-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษารูปนามในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Nāmarūpa for the Promotion of Insight Meditation Practice
- ผู้วิจัยนางสาวสุดศิริ ประทุมทอง
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
- วันสำเร็จการศึกษา08/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/638
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 168
- จำนวนผู้เข้าชม 246
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาวะรูปนามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาสภาวะรูปนามที่สัมพันธ์กับไตรลักษณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (3) เพื่อศึกษารูปนามในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า รูปในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีลักษณะผันแปรเปลี่ยนแปลงสลายไป
อันเนื่องจากความเย็นร้อน หิวข้าว กระหายน้ำ ยุง ริ้น เหลือบ ไร ลม แดด ส่วนที่เป็นรูปในร่างกาย คืออาการ 32 เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ส่วนนาม คือ เวทนาขันธ์ความรู้สึก สัญญาขันธ์ความจำ สังขารขันธ์การคิดดีและคิดไม่ดีและวิญญาณขันธ์การรู้อารมณ์
รูปนามมีสภาพเป็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และอนัตตา มีความสัมพันธ์กับรูป คือการเปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่คนชราและความตาย ส่วนนามมีความสัมพันธ์ไตรลักษณ์ คือ ความดีใจเปลี่ยนเป็นความเฉยๆ เปลี่ยนเป็นความเสียใจทุกข์ ความจำที่เปลี่ยนแปลงไม่สามารถจำได้ ความคิดที่ดีมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาและความคิดที่ไม่ดี ความโลภ ความโกรธ ความหลงการรับรู้อารมณ์ในชีวิตประจำวัน มีลักษณะไม่เที่ยง ไม่สามารถอยู่ในสภาพเดิมได้
รูปนามเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานการให้ทานรักษาศีลและการเจริญภาวนาเป็นฐานส่งเสริมให้บุคคลปฏิบัติวิปัสสนา การทำทานเพื่อให้จิตใจอ่อนโยน ไม่มีความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ การรักษาศีลอันเป็นกรอบในการจัดระเบียบร่างกายของบุคคลผู้ปฏิบัติธรรม และการภาวนามีส่วนให้รูปนามมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี นำรูปนามพ้นจาก ชาติ ชรา และมรณะ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Corporeality (rūpa) and mentality (nāma) that appeared in Buddhist scriptures, (2) to study the state of rūpa and nāma in relation to the three common characteristics (tilakkhaṇa) that appeared in Buddhist scriptures and (3) to study rūpa and nāma as to promote the insight meditation by using qualitative research methods in documentary research and the field studies.
The finding showed that rūpa as appeared in Buddhist scriptures characterize the impermanent caused by coldness, hotness, hungry, thirsty, mosquito gnat, flea, wind and sunlight. Rūpa as in physical body is the 32 organs (dvattiṅsākāra) as hair, nail, teeth, skin, etc. While nāma signifies feeling (vedanā), perception (saññā), mental formations (saṅkhāra) and consciousness (viññāṇa).
Rūpa and nāma are condition of three characteristics, that are impermanent, suffering and soullessness. Rūpa changes from child to adult to elder and to death respectively. Nāma changes from happiness to neutral and to sadness. The memory changes to forget. The good thinking consists of mettā, karuṇā, muditā and upekkhā. The bad thinking consists of lobha, dosa and moha. Consciousness in daily life characterizes impermanent and transiency.
Rūpa and nāma are important as to support the insight meditation practice. Dāna, Sīla, and bhāvanā are base for encouraging people to practice the insight meditation. Dāna practice aims to gentle mind and not frugality in property. Sīla is a framework for organizing the physical body of the practitioner. Bhāvanā contributes rūpa and nāma in having good physical and mental health, bringing rūpa and nāma escape from birth (jāti), decay (jarā) and death (maraṇa)
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 11.19 MiB | 168 | 11 มิ.ย. 2564 เวลา 21:39 น. | ดาวน์โหลด |