โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์เชิงสัญญะที่ปรากฏในพิธีบุญผะเหวด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Signs in Bun Pha Vet Ceremony of Thawat Buri District, Roi-Et Province
  • ผู้วิจัยพระครูปัญญาธรรมพิทักษ์ (โกศล เตชปญฺโญ)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.สังเวียน สาผาง
  • ที่ปรึกษา 2พระครูปลัดสมหมาย อตฺถสิทฺโธ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา08/01/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/636
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,890
  • จำนวนผู้เข้าชม 475

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมบุญผะเหวด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด  (2) เพื่อศึกษาสัญญะในพิธีบุญผะเหวด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์

ผลจากการวิจัยพบว่า สัญญะ คือตัวแทนที่ปรากฏในรูปแบบเครื่องหมาย สัญญาณ ภาษา เป็นต้น เพื่อสื่อแทนของจริงหรือสิ่งนั้นๆ กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด จินตนาการ ตลอดจนการกระทำ ครอบคลุมความรู้แขนงต่างๆ เช่น ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา เป็นต้น แตกต่างจากสัญลักษณ์คือยังไม่เป็นที่เข้าใจของคนทั้งหมดเหมือนสัญลักษณ์

คำว่า "บุญผะเหวด" เป็นสำเนียงของชาวอีสานที่มาจากคำว่า "บุญพระเวส"หรือ พระเวสสันดร เป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติสืบมา ตามคติความเชื่อของชาวอีสานและชาวอำเภอธวัชบุรี ในพิธีบุญผะเหวดจะกระทำอยู่ 3 วัน คือ วันแรก เป็นวันเตรียมงาน เตรียมสถานที่ วันที่สอง เป็นวันโฮม วันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร พระสงฆ์และชาวบ้านจะร่วมกันแห่ผ้าผะเหวด อัญเชิญพระอุปคุตขึ้นหอ และวันที่สาม เป็นวันพิธีบุญผะเหวด ตีสองพระก็จะเทศน์คาถาพัน เทศน์จบจะร่วมพิธีตักบาตรและต่อด้วยการเทศน์พระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ จบลงด้วยการเทศน์อานิสงส์ 1 กัณฑ์

คำว่า เวสสันดร เป็นสัญญะ สื่อถึง หนทางของพ่อค้า และสื่อถึงการบำเพ็ญทานบารมี ประวัติความเป็นมาของพระเวสสันดร การแห่ผ้าผะเหวด สื่อถึงการแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง แห่พระอุปคุต สื่อถึงการแห่พระอุปคุตจากสะดือทะเล เป็นพระเถระที่สามารถปกป้องคุ้มครองชาวบ้านได้ คาถาพัน สื่อถึงการเทศน์ประวัติของพระเวสสันดรด้วยภาษาบาลี เครื่องบูชาคาถาพันมี ธูป เทียน และดอกบัว อย่างละ 1000 ให้เท่ากับคาถาพอดี

ชูชก ที่แห่ประดับท้ายขบวนพระเวสสันดร ชูชก เป็นสัญลักษณ์ ของการขอที่ไม่มีประมาณ ชูชก เป็นสัญลักษณ์ ของผู้ที่กินตะกะตกาม กินแบบไม่มีประมาณ ชูชก เป็นสัญลักษณ์ ของฝ่ายชั่วร้ายทางพระพุทธศาสนา อีกมุมมองหนึ่งปราชญ์ทางพุทธศาสนามีมุมมองว่า ชูชก เป็นผู้ที่ส่งเสริมการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The thesis entitled “A Study of Signs in Bun Pha Vet Ceremony of Thawat Buri District, Roi-Et Province” consists of two objectives, namely: 1) to study the Bun Pha Vet ceremony of Thawat Buri District, Roi-Et province, and 2) to study signs in the Bun Pha Vet ceremony of Thawat Buri District, Roi-Et province. The data collection in this qualitative research employed from documents and interviews.

The results of this research revealed that Sanna or sign is a representative appearing in the form of a symbol, sign, and language in order to represent the reality of that thing. It stimulates emotion, feeling, thought, imagination as well as actions, including various knowledge such as language, culture, tradition, and religion, etc.  However, a sign is not yet understood by all people like a symbol.

The word “Bun Pha Vet” is a dialect accent of Isan people (northeastern Thais) originating from the word “Bun Phra Ves” or “Vessandon (Vessantara).”  The ceremony has been practiced as a tradition from the past until the present. According to the belief of Isan people and people in Thawat Buri district, the ceremony is set for three days: the first day is for the preparation of the venue and work; the second day is called “Wan Hom” for commemorating Vessantara. Usually, monks and villagers will participate in the procession of Pha Vet cloth, and the image of Upagupta Thera will be invited to place in the hall; the third day is Bun Pha Vet ceremony day starting from monks start reciting the Gāthā Phan or the Pali thousand stanzas at 2 AM, followed by the alms round and the chanting of 13 chapters of the Vessantara Jātaka and lastly, the chanting of 1 chapter of Ānisamsa (benefit).

The word “Vessantara” is a sign representing the path of a merchant as well as the meritious deed. According to the history of Vessantara, the procession of Pha Vet cloth represents the procession of Vessantara into town, while the procession of the image of Upagupta Thera represents the procession of Upagupta Thera from the navel of the sea into town. Upagupta Thera is a senior monk who protects the villagers. Gāthā Phan describes the sermon of Vessantara history in Pali. The worship of Gāthā Phan comprises 1,000 incenses, 1,000 candles, and 1,000 lotus flowers as to be equal to the numbers of 1,000 stanzas.

The image of Jūjaka is placed at the end of the Vessantara procession representing an extreme request and greed. Jūjaka is a sign of those who eat greedily and represents the evil side of Buddhism. On the other hand, in the opinion of  Buddhist scholars, Jūjaka helps to promote the meritorious deed of the Buddha

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.36 MiB 1,890 11 มิ.ย. 2564 เวลา 21:10 น. ดาวน์โหลด