โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ ด้านการเยียวยาจิตใจผู้ป่วย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Development Program of Buddhist Psychology Counseling Competency of Volunteer Monks in Healing Mind of Patients
  • ผู้วิจัยพระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ (ธนิกกุล)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • ที่ปรึกษา 2ดร.วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
  • วันสำเร็จการศึกษา18/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/643
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 502
  • จำนวนผู้เข้าชม 560

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยเรื่องโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ด้านการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ด้านการเยียวยาจิตใจผู้ป่วย  2) เพื่อสร้างโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ด้านการเยียวยาจิตใจผู้ป่วย และ 3) เพื่อเสนอโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ด้านการเยียวยาจิตใจผู้ป่วย การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยผสม คือ การวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพระสงฆ์กลุ่มพระจิตอาสาอาสาคิลานธรรม จำนวน 18 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ด้านการเยียวยาจิตใจผู้ป่วย คู่มือการอบรมการพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินเพื่อวัดคุณลักษณะของพระสงฆ์ในการให้การปรึกษาแนวพุทธ ความเข้าใจในหลักการบรรเทาทุกข์ทางใจ ทักษะการให้การปรึกษาแนวพุทธ และกระบวนการการให้การปรึกษาแนวพุทธ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบความแตกต่างด้วยโดยการวัดซ้ำ Repeated Measure ANOVA และจำแนกเป็นรายคู่โดยวิธี Bonferron                                                                                   

ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                                       

ด้านคุณลักษณะของพระสงฆ์ในการให้การปรึกษาแนวพุทธ โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ จะชวนให้พระสงฆ์ผู้ให้การปรึกษากลับมาสังเกตกาย ใจตนเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะทำ จะพูด การกระทำนั้นๆ ทำได้ด้วยความตั้งใจ การมีสติอยู่กับบุคคลตรงหน้า เปิดพื้นที่รับฟังบุคคลตรงหน้า  ซึ่งช่วยให้พระสงฆ์ผู้ให้การปรึกษาได้ย้อนกลับมามองตนเอง และมิได้คาดหวังผลลัพธ์จากการสนทนา การฟังที่ลึกซึ้งและมีประสิทธิภาพเพื่อจะชวนกันมาสู่ความเป็นสัมมาทิฏฐิและย่อมส่งผลถึงพฤติกรรมด้านภายในที่ถูกบ่มเพาะและดำรงอยู่ด้วยความรักเมตตาชำระใจให้เห็นและเข้าใจผู้อื่น                                                                                             

ด้านความเข้าใจในหลักการบรรเทาทุกข์ทางใจ การนำอริยสัจจ์ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคมาเป็นหัวใจหลักหรือกระบวนการหลักในการใช้บรรเทาทุกข์ทางจิตใจผู้ป่วย พระสงฆ์ผู้ให้การปรึกษาเองก็ต้องเรียนรู้เพื่อจะได้น้อมนำไปสู่กระบวนการให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ยอมรับในความทุกข์ของตนซึ่งสามารถนำมาปรับเปลี่ยนด้วยสภาวธรรมองค์ธรรมอื่นๆ การสร้างกำลังใจและความสุขสงบให้ใจตัวเองเมื่อเผชิญความทุกข์                                                                 ด้านทักษะการให้การปรึกษาแนวพุทธ การใช้ทักษะให้ถูกต้องกับขั้นตอนกระบวนการการให้การปรึกษา ทำให้สามารถสรุปเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ร่วมกันคิด พิจารณา ทวนซ้ำเพื่อความชัดเจนของปัญหา และการเข้าใจปัญหาของตนเองอย่างแท้จริง รวมทั้งยังทำให้ผู้ป่วยได้เห็นภาพรวมเกี่ยวกับปัญหาหรือความทุกข์ของตนเองได้ชัดเจนขึ้นและการสรุปยังเป็นการย้ำประเด็นสำคัญๆ ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการคิดของผู้ป่วยด้วย การให้กำลังใจอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าปัญหาหรือความทุกข์ไม่ใช่เรื่องแปลก ซึ่งคนโดยทั่วไปก็สามารถมีได้                                                                           

