โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาพิธีกรรมการขอฝนในล้านนา ผ่านพิธีแห่พระเจ้าไม้แก่นจันทน์ วัดป่าตันหลวง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Ritual for the Rian in Lan Na Through Parade Ceremony of the Kaen chan Buddha Image, Wat Pa Tan Luang, Mae ta district, Lampang Province
  • ผู้วิจัยพระอธิการปันแก้ว อินฺทปญฺโญ (วัทโล)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริสุตานุยุต, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. พิเศษ ดร. ปกรณ์ มหากันธา
  • วันสำเร็จการศึกษา13/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/641
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 24
  • จำนวนผู้เข้าชม 26

บทคัดย่อภาษาไทย

          วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาประวัติการขอฝนในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาพิธีกรรมการขอฝนในล้านนา ผ่านพิธีแห่พระเจ้าไม้แก่นจันทน์ วัดป่าตันหลวง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมเกี่ยวกับการขอฝนล้านนาผ่านพิธีแห่พระเจ้าไม้แก่นจันทน์ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากพระสงฆ์และชาวบ้านผู้ทำพิธีจำนวน 10 รูป/คน  แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหาในรูปแบบพรรณนา

          ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนากล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ฝนตกเป็นปัจจัยตามธรรมชาติ พระพุทธศาสนายังเชื่อว่าฝนจะตกหรือไม่นั้นเกิดจากการกระทำของมนุษย์ หากมนุษย์เป็นคนดีมีศีลธรรมตั้งอยู่ในธรรมก็จะทำให้ธรรมชาติมีความเป็นไปอย่างปกติ ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล แต่หากมนุษย์ไม่ตั้งอยู่ธรรมก็จะทำให้ธรรมชาติเกิดความปั่นป่วน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล และเมื่อใดที่มีฝนตกผิดแปลกธรรมดาที่ไม่ใช่ฝนในฤดู เชื่อว่าเป็นฝนที่เกิดจากการที่มนุษย์ตั้งอยู่ในธรรม เป็นอำนาจของท้าวสักกะเทวราช ความยินดีของเทพวัสสวลาหก เทพปัชชุนบันดาลฝน และพระสาวกผู้มีฤทธิ์

          การขอฝนในสังคมไทยมีอยู่ทุกภาคมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ปู่แถน ที่มีอิทธิพลความเชื่อทั้งในเขตภาคอีสาน ภาคกลางเหนือ และภาคกลาง พิธีแห่นางแมว บุญบั้งไฟ รวมไปถึงการเทศน์คาถาปลาช่อน ฯลฯ ซึ่งพิธีกรรมการขอฝนเหล่านี้จะจัดทำขึ้นในปีที่ฝนแล้งเท่านั้น หากฝนตกต้องตามฤดูกาลก็ไม่มีการจัดการพิธีแต่อย่างใด 

          พิธีกรรมขอฝนในล้านนามีหลายรูปแบบ ได้แก่ พิธีแห่พระเจ้าฝนแสนห่า พิธีจิบอกไฟ(จุดบั้งไฟ) บูชาพญาแถน พิธีแห่ช้างเผือก พิธีแห่ปลาช่อนขอฝน เป็นต้น โดยเฉพาะที่วัดป่าตันหลวง ตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีพระเจ้าไม้แก่นจันทน์ที่เชื่อกันว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล ชาวบ้านเชื่อว่าสามารถบันดาลให้ฝนตกลงมา โดยอัญเชิญพระเจ้าไม้แก่นจันทน์ปีละ 2 ครั้ง คือช่วงปีใหม่เมืองหรือวันสงกรานต์และในประเพณียี่เป็ง หากปีไหนที่เกิดสภาวะฝนแล้งไม่สามารถที่จะทำการเกษตรได้ จะมีการอัญเชิญพระเจ้าไม้แก่นจันทน์เป็นกรณีพิเศษ โดยชุมชนร่วมจะให้ความร่วมมือช่วยกันจัดงานขึ้น มีการการบริจาคทรัพย์ แรงกายแรงใจ ไทยธรรม นุ่งขาวห่มขาวสมาทานรักษาศีลอยู่วัดฟังธรรม ซึ่งครบหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล และภาวนา ทำให้ชุมชนเกิดความสามัคคี ได้สืบทอดประเพณีอันล้ำค่า และเป็นการสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          The objectives of the thesis were: 1) to find out the history of praying for rain in Buddhism, 2) to explore the ritual of praying for rain in Lanna through the procession of the Kaen Chan Buddha Image, Wat Pa Tan Luang, Mae Ta District, Lampang Province, and 3) to analyze the ritual about praying for rain in Buddhism through the procession of the Kaen Chan Buddha Image. This study was a qualitative research methodology by studying information from Tripitaka, commentary, documents and in-depth interviews with 10 Buddhist monks and villagers who attended the ritual, and then analyzed the content in a descriptive form.      

          The findings indicated that Buddhism, it is mentioned that the factors caused the rain it is caused by natural factors. Buddhism also believed that rain or not because it was caused by human actions. If human beings were good, moral and upright, it would bring nature to normal and seasonal rain, but if human beings were not in the Dhamma causing turbulent nature which caused no rain seasonally and when there was an unusual rain that was not a rainy season which was believed that it arose from the inspiration of the powerful deities, including Sakka Devarãja, the joyfulness of Thep vassawalahaka, Thep pajjuna, and followers who had the power.

          Praying for rain in Thai society there were all sectors and very such as Poo Than had the influence beliefs in Isan, North, and Central region. The rituals of Hae Nang Maew, Bang Fai (Rocket Festival), were including Pla Chon etc. these praying for rain ritual will be held only in the year when it was drought if there was a seasonal rain, the ceremony will not be held at all.

          There were many forms of ritual for rain praying in Lan na, including the procession of Phra Chao Fon Saneh Ha, Chi Bang Fai (Light Fireball), Worship to Phrayathan, the procession of White Elephant, the procession of Pla chon etc. Especially, Wat Pa Tan Luang, Mae Ta District, Lampang Province by having the Kaen Chan Buddha Image that was believed and created in Buddhist era. The villagers believed that can inspire the rain by inviting Kaen chan Buddha Image twice a year, that is New Year or Songkran Day and Yi Peng Festival. If there was a drought in any year, farmers are unable to do agriculture they will invite Kaen chan Buddha Image in special circumstances by inviting to enshrine another village which the community cooperated helped to organize the ritual by donation, inner strength, offerings, wearing white cloths and observing the precepts at the temple and listening to Dhamma this practice was done in principles of Puññakiriyã-vatthu, including Dãna, Sîla, and Bhãvanã these made the unity of community, had inherited the valuable tradition and income to stimulate the economy.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6214205002 6214205002 5.67 MiB 24 11 มิ.ย. 2564 เวลา 22:10 น. ดาวน์โหลด