-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTrisikkha Integration for Human Resource Development of the Office of Educational Service Areas, Ratchaburi Province
- ผู้วิจัยนางวีนัส ธรรมสาโรรัชต์
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
- วันสำเร็จการศึกษา07/09/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/6144
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 58
- จำนวนผู้เข้าชม 81
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 181 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.933 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับได้ดังนี้ 1) การพัฒนาตนเองทางวิชาชีพ โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับองค์กรและระดับเครือข่าย พัฒนาสมรรถนะและพัฒนาปฏิบัติตนตามหลักการครองตน ครองคน ครองงาน 2) มีจิตวิญญาณความเป็นครู โดยแสวงหาความรู้ มุ่งมั่นในการทำงานเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล มีจิตวิญญาณความเป็นครูเพื่อประโยชน์ต่อลูกศิษย์ 3) ศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน โดยมีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือ สอดคล้องกับความสนใจ ความต้องการ ความถนัด และความแตกต่างระหว่างบุคคล 4) ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยสามารถใช้โปรแกรมเพื่อสร้างสื่อดิจิทัลได้อย่างดี มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ และมีจริยธรรม และ 5) ทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีทักษะในการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหา การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน มีการบริหารความสมดุลย์ในชีวิตสร้างความมั่นใจในตัวเอง
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี พบว่า 1) กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับตามสมการดังนี้คือ การพัฒนา การฝึกอบรม การศึกษา โดยสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี ได้ร้อยละ 70.0 (Adjusted R2=0.700) 2) หลักไตรสิกขาส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี 2 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเรียงลำดับตามสมการดังนี้คือ ปัญญา (องค์ความรู้) และศีล (พฤติกรรม) โดยมีเพียง สมาธิ (จิตใจมุ่งมั่น) โดยสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี ได้ร้อยละ 13.9 (Adj. R2=0.139)
3. การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี มีดังนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี ทั้ง 5 ด้านประกอบด้วย ศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน ทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาตนเองทางวิชาชีพ และมีจิตวิญญาณความเป็นครู โดยนำหลักไตรสิกขาเข้ามาบูรณาการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย 1. ศีล : พฤติกรรม โดยประพฤติ ปฏิบัติในทางที่ดีทั้งทางกาย วาจา และใจ มีระเบียบ วินัย ความผิดชอบและตรงต่อเวลา 2. สมาธิ : จิตใจมุ่งมั่น โดยปฏิบัติงานโดยเอาใจฝักใฝ่ตรวจสอบผลงานอยู่เสมอ ปฏิบัติหน้าที่โดยความตั้งใจและอดทนต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทำวัตร สวดมนต์เพื่อให้จิตใจสงบสุข 3. ปัญญา : องค์ความรู้ โดยยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีสติและแก้ไขโดยใช้หลักเหตุผล ปฏิบัติขัดเกลากิเลสลดความโลภ โกรธ หลง ทำงานแบบรู้จริง ลงมือปฏิบัติ และสัมผัสผลลัพธ์ที่ดี โดยบูรณาการกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี ทั้งด้านการศึกษา ด้านการฝึกอบรม และด้านการพัฒนา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were: 1. To study the human resource development of the Ratchaburi Educational Service Area Office. 2. To study the factors affecting the human resource development of the Ratchaburi Educational Service Area Office. 3. To propose the model of TiSikkha principles integration for human resource development of the Office of Educational Service Area, Ratchaburi Province, conducted by the mixed research methods. The quantitative research collected data from 181 samples using a questionnaire with a reliability value of 0.933. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The qualitative research was a field study by using in-depth interview method to collect data from 18 key informants and 9 participants in focus group discussion focus group discussions to confirm the knowledge after data synthesis.
Findings were as follows:
1. Human resource development of the Office of Educational Service Area, Ratchaburi Province, was found that, by overall, was at high level, sorted as follows: 1) Professional self-development by exchanging knowledge together at the organizational and network level, developing competencies and oneself according to the principle of self-dominance, man-dominance, work-dominance. 2) Having the spirit of being a teacher, by seeking knowledge, commitment to work to achieve results, having teacher spirit for the benefits of students, 3) Potential in teaching and learning by having knowledge and ability to organize student-centered learning activities in a cooperative way in line with interest, needs, aptitude and individual differences, 4) Knowledge and ability to use digital technology, being able to use programs to create digital. modern efficient, creative and ethical media as well; and 5) Duty operational skills with the skills to work as a team, problem solving, communication with supervisors and colleagues with balance management in life to build self-confidence.
2. Factors affecting the human resource development of the Ratchaburi Educational Service Area Office were found that 1) the human resource development process affected the human resource development of the Ratchaburi Educational Service Area Office in 3 aspects with statistically significant value. at 0.01 level, sorted by the following equation: development, training, education, which could jointly predict the human resource development of the Office of Ratchaburi Educational Service Area at 70.0 percent (Adjusted R2=0.700). 2) Tisikkha or the threefold Training principle affected human resource development of the Ratchaburi Educational Service Area Office in 2 aspects with statistically significant value at 0.05 level, ranked according to the following equation: Pannă, (knowledge) and Sila, (behaviour). with only Sammădhi (focused mind) which could jointly predict the human resource development of the Ratchaburi Educational Service Area Office at 13.9 percent (Adj. R2=0.139).
3. The Tisikkha principle integration for human resource development of the Ratchaburi Educational Service Area Office was as follows: Human resource development of the Ratchaburi Educational Service Area Office consisted of 5 aspects, consisted of: Potential for teaching and learning, functional skills, knowledge and ability to use digital technology, professional and self-development with the spirit of being a teacher, by integrating the Tisikkha principles for the human resource development of the Ratchaburi Educational Service Area Office, consisted of 1).Sila; behavior by behaving in a good manner, both physically, verbally and mentally, self-discipline, responsibility and punctuality, 2. Samădhi; concentration, determination. by working with intension, always checking the work. perform duties with determination and patience in the assigned duties, performing observances, and chant to keep the mind at peace. 3. Panyă: Knowledge by accepting changes., consciously and logically solved, practicing purification of passions, reducing greed, anger, delusion, working with real knowledge, taking action, and experiencing good results. In addition, it also relied on the human resource development process for human resource development of the Office of Educational Service Area in Ratchaburi Province, in education, training and development.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6401104219 | 6401104219 | 7.14 MiB | 58 | 13 ก.ย. 2566 เวลา 07:31 น. | ดาวน์โหลด |