-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาประเพณีแซนผีปู่ตาของชาวบ้านโสน ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Ancestral Sacrifice Tradition in Sano Sub-District, Khukhan District, Sisaket Province
- ผู้วิจัยพระอธิการคำผง ขนฺติโก (พรมชาติ)
- ที่ปรึกษา 1พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม
- วันสำเร็จการศึกษา18/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/622
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,248
- จำนวนผู้เข้าชม 623
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรมการแซนผีปู่ตา เพื่อศึกษาประเพณีแซนผีปู่ตาของชาวบ้านโสน ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อศึกษาคุณค่าและอิทธิพลของประเพณีแซนผีปู่ตาที่มีต่อชาวบ้านโสน ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยได้ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก ตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏในแหล่งข้อมูลต่างๆ ตลอดถึงได้ลงสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีการประกอบพิธีแซนผีปู่ตา และได้เข้าสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมตลอดถึงได้ทำการสัมภาษณ์ พ่อจ้ำผู้ประกอบพิธีกรรม ผู้ร่วมในพิธีกรรม ที่มีการจัดขึ้นในชุมชน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลวิจัยพบว่าความเชื่อเกิดจากปัญหาในการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยเข้าใจว่ามีอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติบันดาลให้เป็นไป จึงมีการทำให้อำนาจเหนือธรรมชาตินั้นพอใจ เมื่อปัญหาคลี่คลาย จึงแสดงความกตัญญูกตเวทีด้วยการเซ่นสรวงบูชา หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ความเชื่อถืออย่างนี้เรียกว่า “คติผีสางเทวดา” ซึ่งเป็นคติศาสนาดั้งเดิมก่อนวิวัฒนาการมาเป็นคติศาสนาดังเช่นปัจจุบัน
สมัยก่อนพุทธกาลประชาชนที่อยู่ในดินแดนไทยปัจจุบันมีความเชื่อตามคติถือผีสางเทวดาหรือวิญญาณ นิยมว่าวิญญาณมีอยู่จริง มีการทำพิธีบวงสรวงเพื่อขอความอารักขาในกิจการที่ตนทำ ดังนั้นระบบความเชื่อจึงมีอยู่และสอดแทรกในวิถีชีวิตโดยผสมผสานเข้ากับหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
พิธีกรรมแซนผีปู่ตาของชาวอีสานถือเป็นธรรมเนียมที่ทุกชุมชนต้องปฏิบัติโดยจะกำหนดเขตพื้นที่ป่าส่วนหนึ่งให้เป็นพื้นที่พำนักของผีปู่ตาโดยเลือกพื้นที่ที่มีสภาพป่าหนาทึบร่มครึ้มมีสัตว์ป่าชุกชุมและมีพรรณไม้หลากหลายที่เป็นเนินโคกหรือดอนน้ำท่วมไม่ถึงโดยสร้างโรงเรือนเล็กๆ หรือศาล(ตูบ) ให้อยู่มีความสำคัญเพื่อให้ผีหรือวิญญาณได้อยู่อาศัยเป็นที่เคารพบูชา เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ทำให้จิตใจดี เพื่อการเสี่ยงทาย ผลพลอยได้คือเกิดความสนุกสนานรื่นเริง ในขณะบวงสรวงคือมีการฟ้อนรำ สนุกสนาน เกิดความสามัคคีในชุมชนมีองค์ประกอบคือ ตูบผีปู่ตา ผู้เซ่นผีปู่ตาหรือพ่อจ้ำ ผู้เซ่นเครื่องเซ่น นิยมจัดขึ้นในวัน 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
หมู่บ้านโสน เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลโสน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นชาวลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐาน การอพยพมาได้นำพาศาสนา ความเชื่อ และประเพณีมาด้วย ในพิธีกรรมการแซนผีปู่ตาได้ผสมผสานทั้งสามสิ่งนี้เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน และชาวบ้านได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันพิธีกรรมจัดขึ้นที่ศาลปู่ตา มุ่งหมายเพื่อเป็นที่เคารพสักการ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจในการดำเนินชีวิต เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหารเพื่อความความเป็นระเบียบ ความสามัคคี ความมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามจัดขึ้นในเดือน 3 และเดือน 6 ของทุกปี
ประเพณีแซนผีปู่ตาของชาวบ้านโสน ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีคุณค่าและอิทธิพลต่อชาวบ้านโสน เชื่อว่าข้าวปลาอาหารจะอุดมสมบูรณ์เป็นที่เคารพสักการ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจในการประกอบสัมมาอาชีพ ในการดำเนินชีวิตมีความหวงแหนทรัพยากรและถิ่นฐาน เกิดความเป็นระเบียบ ความสามัคคี ความมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และรักษาไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis aimed to study the belief and rite performed to offer sacrifices to spirits (the rite performed to offer sacrifices to grandfather ghosts), to study the belief and tradition performed to offer sacrifices to spirits of Sano villagers in Sano sub-district, Khukhan district, Sisaket province and to study value