โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAdministration Development of Socio-Psychological Counseling Service of The Court of Justice
  • ผู้วิจัยนายสมาน ศิริเจริญสุข
  • ที่ปรึกษา 1ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา07/10/2566
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/6335
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 34
  • จำนวนผู้เข้าชม 63

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรม 2) ศึกษากระบวนการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรม และ 3) พัฒนาการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรมโดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยหาข้อสรุปจากการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 25 รูปหรือคน มีการวิเคราะห์ SWOT Analysis, TOWS Matrix และการสนทนากลุ่มเฉพาะโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ  

ผลการวิจัยพบว่า

1. บริบทในการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรม ได้นำมาใช้กับผู้ต้องหาและจำเลยในความผิดที่ไม่ร้ายแรงซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นคดียาเสพติด โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน โดยการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน 3 ระดับ คือ ในชั้นฝากขัง ในชั้นหลังศาลมีคำพิพากษาสำหรับจำเลยที่เคยเข้ารับคำปรึกษา และในชั้นหลังศาลมีคำพิพากษากรณีไม่เคยเข้ารับการปรึกษา

2. กระบวนการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรม ตัวแบบในการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรม มีประเด็นสำคัญใน 4 มิติ คือ วางแผน ดำเนินงาน ประเมินผล และสะท้อนกลับผล บนพื้นฐานปัจจัยสำคัญทางการบริหารจัดการ 3 ประการ คือ บุคลากร งบประมาณ และทรัพยากรหรือหลักการบริหาร โดยมีเป้าประสงค์ที่จะเป็นรูปแบบการบริหารจัดการคลินิกจิตสังคมของศาลยุติธรรมที่จะก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ให้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก

3. การพัฒนาการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรมโดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม 1) ด้านความพอใจ 2) ด้านความเพียรพยายาม 3) ด้านความมุ่งมั่น และ 4) ด้านความรอบคอบและรอบด้าน โดยมีการหนุนเสริมให้เกิดการพัฒนาการบริหารจัดการให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้อง และเป็นไปตามแนววิถีไทยวิถีพุทธ

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were:  1. To study the administrative context of Socio-psychosocial counseling service of the Court of Justice, 2. To study the process of administrative development of socio-psychosocial counseling service of the Court of Justice, and 3. To administrative development of socio-psychosocial counseling service of the Court of Justice by applying Itthipada-dhamma, conducted by the qualitative research method, collected data from  documents, In-depth interviews with 25 key informants, purposefully selected, analyzed data by  SWOT Analysis, TOWS Matrix and collected data from 9 participants in focus group discussion for more data to develop the administration socio-psychosocial counseling service of the Court of Justice. Data were analyzed by content descriptive interpretation.

Findings were as follows:

1. The administrative context of socio-psychosocial counseling service of the Court of Justice has been applied to convicts and defendants of non-serious offenses, almost all of which were drug offenses by considering the principles of human rights. Counseling for correction, treatment, rehabilitation, and behavior modification was available at 3 levels: in custody; In the latter stage, the court had a verdict for the defendant who previously attended counseling, and in the latter stage, the court had a verdict for the case of never attending counseling.

2. The process of administrative development of socio- psychosocial counseling service of the Court of Justice, the administrative model of socio-psychosocial counseling service of Courts of Justice consisted of 4 key dimensions: planning, implementing, evaluating, and results feedback, based on 3 key management factors: people, budget, and resources or management principles. The objective was to be a form of management of the socio-psychosocial clinic of the Court of Justice that will provide utility to the alternative justice process.

3. The administrative development of socio-psychosocial counseling service of the Court of Justice by applying Itthipada-dhamma, consisted of: 1) Satisfaction 2) Perseverance, 3) Commitment, and 4) Prudence and all-roundedness. It was supported to develop the administration to be appropriate, consistent and in accordance with the Thai way, the Buddhist way.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6001104028 6001104028 2.64 MiB 34 13 ต.ค. 2566 เวลา 12:26 น. ดาวน์โหลด