โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การปรับใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลพระสงฆ์ผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of the Buddhist Doctrines in Caring for the Elderly Monks of Sela Phum District, Roi-Et Province
  • ผู้วิจัยพระคงเดช ขนฺติสมฺปญฺโน (จันทร์ภักดี)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.สังเวียน สาผาง
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ไพฑูรย์ สวนมะไฟ
  • วันสำเร็จการศึกษา08/01/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/634
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 289
  • จำนวนผู้เข้าชม 337

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทางร่างกายและจิตใจของพระสงฆ์ผู้สูงอายุในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาการปรับใช้หลักพุทธธรรมแก้ปัญหาทางร่างกายและจิตใจของพระสงฆ์ผู้สูงอายุในอำเภอเสลภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับใช้หลักพุทธธรรมสำหรับดูแลพระสงฆ์ผู้สูงอายุในเขตอำเภอเสลภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์

ผลจากการวิจัยพบว่า พระผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สภาพร่างกายเสื่อมถอยความคล่องแคล่วว่องไวทางร่างกายช้าลง เพราะการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพกาลเวลา มีอารมณ์หงุดหงิด ความเชื่อมั่นในตัวเองลดน้อยลง วิตกกังวล และหวาดกลัวภัยต่างๆ นานา กลัวถูกทอดทิ้งจากพระสงฆ์ภายในวัด และญาติพี่น้อง สังคม ชุมชน  ความสำคัญของพระสงฆ์ผู้สูงอายุ เป็นพระเถระที่มีบุญคุณต่อญาติโยม ลูกหลาน ชุมชน สังคม และต่อประเทศชาติ เป็นที่พึ่งและร่มโพธิ์ร่มไทรของญาติโยม จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับญาติโยมและลูกหลานให้ดำรงคงอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป

จากการศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินชีวิตของพระผู้สูงอายุในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ปัญหาด้านร่างกายของพระผู้สูงอายุเป็นไปตามความเสื่อมของร่างกาย บางอย่างเกิดจากกรรมพันธุ์ทำให้เจ็บป่วย มีปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์ กลัวการอยู่คนเดียว บางคนเป็นโรคซึมเศร้า มักวิตกกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง  ปัญหาด้านความเป็นอยู่ของพระผู้สูงอายุ พระเถระบางรูปเจ็บป่วยไปร่วมกิจกรรมของคณะสงฆ์ไม่ได้ พระผู้สูงอายุบางรูปเกิดความขัดแย้งที่ไม่เข้าใจกันระหว่างญาติโยมผู้ใกล้ชิดกับพระผู้สูงอายุ พระผู้สูงอายุบางรูปชอบอยู่คนเดียวอยากช่วยเหลือตัวเองโดยไม่พึ่งลูกหลาน ปัญหาด้านความเป็นอยู่ภายในวัดและชุมชน ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาทางรายได้ เพราะรายได้จากบำนาญบ้าง จากการบิณฑบาตรบ้าง มีเบี้ยเลี้ยงยังชีพของผู้สูงอายุ ลูกหลานส่งเงินมาให้เป็นรายเดือน

หลักพุทธธรรมที่ใช้ดูแลพระสงฆ์ผู้สูงอายุจะนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้แก่ หลักไตรลักษณ์ เป็นหลักธรรมทีให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงในชีวิตและความไม่แน่นอนของชีวิต จิตใจก็ดีขึ้นเพราะไม่ยึดติดกับการเปลียนแปลงของชีวิต  หลักความไม่ประมาท ทำให้ไม่ประมาทไม่มัวเมาหลงใหลในวัตถุและกิเลสที่เข้ามาครอบงำจิตใจ ควรใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างมีสติ และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเดินทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา โดยการประพฤติปฏิบัติตามหลักพระไตรลักษณ์ในการพิจารณา ร่างกายและจิตใจของตนเองและภาวนามัย ตามสภาวะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ทำให้เข้าใจในชีวิตและโลกดีขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The thesis entitled “An Application of the Buddhist Doctrines in Caring for the Elderly Monks of Sela Phum District, Roi-Et Province” consists of three objectives, namely: 1) to study the physical and mental problems of the elderly monks in Sela Phum district, Roi-Et province; 2) to study an application of the Buddhist doctrines for solving physical and mental problems of the elderly monks in Sela Phum district, Roi-Et province; and 3) to study guidelines for applying the Buddhist doctrines in caring for the elderly monks of Sela Phun district, Roi-Et province. This is a qualitative research by studying the data from documents and interviews.

The results showed that the elderly monks are those aged 60 years and above whose physical condition deteriorates and physical agility slows down due to the changes with time. They usually are irritated, lack of self-confidence, anxious, afraid of various dangers, and afraid of being abandoned from monks inside the temple, relatives, society, and community. The importance of the elderly monk is being a senior monk who is like a benefactor to the descendants, communities, society, and the nation. The elderly monk is the protector, spiritual refuge, and who passes on the local knowledge to the descendants and people in the community.

From the study of problems of the ways of life of the elderly monks in Sela Phum district, Roi-Et province, it was found that the physical problems of the elderly monks are according to their physical deterioration. Some problems are caused by heredity causing illness. Some problems are caused by the mental and emotional problems of the elderly monks; for example, afraid of being alone, some have depression and usually feel anxious about what is happening to oneself. In terms of living conditions problems of the elderly monks; some senior monks are too sick to attend the Sangha affairs and activities, some have conflicts between each other leading to misunderstandings between the elderly monks and lay devotees, some prefer to be alone and rely on themselves rather than their descendants. In terms of living problems within temples and communities; most elderly monks do not have problems due to the income from pensions, an alms round, subsistence allowances for the elderly, and monthly allowances from their descendants.

The Buddhist doctrine for the elderly monks to apply for a living is the Three Characteristics (Tilakkhaa). It is the Dhamma helping one to understand the changes of the body and the impermanence of life. The mind becomes lighter and calmer when there is no attachment to the changes of life. The principle of heedfulness makes the elderly monks not negligent, not obsessive in the defilement and desires, live the final days of life with mindfulness and live a middle way life by conducting oneself according to the Three Characteristics in contemplating one’s body, mind, and mental development (Bhāvanāmaya) according to the reality for better understanding of life and the world

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.61 MiB 289 11 มิ.ย. 2564 เวลา 20:51 น. ดาวน์โหลด