โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมหลักสังฆสามัคคีในพระพุทธศาสนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Promotion of Sangha Harmony Principles in Buddhism
  • ผู้วิจัยพระวิรัตน์ ปภสฺสโร (ขาวสะอาด)
  • ที่ปรึกษา 1พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  • วันสำเร็จการศึกษา30/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/623
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 438
  • จำนวนผู้เข้าชม 316

บทคัดย่อภาษาไทย

               วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความสามัคคีในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมเพื่อความสามัคคีในพระพุทธศาสนา 3) การประยุกต์หลักธรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในพระพุทธศาสนา การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยทางเอกสาร โดยเก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า

               แนวคิดเกี่ยวกับหลักความสามัคคีในพระพุทธศาสนา กล่าวถึงลักษณะของความสามัคคีใน 3 ลักษณะ คือ สังฆราชี (ความร้าวฉานของหมู่คณะ) สังฆเภท และ สังฆสามัคคี หมายเอาการตั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตาในมิตรสหายและคนทั้งหลายในสังคม ความสามัคคีเป็นการแสดงออกซึ่งการร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ความสามัคคีจะก่อให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียวกันและก็สามารถปฏิบัติงานทุกอย่างได้สำเร็จ

              การสร้างความสามัคคีของสังคม โดยหลักพุทธรรมในการสร้างความปรองดอง หรือความสามัคคีกัน เช่น หลักสังคหวัตถุ หลักสาราณียธรรม หลักอปริหานิยธรรม เป็นฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติทั้งด้านส่วนตัวและสังคมส่วนรวม เป็นสื่อสัมพันธ์ให้เข้าถึงจิตใจของกันและกัน เป็นที่รักของกันและกันต่างฝ่ายต่างเคารพซึ่งกันและกัน สงเคราะห์กัน ถือความสามัคคีเป็นใหญ่ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

              การประยุกต์หลักธรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในพระพุทธศาสนาเป็นการเชิญชวน ทุกคนให้ทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ไม่ฝืนทำอะไรตามใจหรือตามกิเลส ตัณหาของตนและเมื่อทุกคน ทุกฝ่าย และทุกคณะในสังคมไม่มีความขัดแย้งกัน มีแต่ความสามัคคีปรองดองกันแล้ว การปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตร่วมกันจะช่วยส่งผลให้สังคมไทยมีความสงบร่มเย็น บ้าน ชุมชน สังคม และประเทศชาติที่น่าอยู่อาศัยด้วยผลแห่งความสามัคคี

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The aims of this research were: 1) to study the concepts of harmony in Buddhism; 2) to study the principles of harmony in Buddhism; 3) to apply the dhamma principles of harmony in Buddhism. This study was conducted by the documentary research collecting the data from the Tipiaka, books, documents and relevant research. The research results were as follows:

               The concepts of the harmony principles in Buddhism are related to the harmony in three characteristics: Sangharājī (dissolution of the group); Sanghabheda (divisions of monks) and Sanghasāmaggī (harmony of monks) that refer to the physical, vocal and mental conducts composed of loving kindness (mettā) among the friends and people in the society. Harmony is an expression of cohesion to perform the task efficiently with mutual sympathy and unity which will create love and harmony and ability to perform works successfully.

               To create the harmony in the society by using the dhamma principles of the rapport or harmony such as the bases of social solidarity (sagahavatthu), states of conciliation (sāraīyadhamma) and the condition of welfare (aparihāniyadhamma) is the behavioral base of oneself and society to build the mutual relationship, love and respect, harmony and single mind.

              The application of dhamma to promote the harmony in Buddhism is to ask every party to complete their duties with carelessness against the defilement or desire. When everyone, every department and every faculty in the society has no conflict, there is only harmony. The practice of the dhamma principles to be applied as a way of living together will help to make Thai society home, community, society and nation peaceful and livable. This is the result of harmony.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.11 MiB 438 11 มิ.ย. 2564 เวลา 05:57 น. ดาวน์โหลด