิทธิบาทธรรมมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับที่สูงมาก กล่าวคือ เมื่อบุคลากรปฏิบัติงานโดยบูรณาการเข้ากับหลักอิทธบาทธรรม การปฏิบัติงานก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. ปัญหาและอุปสรรคต่อพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครพบว่า 1) บุคลากรได้นำหลักธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน แต่อาจยังไม่มากเพียงพอจึงทำให้เป็นสาเหตุของการทำงานที่เฉื่อยชาไม่กระตือรือร้น
2) พนักงานหนึ่งคนรับผิดชอบงานหลายด้าน ขาดความรู้ความสามารถในงานที่ตนเองรับผิดชอบ
ทำให้งานล่าช้า ผิดพลาด 3)
เมื่อพบข้อบกพร่องของงานแต่ไม่รีบนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานครั้งต่อไป ทำให้มักเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้อีก ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน 2) การบริหารจัดการงานควรมีรูปแบบใหม่ๆ บ้าง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความท้าทายในงานและเกิดความกระตือรือร้นที่จะทำงาน สร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ ให้บุคลากร 3) มีกิจกรรมกระตุ้นการทำงานให้กับบุคลากร ควรตั้งเป้าหมายและความตั้งมั่นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ งานที่ดำเนินการอยู่ให้จิตใจจดจ่อในงาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Abstract

Objectives of this research were: 1. To study the level of personnel’s working proficiency of Bangkapi District, Bangkok Metropolis, 2. To study relationship between Itthipada-dhamma and personnel’s work proficiency of Bangkapi District, Bangkok Metropolis, and 3. To study problems, obstacles and recommendations for Buddha-dhamma integration for personnel’s work proficiency enhancement of Bangkapi District, Bangkok Metropolis. Methodology was the mixed methods. The qualitative research collected data by in-depth-interviewing 10 key informants, analyzed data by content descriptive interpretation. The data used to support the   quantitative research that used questionnaire to collect data from 279 samples using Taro Yamane's formula from the personnel who were government officers and employees of Bangkapi District, Bangkok Metropolis Data were analyzed by statistics of frequency, percentage, mean and standard deviation and analyzing the correlations between Itthipada-dhamma and personnel’s work proficiency of Bangkapi District, Bangkok Metropolis with Pearson’s Correlation Coefficient

Findings were as follows:

1. Buddha-dhamma integration for personnel’ work proficiency of Bangkapi District, Bangkok Metropolis, the work performance by Itthipada-dhamma, by overall, was at high level (  = 4.38 S.D. = 0.63). Each aspect was also found that; Chanta, aspiration, had the highest mean, at the highest level (  = 4.44 S.D. = 0.65). Secondly, Viriya, patience, had the mean at the high level (  = 4.38 S.D. = 0.67). Chitta, attention, had the mean at high level (  = 4.36 S.D. = 0.68) and Vimamsa, examination, had the lowest mean but still at high level (  = 4.32 S.D. = 0.70)

2. Itthipada-dhamma had positive correlation with personnel’s work proficiency of Bangkapi District, Bangkok Metropolis at statistically significant level at 0.01, the highest correlation. That is to say the more the officers apply Itthipada-dhamma, the more personnel’s work proficiency will be efficient.

3. Problems, obstacles of Itthipada-dhamma integration for personnel’s work proficiency enhancement of Bangkapi District, Bangkok Metropolis was found that; 1) personnel integrated Itthipada-dhamma in work performance, but not at the high level, so that the work performance was still slow, not active, and enthusiastic. 2) one person was responsible for many jobs and still lacked knowledge of the responsible works, causing many mistakes,3) when error was found, it was not used for correction for the next performance causing the error occurred repeatedly.

Recommendations: 1) There should be clear knowledge and understanding of work performance by integrating Buddha-dhamma for the personnel, 2) there should be new methods of work administration to create challenges for the personnel to be more active and enthusiastic, creating new working culture for the personnel, 3) there should be activities arousing personnel to work. The target of success should be set so that the personnel would pay attention to the work.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6401204103 6401204103 7.38 MiB 104 19 ก.ย. 2566 เวลา 13:55 น. ดาวน์โหลด