-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาทำนองที่ใช้ในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราชในล้านนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study on the Preaching Melody in Mahachati, Maharaj Section, in Lan Na
- ผู้วิจัยพระอธิการกิจกร ปญฺญาวชิโร (คำมีจันทร์)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ไพรินทร์ ณ วันนา
- ที่ปรึกษา 2พระอธิการสมนึก จรโณ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา13/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/639
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 25
- จำนวนผู้เข้าชม 23
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติการเทศน์มหาชาติในล้านนา 2) เพื่อศึกษารูปแบบของทำนองที่ใช้ในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราชในล้านนา 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของทำนองที่ใช้ในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราชในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ศึกษาจากเอกสารชั้นปฐมภูมิ ชั้นทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จำนวน 20 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า ประวัติการเทศน์มหาชาติในล้านนาได้รับความศรัทธามาจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเรื่องมหาชาติ และเหตุผลดังกล่าวจึงกลายมาเป็นประเพณี วัฒนธรรม ในการฟังเทศน์มหาชาติ ซึ่งก็ได้ทำการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนแพร่ขยายมาถึงสังคมล้านนา
ส่วนรูปแบบทำนองที่ใช้ในการเทศน์มหาชาติ กัณฑ์มหาราชล้านนา มีวิธีการเทศน์อยู่ 2 วิธี คือ 1) รูปแบบทำนองธรรมวัตร หมายถึง การเทศน์ออกเสียงแบบเป็นลักษณะคำร้อยแก้วธรรมดา 2) รูปแบบทำนองมหาชาติ หมายถึง การเทศน์แบบใช้เทคนิค และสัญญลักษณ์เข้ามาช่วยในการบังคับเสียงเพื่อให้เกิดความไพเราะ
จากการวิเคราะห์รูปแบบทำนองที่ใช้ในการเทศน์กัณฑ์มหาราชล้านนา พบว่า ทำนองธรรมวัตร ใช้สัญญาลักษณ์เพียงตัวเดียว คือ การลงเสียง ส่วนทำนองมหาชาติ พบว่า ใช้สัญญาลักษณ์ครบทุกตัวตั้งแต่ เหินสูง เหินต่ำ ละม้าย และการลงเสียง โดยได้รับการยกย่องว่า เป็นทำนองที่เหมาะสมในการนำมาใช้กับการเทศน์กัณฑ์มหาราชมากที่สุด เพราะทำให้การเทศน์มีความไพเราะ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดีสมกับเป็นรูปแบบทำนองของการเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราชของล้านนา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aims: to 1) to study the history of the Mahachati sermon in Lanna, 2) to study the style of melody in Mahachat sermon, Maharaj chapter in Lan na, 3) to analysis the style of melody in Maharaj sermon.This research is qualitative research by study from the primary and secondary data and in-depth interview from 20 key informants. The results of this study present that:
Studying from history, the Maharaj sermon in Lanna start from the faith that the Lord Buddha has spoken in the Tripitaka about Mahachat, then the reason of this doctrine becomes tradition and culture in listening to the Maharaj sermon. It has been inherited since the period of Sukhothai and expanded to Lanna. In the present, the styles of melody used in the Maharaj sermon, Mahachat chapter in Lan na are specified in two methods as 1) Thammawat melody refers to the discourse in the form of simple prose, and 2) Maharaj melody refers to using the technique of controlling the sound to make it harmonious, consists of high and low.
Analysis of the melody pattern in the Maharaj sermon, Maharaj chapter in Lanna, it has found that the Thammawat melody uses only one symbol. Whereas, the Maharaj melody uses all of melody to improve quality of melody because they are melodious and able to impress the audiences.These elements can improve the efficiency of listening to the Maharaj sermon, Maharaj chapter in Lan na.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6214205008 | 6214205008 | 1.05 MiB | 25 | 11 มิ.ย. 2564 เวลา 21:53 น. | ดาวน์โหลด |