-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาแนวทางการดำรงสมณะเพศให้ยั่งยืน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Guidelines for Sustaining Monkhood
- ผู้วิจัยพระวิทยา อาภสฺสโร (พรมพิงค์)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาอินทร์วงศ์ อิสฺสรภาณี, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. พิเศษ ดร.ปกรณ์ มหากันธา
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2020
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/654
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 189
- จำนวนผู้เข้าชม 246
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมเพื่อการดำรงสมณะเพศ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและอุปสรรคในการดำรงสมณะเพศให้ยั่งยืน 3)เพื่อเสนอแนวทางในการดำรงสมณะเพศให้ยั่งยืน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับพระสงฆ์ที่ดำรงสมณะเพศ อายุพรรษา 40 พรรษาขึ้นไป จำนวน 10 รูป และ ฆราวาสที่เคยอุปสมบทเป็นพระภิกษุเกิน 10 พรรษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอในรูปแบบพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักธรรมเพื่อการดำรงสมณะเพศ ได้แก่ 1.การปฏิบัติตามโอวาทปาติโมกข์ อันเป็นหลักการ 3 คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ 2.การปฏิบัติตามอุดม การณ์ 4 คือ ความอดทนอดกลั้น การมุ่งให้ถึงพระนิพพาน การไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบาก การพึงเป็นผู้มีจิตใจสงบ และ 3.วิธีการ 6 คือ การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค การนั่งนอนในที่อันสงัด การเพียรในอธิจิต นอกจากนี้ ควรยึดหลักพรหม จรรย์ หลักพระวินัย และหลักพระธรรม
2) ปัจจัยและอุปสรรคในการดำรงสมณะเพศให้ยั่งยืน พระสงฆ์จะต้องดำเนินตามพระธรรมวินัย เพื่อให้ดำรงตนกำจัด อาสวะกิเลส ภายในใจโดยนำหลักธรรมนั้นมาขัดเกลากิเลส
3) แนวทางในการดำรงสมณะเพศให้ยั่งยืน ควรยึดหลัก 4 พ คือ 1.ความเพียรระวัง คือ ความเบื่อหน่าย ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ทำให้ไม่รู้จักพอ 2.เพียรละ คือ ละเว้นจากทำความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ 3.เพียรรักษา คือ การรักษาสิ่งที่ดีงาม รักษาศีลปาฏิโมกข์ รักษาจารีตประ เพณี ให้เกิดขึ้นต่อส่วนตัวและส่วนรวม 4.เพียรเจริญ คือ การทำสิ่งเดิมให้เจริญขึ้น โดยการสนับสนุน แก้ไข ให้เกิดความเจริญต่อการดำรงสมณะให้ยั่งยืน ตามหลักสัมมัปปธาน 4
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Study of the Guidelines for Sustaining Monkhood” consisted of three objectives: 1) to study the Buddhist doctrines for sustaining monkhood; 2) to studythe factors and obstacles in sustaining monkhood; and 3) to propose the guidelines for sustaining monkhood. This was a qualitative research with the data collection employed from an interview with 10 monks who have ordained more than 40 Vassa and 10 laypeople who used to ordain as a monk with more than 10 Vassa. The research instrument was the structured interview. The data was analyzed and presented in the descriptive method.
From the study, it was found as follows:
1) The Buddhist doctrines for sustaining monkhood were as follows: 1) The observance of the Fundamental Teaching (Ovādapāṭimokkha) consisting of three principles, namely, avoid doing all evil, cultivate all that is wholesome, and purify one’s mind; 2) The practices of the four ideal inspirations as follows: enduring patience is the highest austere practice, Nibbāna is supreme, not harming or troubling others, and maintaining the calm mind; and 3) The six approaches consisting of not blaming, not hurting, keeping oneself composed based on the fundamental teaching, having moderate consumption, residing in a quiet place, and putting an effort for the higher mentality. The monks should also behave according to the monastic life, the Vinaya rules and the Dhamma.
2) The factors and obstacles in sustaining monkhood were that monks had to observe the Vinaya rules in order to eliminate all the mental intoxication by applying the Buddhist doctrines for the cessation of defilements.
3) The guidelines for sustaining monkhood should be according to the following efforts: 1) Effort in being careful, namely, to be careful of boredom, desire, and craving which leads to insatiability; 2) Effort to abstain, namely, to abstain from bad deeds physically, verbally and mentally; 3) Effort in maintaining, namely, to maintain the goodness, to observe the fundamental precepts, to maintain the tradition both privately and publicly; and 4) Effort in cultivating, namely, to cultivate for growth by supporting and fixing for sustaining monkhood according to the Buddhist doctrine of the Four Great Efforts (Sammappadhāna)
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.38 MiB | 189 | 12 มิ.ย. 2564 เวลา 03:05 น. | ดาวน์โหลด |