โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงวัยตามแนวพุทธจิตวิทยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Development of Holistic Well-being for the Elderly Based on Buddhist Psychology
  • ผู้วิจัยพระครูภาวนาสังวรกิจ วิ.(สุวิทย์ สุวิชฺโช, คำมูล)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.ประยูร สุยะใจ
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/642
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 337
  • จำนวนผู้เข้าชม 945

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาหลักธรรมและหลักจิตวิทยาการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงวัยตามแนวพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อสร้างโปรแกรมการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงวัยตามแนวพุทธจิตวิทยา 3) เพื่อนำเสนอโปรแกรมการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงวัยตามแนวพุทธจิตวิทยา การวิจัยนี้เป็นแบบผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/คน และใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจากชมรมผู้สูงอายุกลุ่มเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร จำนวน 322 คน และใช้กลุ่มตัวอย่างเข้าทดลองโปรแกรม จำนวน 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยมีดังนี้ 

1.  องค์ประกอบของสุขภาวะองค์รวมที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงวัย มี 5 ด้าน ประกอบด้วย สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางอารมณ์ สุขภาวะทางจิตและสุขภาวะด้านปัญญา ซึ่งการพัฒนาสุขภาวะทางจิตของ Ryff และ Keyes มี 6 มิติ คือ ความเป็นตัวเอง จัดสภาพแวดล้อมได้ มีความงอกงามในตน มีสัมพันธภาพต่อผู้อื่น มีเป้าหมายชีวิต และยอมรับตนเองได้ ส่วนด้านหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะทางจิต คือ สัปปายะ 7 และใช้หลักไตรสิกขา 3  เพื่อพัฒนาสุขภาวะองค์รวม 

2.  การสร้างโปรแกรมการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงวัยตามแนวพุทธจิตวิทยา ใช้วิธีการฝึกใน 7 กิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมรู้จักคุณค่าของตนเอง กิจกรรมสุขกายสบายจิต กิจกรรมสุขชีวี กิจกรรมคุณธรรมนำชีวิต กิจกรรมชมชนร่วมใจ กิจกรรมกินดี มีสุขภาพดี และกิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ซึ่งสร้างขึ้นจากการบูรณาการ หลักพัฒนาสุขภาวะทางจิต 6 มิติ ของ Ryff & Keyesm กับหลักสัปปายะ 7 ตามกระบวนการเรียนรู้จากหลักไตรสิกขา 3

3.   ผลการทดลองใช้โปรแกรมการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงวัยตามแนวพุทธจิตวิทยา ฝึกอบรมผู้สูงวัย จำนวน 30 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมทั้ง 5 ด้าน หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยค่าเฉลี่ยการพัฒนาสุขภาวะอยู่ในระดับมากทุกข้อ 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study aims 1) to study Buddhadhamma and Psychological principles for developing the holistic well-being for the elderly based on Buddhist Psychology; 2) to construct the development program of the holistic well-being for the elderly based on Buddhist Psychology; and 3) to propose the development program of the holistic well-being for the elderly based on Buddhist Psychology. The study is a mixed methods research between a qualitative method and survey research in nature. For collecting qualitative data an In-depth interview is used to collect data from 17 key informants and Focus Group Discussion is also used for collecting qualitative data.  A questionnaire is used to collect quantitative data from 322 respondents who are the elderly from Chao Phaya group of Bangkok selected by a Random Sampling Method. For analyzing qualitative data a content analysis is employed and statistics including Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation is used for analyzing quantitative data. 

Results of the study were as follows:

1. There were 5 elements of the holistic well-being suitable for the elderly including a physical well-being, social well-being, emotional well-being, mental well-being and intellectual well-being, 6 dimensions of Ryff and Keyes’s mental well-being development including self-being, environmental management, self-growth, good relationship, life target and recognition, while the Buddhadhamma promoting the mental well-being comprised 7 Suitable things and threefold Training favorable to holistic well-being. 

2. The construction of the development program of the holistic well-being for the elderly based on Buddhist Psychology used 7 training activities comprising activities of self-actualization, good body good mind, happy life, morality leading life, united community, good food good health and reinforcement of life quality by integrating Ryff and Keyes’s 6 dimensions with 7 Suitable things based on the learning process of Threefold Training.

3.  The experimental results of the development program of the holistic well-being for the elderly based on Buddhist Psychology for training 30 samples of the elderly found that the result after the training was significantly higher than before training at .05 level and the holistic well-being development mean of all was high.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.05 MiB 337 11 มิ.ย. 2564 เวลา 23:42 น. ดาวน์โหลด