-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะในพระพุทธศาสนาตามแนวทาง พุทธเถรวาท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guidelines for the Promotion of Well-Being According to Theravada Buddhism
- ผู้วิจัยพระครูสุตพัฒนาภรณ์ (จักรพัฒน์ อมโร)
- ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดสมหมาย อตฺถสิทฺโธ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา03/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/649
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 693
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัย แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะในพระพุทธศาสนาตามแนวทางพุทธเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ค้นคว้าจากพระไตรปิฎกและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดสุขภาวะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษากรณีตัวอย่างของภิกษุและสาวกที่เป็นผู้ดูแลสุขภาวะปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะตามหลักคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ คือเน้นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และค้นคว้าจากพระไตรปิฎกรวมถึงเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งสรุปผลของการวิจัยตามข้อค้นพบ
ผลการวิจัยพบว่า สุขภาวะในพระพุทธศาสนาตามแนวทางพุทธเถรวาท คือ การมีสุขภาพที่ดี โดยการใช้หลักธรรม ในทางกาย เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง อดทน ศีล การรักษาวินัยควบคุมตนเองไม่ให้ไปสร้างความทุกข์ เดือดร้อน จิตใจ การสร้างกำลังใจที่ดีให้มีพลังใจในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ความทุกข์ และปัญญา การพิจารณาตามสภาวะความเป็นจริงของชีวิต จะทำให้เกิดความสงบสุขไม่ทุกข์ทรมาน
กรณีตัวอย่างของภิกษุและสาวกที่เป็นผู้ดูแลสุขภาวะปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ การที่ภิกษุ และบุคคลในทางพระพุทธศาสนาดูแลสุขภาพ ซึ่งมีวิธีการดูแลสุขภาพในทางกาย จะรักษาด้วยยา และคุณธรรมเพื่อให้ร่างกายเกิดความเข้มแข็งมีเรี่ยวแรงต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ การรักษาด้วยศีล มีวินัยควบคุมดูแลตนเอง ก็จะทำให้เกิดยับยั้งความอยาก อันเป็นต้นเหตุของการก่อโรค จิต มีการใช้ธรรม เพื่อทำให้จิตใจเกิดความเข้มแข็ง อ่อนโยน มีพลังกำลังใจในการที่จะต่อการสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ความทุกข์ ทรมาน และปัญญา จะพิจารณา โดยให้รู้จักปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เข้าใจความจริงของชีวิต ก็จะทำให้เกิดความสงบสุข และหลุดพ้นจากความทุกข์
แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ การนำเอาหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะ ใน 4 ด้าน
1. ด้านกาย คือ การส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกาย เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง อดทน ต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ และความทุกข์ทางกาย
2. ด้านศีล คือ การมีวินัย ควบคุมพฤติกรรมตนเอง ในการกิน เดิน นั่ง นอน คิด โดยไม่เบียดเบียน ทำร้าย จะเป็นการสร้างความปลอดภัยในชีวิต ไม่ก่อทุกข์ในตนเอง และผู้อื่น
3. ด้านจิตใจ คือ การมีความเมตตา กรุณา สมาธิ จะทำให้จิตใจเกิดความเข้มแข็ง อ่อนโยน ผ่องใส สดชื่น เบิกบาน มีความสุข ไม่ทุกข์ มัวหมอง ด้วยอารมณ์ ต่าง ๆ
4. ด้านปัญญา คือ การพิจารณามองโลกอย่างมีเหตุผลตามหลักธรรม จะทำให้เกิดปัญญารอบรู้ เข้าใจ ในชีวิตที่เป็นจริง ซึ่งจะทำให้ชีวิตเกิดความสงบสุข ปราศจากทุกข์ โรคภัยไข้เจ็บ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “The Guidelines for the Promotion of Well-Being According to Theravada Buddhism” consists of three objectives: 1) to study the concepts of well-being in Theravada Buddhist scriptures; 2) to study the case studies of Bhikkhu and followers who were in charge of the well-being as appeared in Theravada Buddhist scriptures; and 3) to propose the guidelines for the promotion of well-being according to Theravada Buddhist scriptures. This is qualitative research focusing on documentary research and research from Tipiṭaka including related research works
From the study, it is found as follows:
The well-being according to Theravada Buddhism is defined as follows: being physically healthy by applying the Buddhist doctrines for strength, patience and observance of the precepts as well as being disciplined and able to control oneself not to cause trouble or being harmful to others; being mentally healthy by building encouragement with the power to fight illnesses and suffering; and being intellectually healthy by being aware of the reality of life which will lead to peacefulness, without suffering.
The case studies of Bhikkhus and followers who were in charge of the well-being as appeared in Theravada Buddhist scriptures were that Bhikkhus and Buddhists took care of their physical health by both medicines and virtue in order to strengthen the body and fight against illness. Including, the observance of the precepts with the discipline to control themselves leading to the abstinence of craving which was the cause of mental illness. There was also an application of the Buddhist doctrines for the mind to be strong, gentle and motivated to fight against illness and suffering. In terms of intellectual aspect, the learning of letting go of the attachment to all things and understanding the truth of life would result in peacefulness and liberation from all suffering.
The guidelines for the promotion of well-being according to Theravada Buddhism refer to the application of the Buddhist doctrines to promote the four aspects of well-being as follows:
1. Physical aspect: the promotion of physical well-being for strength, patience and the ability to fight against illnesses and physical suffering.
2. Moral aspect: having the discipline and the ability to control one’s behavior whether in eating, walking, sitting, sleeping and thinking not to harm and hurt others. This will create safety in life, not causing suffering for oneself and others.
3. Mental aspect: having long-kindness, compassion and concentration help to develop the mind to be strong, gentle, bright, fresh, happy and not clouded with suffering and other various emotions.
4. Intellectual aspect: viewing the world rationally based on the Buddhist doctrines which will lead to wisdom and the understanding of the reality of life resulting in a peaceful life without suffering and illnesses.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|