and influence of the rite performed to offer sacrifices to grandfather ghosts of Sano villagers in Sano sub-district, Khukhan district, Sisaket province. The research was conducted with qualitative research technique and its methodology was based on studying from Tripitaka (Buddhist scriptures), documents, and related research studies shown in different data sources including making a field trip to survey and collect data in the areas that the rite is performed, participatory observation, interviewing a person who acts as a leader of the sacrifice (called Por Jam) in the community. In-depth interview was used in the research methodology.
The research results found that the belief was from problems in living a life of people. They understood that a mystery power above nature is the cause of what and how things are. Therefore, they should do something to please that power. Once problems were solved, they expressed their gratitude by offering sacrifices or perform different rites. Such belief is called “attitude towards spirits and angels” which was religious attitude in the ancient times before evolved to be current religious attitude.
Before Buddhist era, people living in the land called Thailand at present had belief based on attitude towards spirits and angels. It was widely believed that spirits really existed and rites were performed to sacrifice in order to ask for guardian or protection for all activities that they did. Thus, the system of belief is maintained and intervened in the way of life by blending to daily life practices.
The grandfather ghost rite of people in the northeastern part of Thailand (Isan) is the tradition that all communities have to practice by expecting a part of forest areas to be a place for grandfather ghosts to stay. The chosen area must be thick forest where many wild animals are living with a lot of diversified plants. The place has to be a mound or highland that cannot be flooded. A small house or spirit house (Toob) is built so that ghosts or spirits can live in and people come to make worship and it is going to be a place where a rite can be performed to nurture people’s minds or for fortune telling. Moreover, this can lead to enjoyment as during the sacrifice is offered, dances and amusement take place which enable harmony in communities. The components in the rite are a spirit house of grandfather ghosts (Toob of grandfather ghosts), a person who acts as a leader of the grandfather ghosts sacrifice (Por Jam), and other people who provide things used in the sacrifice. The rite is typically held on the 3rd day of the waxing moon on the 3rd Thai lunar month of every year. Sano village is one of villages in Sano sub-district. It is located in the southwest of Khukhan district in Sisaket province. People in the village are Laotians who evacuated to settle down. The evacuation of Laotians at that time brought religion, belief and tradition with them. The rite of sacrificing grandfather ghosts blends all these beliefs and villagers have kept practiced this until today. The rite is held at the spirit house of grandfather ghosts aiming to make worship and used as a spiritual anchor for living a life, for maintaining fertility of food, for peace and order, for unity and social responsibility. In order to carry on good tradition and nice culture, the rite is held on the 3rd and the 6th of Thai lunar month every year.
The rite of sacrificing grandfather ghosts of villagers living in Sano village, Sano sub-district, Khukhan district in Sisaket province has value and influence on the villagers. By doing this, it is believed that agricultural products will be fruitful. The traditional rite is greatly respectful and acts as a spiritual anchor for earning a living and living a life. It encourages a sense of protection and belonging in resources and hometown, peace and order, harmony, sense of social responsibility, and maintaining nice tradition and beautiful culture.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 4.38 MiB | 1,248 | 11 มิ.ย. 2564 เวลา 05:53 น. | ดาวน์โหลด |