-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการศึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาในโรงเรียนวิถีพุทธ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEducational Management Following Buddhist Psychology in Buddhist Oriented School
- ผู้วิจัยนายสมชาย บุญสุ่น
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.ประยูร สุยะใจ
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา04/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/624
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 462
- จำนวนผู้เข้าชม 489
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1 ประการ คือ 1) เพื่อสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาในการจัดการศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธ 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการศึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาในโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาในโรงเรียนวิถีพุทธ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือครูและผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 13 คน จาก 8 โรงเรียน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และตรวจสอบรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแนวคำถามในการสัมภาษณ์ และแบบตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาในโรงเรียนวิถีพุทธ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. ผลการสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาในการจัดการศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธคือ ด้านปัจจัยจูงใจประกอบด้วยความต้องการพัฒนาตนเองคือ 1) การพัฒนาด้านจิตใจ 2) การพัฒนาด้านร่างกาย 3) การพัฒนาด้านอารมณ์ 4) การพัฒนาด้านสติปัญญา 5) การพัฒนาด้านสังคม 6) การพัฒนาด้านความรู้ 7) การพัฒนาตนเองสู่ความต้องการของตลาดแรงงาน ด้านปัจจัยค้ำจุนคือนโยบายและการบริหารจัดการศึกษา ความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านสวัสดิการการส่งเสริมการศึกษา การจัดสรรงบประมาณในการจัดการศึกษา สื่อวัสดุ-อุปกรณ์ การเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล
2. ผลการวิเคราะห์การจัดการศึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาในโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ประกอบด้วย ด้านกายภาพมีพระพุทธรูป บรรยากาศร่มรื่น สะอาด สงบ ปลอดอบายมุข ด้านกิจกรรมพื้นฐานของวิถีชีวิตประกอบด้วยรักษาศีล 5 ยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม ด้านการเรียนการสอนมีการบูรณาการหลักพระพุทธศาสนาสู่การจัดการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์มีการเรียนการสอนอย่างกัลยาณมิตร ด้านการบริหารคือการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
3. รูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาในโรงเรียนวิถีพุทธคือการจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนอย่างเป็นกัลยาณมิตรโดยมีไตรสิกขาเป็นกระบวนการผ่านบ้าน วัด โรงเรียน และนำมาบูรณาการเพื่อนำไปสู่การที่เด็กเป็นคนดี เป็นคนเก่งและมีความสุข โดยที่การจัดการเรียนการสอนนั้นต้องมีความเป็นกัลยาณมิตรกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ด้วยการผ่านการบริหารคน เงิน อุปกรณ์ การจัดการอย่างเป็นระบบ (M: Management) รวมทั้งมีการจัดการเรียนรู้ (L: Learning) วิธีการสอน 5 ขั้นคือ ขั้นนำ ขั้นกิจกรรม ขั้นวิเคราะห์และอภิปราย ขั้นสรุปและนำหลักการไปประยุกต์ใช้ และขั้นประเมินผล และวัดประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้โดยมีปัจจัยสนับสนุน (S: Supporting) ได้แก่ ห้องเรียนที่มีสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้คือสะอาดถูกสุขลักษณะน่าอยู่ สีสันน่าดูและเหมาะสมสบายตา บรรยากาศปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี บรรยากาศความเป็นอิสระของการเรียน การทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถสรุปได้เป็น “MLS Model สำหรับพุทธจิตวิทยาการจัดการศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
There were three objectives of this dissertation which were 1) to synthesize the Buddhist principles and psychology in the management of Buddhist schools; 2) to analyze the good practice of the Buddhist education in Buddhist oriented school; and 3) to propose the educational management model according to Buddhist psychology in Buddhist oriented school. Research methodology was a qualitative research using in-depth interview with 13 key informants who were teachers and principals from eight Buddhist oriented schools. Purposive sampling was used for the selection. The validation of developed model was assessed by seven experts. Content analysis and analytic induction were used for data analysis.
Results of the research were as follows:
1. Synthesized results of Buddhist principles and psychology in educational management at Buddhist oriented school indicated that factors of motivation for need of self-development consisted of 1) mental development, 2) physical development, 3) emotional development, 4) intellectual development, 5) social development, 6) knowledge development, and 7) self-development to the needs of the labor market. For supporting factors, there were policy and educational management, relationship with the community, education promotion, the budget allocation to education, materials - equipment learning, and learning activities, curriculum and instructional process, and measurement and evaluation.
2. Analyzed results of the good practice of the Buddhist education in Buddhist oriented school consisted of the physical aspects of the Buddha image, good environment, clean, calm and safety. The basic activities of the way of life consisted of keeping the 5 precepts with simple smile and beautiful deeds. Learning the way of life by integrating the principles of Buddhism into the teaching and learning was also applied. The atmosphere and interaction were taught in a pleasant way and friendly. Management was encouraged parents and community for the participation with continuous and systematic.
3. The model of educational management in Buddhist Psychology in Buddhist oriented schools was the teaching and learning based on the principles of Buddhism under the participation of parents and community with friendly. There were three parts consisted of the house, the temple and the school integrating the threefold training process into the children to be good, excellent and happy. The teaching and instruction should be full of friendly between house, temple and school with the management process of man, budget, material and systematic management (M). For learning (L) and instruction, five steps of teaching methods were applied, and there were introduction, activities, analysis and discussion, conclusion, and assessment. For supporting factors of the learning behavior assessment, it consisted of clean and appropriate classroom for learning environment including independent learning and collaborative learning activity with code of conduct. MLS Model for Buddhist Psychology of educational management in Buddhist oriented school was proposed
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 5.93 MiB | 462 | 11 มิ.ย. 2564 เวลา 07:27 น. | ดาวน์โหลด |