โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนครตามแนวพุทธจิตวิทยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Political Participation in Democracy of Sakol Nakhon Inhabitants Based on Buddhist Psychology
  • ผู้วิจัยนายนิยม เวชกามา
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สมโภช ศรีวิจิตรวรกุล
  • วันสำเร็จการศึกษา11/02/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/632
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 2,180
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,036

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาเกี่ยวกับการ มีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนคร 2) เพื่อสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาเกี่ยวกับแนวทางการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนคร 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนครตามหลักพุทธจิตวิทยา การวิจัยนี้เป็นแบบผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 ท่าน และการสนทนากลุ่ม ส่วนการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Random Sampling Method การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนําเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean:) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)

ผลการวิจัยมีดังนี้

1.จากการวิเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนคร พบว่า 1) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนทำหน้าที่เป็นสภาใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการด้วยตนเอง โดยมีความคิด พูด และทำด้วยเมตตาต่อกัน กระจายผลประโยชน์ ปฏิบัติตามระเบียบวินัยและกฎหมาย รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเคารพความคิดที่แตกต่าง 2) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยอ้อม ประชาชนเลือกผู้แทนไปใช้อำนาจนิติบัญญัติ และบริหารแทนตนผ่านการเลือกตั้งด้วยความรู้รักสามัคคี ปรารถนาดีและหวังประโยชน์สุขร่วมกัน 3) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองและการบริหารในเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและวิถีชีวิตของตนในรูปของภาคพลเมืองหรือผ่านตัวแทนตามหลักสาราณียธรรม และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแบบถกแถลง เป็นกระบวนการสำคัญของประชาธิปไตยภาคพลเมืองในรูปของประชาธิปไตยชุมชน เป็นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากข้อบกพร่องของประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่เป็นรูปแบบสถาบันที่ตายตัว ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีความซับซ้อน และมีความแตกต่างหลากหลายให้มีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันด้วยไมตรีจิต

2.จากการสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาเกี่ยวกับแนวทางการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนคร พบว่า แนวทางการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวจังหวัดสกลนครตามแนวพุทธจิตวิทยาด้านการมีส่วนร่วมโดยตรง ด้านการมีส่วนร่วมโดยอ้อม ด้านการมีส่วนร่วมแบบแบการมีส่วนร่วม และด้านการมีส่วนร่วมแบบถกแถลงตั้งอยู่บนหลักเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม คิดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน กระจายผลประโยชน์หรือทรัพยากรทั่วถึงกัน  เคารพระเบียบวินัย กฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน และเคารพความคิดของผู้อื่นและรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างด้วยเมตตา

3. จากการวิเคราะห์รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนครตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า           

    1) รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนครโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.61 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยอ้อม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๖๘ รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.62 ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.59 และน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบถกแถลง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.57

    2) รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนครพิจารณาตามลำดับความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ลำดับความต้องการในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองเพราะมีความต้องการความมั่นคงในการทำงานและการมีชีวิตอยู่อย่างมั่นคงในชุมชน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองเพราะมีความต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากคนในหมู่บ้านค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 น้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองเพราะมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้มีความรู้เกี่ยวกับการเมืองให้ดีที่สุดค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.99

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study entitled ‘A Model of Political Participation in Democracy of Sakol Nakhon Inhabitants Based on Buddhist Psychology’ is of the following objectives:  1)  to analyze the Buddhadhamma and psychological principles of political participation in democracy of Sakol Nakhon inhabitants; 2) to synthesize the Buddhadhamma and psychological principles of the model constructing methods of the political participation in democracy of Sakol Nakhon inhabitants; and 3) to present a model of political participation in democracy of Sakol Nakhon inhabitants based on Buddhist Psychology. The study is a mixed methods research between a qualitative method and quantitative one in nature. For collecting qualitative data an In-depth interview is used to collect dta from 17 key informants and Focus Group Discussion is also used for collecting qualitative data.  A questionnaire is used to collect quantitative data from 398 respondents who are selected by a Random Sampling Method. For analyzing qualitative data a content analysis is employed and statistics including Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation is used.

The results of the study were as follows:

1. From analyzing  the Buddhadhamma and psychological principles of political participation in democracy of Sakol Nakhon inhabitants it found that 1)  in the direct democracy inhabitants acted as the parliament to spend parliamentary, administrative and judicial sovereignty themselves with kind thinking, speech and doing to each other, common interest distribution, common law and common resolution; 2) in the representative democracy inhabitants elected their represen- tatives to spend parliamentary and administrative sovereignty based on the principle of kind thinking, speech and doing to each other, common interest distribution, common law and common resolution; 3) in the participatory democracy they had the decision making power of the key issues affecting their own living quality and course based on states of conciliation or virtues for fraternal living; and 4)  in deliberative democracy it was the important politic process of public sector in the form of a democratic community to solve the problems of  the representative democracy that could not respond to the people’s complicated and multi-different needs with the solidarity based on virtues for fraternal living.  

2. With regard to the synthesizing of the Buddhadhamma and psychological principles of the model constructing methods of the political participation in democracy of Sakol Nakhon inhabitants it found that the model constructing methods of the political participation in democracy of Sakol Nakhon inhabitants based on Buddhist Psychology in terms of direct, representative, participatory and deliberative democracy based on the principles of being amiable in deed, word and thought, sharing any lawful gains with virtuous fellows, keeping without blemish the rules conduct and being endowed with right views along with their fellows.  

3. Regarding a model of political participation in democracy of Sakol Nakhon inhabitants based on Buddhist Psychology it revealed as follws:

    1) A model of political participation in democracy of Sakol Nakhon inhabitants based on Buddhist Psychology was generally moderate with a mean value of 2.61, while considering in each aspect it found that  the highest was the representative democracy with a mean value of 2.68, a runner-up was the direct democracy with a mean value of 2.61, the participatory democracy with a mean value of 2.61 and the least was the deliberative democracy with a mean value of 2.57.

    2) A model of political participation in democracy of Sakol Nakhon inhabitants based on a hierarchy of needs was generally high with a mean value of 4.11 while considering in each aspect it found that the highest was a political participation in democracy based on safety and security needs with a mean value of 4.34, a runner-up was social needs with a mean value of 4.24  and the least was self-actualization needs with a mean value of 3.99.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
5901103024 5901103024 2.68 MiB 2,180 11 มิ.ย. 2564 เวลา 15:02 น. ดาวน์โหลด