ด้านกระบวนการการให้การปรึกษาแนวพุท พบว่ากระบวนการให้การปรึกษาแนวพุทธที่เป็นไปอย่างมีขั้นตอน สามารถช่วยให้พระสงฆ์ผู้ให้การปรึกษาและผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจกรรมไปพร้อมกันได้และช่วยให้การดำเนินการให้การปรึกษาง่ายขึ้น พระสงฆ์ผู้ให้การปรึกษาต้องช่วยปรับให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินอยู่ในขั้นตอนเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อมิให้การปรึกษาเกิดความวกวน สับสน ช่วยให้กระบวนการการปรึกษาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการวิจัยเชิงทดลอง สรุปผลการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระดับ ลำดับ และค่า p-value ในการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยการพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ด้านการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยของผู้ป่วย เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองพบว่าหลังการทดลองค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นแตกต่างจากช่วงก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระยะติดตามผล 15 วันเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่าทุกด้านเพิ่มขึ้นแตกต่างจากช่วงหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความเข้าใจในหลักการบรรเทาทุกข์ทางใจ พบว่า หลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of the research on A development program of Buddhist psychology counseling competency of volunteer monks in healing mind of patients- are 1) to study the elements of the Buddhist psychology counseling competency for monks on mental relief of patients, 2) to design the program to develop the Buddhist psychology counseling competency for monks on mental relief of patients and 3) to assess the effectiveness of the program to develop the Buddhist psychology counseling competency for monks on mental relief of patients                             

The research is a mixed method research between a qualitative and experimental. The sample group consists of 18 Gilandhamma volunteer monks. The tools used are: a program for enhancing Buddhist counseling in Buddhist monks’ as volunteer for healing sick persons through dhamma of patients, the manual of the Buddhist psychology counseling competency development program for monks on mental relief of patients. Data collection tools are: The questionnaire and the assessment form for measuring the characteristics of the monks who give Buddhist psychology counseling, the understanding of the principle of mental relief, the skills and knowledge of the process of giving Buddhist psychology counseling. The statistics used to analyze the data are Percentage (%), Mean value (), Standard Deviation (S.D) and the difference between data sets by t-test.                                                                                                                                  The result of the study found that:                                                                                     

The aspect of the characteristics of the monks in providing Buddhist counseling. The Competency Development Program for Buddhist Psychology Counseling of Monks invites the counselor monks to come back to always observe the body and mind  regardless whether they are thinking, doing, or talking, they will be mindful with people in front of them and actively listen to them. This enables the counselor monks to reflect back to themselves, relinquish the expectation of the result from the conversation. A deep and effective listening leads both parties to the right view and will affect the internal behavior that is being cultivated and living with love, compassion, and understanding towards others.                                                                                       

The aspect of the understanding of the principle of mental relief. The application of the Four Noble Truth; The sufferings, the causes of sufferings, the cessation of sufferings and the path to the cessation of sufferings, as the key process for mental relief of the patients, the counselor monks themselves must learn to lead the patients to realize that their sufferings can be eliminated and they can create mental peace when encountering the sufferings.                                                       

The aspect of the skills of providing Buddhist Psychology Counseling. The right skills for every step of the counseling process enable counselors and patients to see clearly the problems and the cause of problems. The conclusion emphasizes the key points which affect that thinking process of the patient, moral support may help patients to see that sufferings can happen to anybody.                                                                                                                                           

The aspect of the process of Buddhist Psychology Counseling. The step by step process enables counselor monks and patients go hand in hand and facilitates the counseling. The counselor monks need to adjust both parties to go together as not to confuse, ramble and to conduct effectively.                                                                                                                              As for the experimental research, the mean value ( ), the standard deviation (S.D.) and p-value are used to test the hypotheses and to compare the average value in developing the Buddhist Psychology Counseling Competency of the Monks on mental relief of patients. The differences between the pre-experiment and the post-experiment increases significantly. It is also found that every aspect have improved significantly after a follow-up period of 15 days, except the aspect of the understanding of the principle of the counseling which remains unaffected.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 8.71 MiB 502 12 มิ.ย. 2564 เวลา 00:25 น. ดาวน์โหลด