โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบและวิธีการ ลด ละ เลิก การดื่มสุราของพระครูวิวิธประชานุกูล เจ้าอาวาสวัดหัวริน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Patterns and Methods for Reducing Alcohol Consumtion of Phrakruwiwitprachanukul, the Abbot of Huarin Temple, Sanpatong District, Chiangmai Province
  • ผู้วิจัยพระสาคร ฐิตธมฺโม (โปธิ)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์
  • วันสำเร็จการศึกษา10/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/655
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 513
  • จำนวนผู้เข้าชม 437

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์เรื่อง รูปแบบและวิธีการ ลด ละ เลิก การดื่มสุรา ของพระครูวิวิธประชานุกูล วัดหัวริน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1. เพื่อศึกษาปัญหาการดื่มสุราในสังคมไทย 2. เพื่อศึกษาแนวทางการลด ละ เลิกการดื่มสุราในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 3. เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการลด ละ เลิกการดื่มสุราของพระครูวิวิธประชานุกูล วัดหัวริน ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

               ผลการศึกษาพบว่า สุรา หมายถึง เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของเอธิลแอลกอฮอล์ จำแนกเป็น 3 ประเภท คือ สุรา เมรัย และมัชชะ  สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย พบว่า ผู้เริ่มดื่มส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 19.20 ปี สาเหตุของการดื่ม 3 ประการ คือ ตามอย่างเพื่อน เพื่อนชวนดื่ม อยากทดลองดื่ม และเพื่อเข้าสังคม การสังสรรค์  สาเหตุของการติดสุรามี 5 ด้าน คือ 1) ปัจจัยด้านตัวบุคคล 2) ปัจจัยด้านชีวภาพ 3) ปัจจัยด้านการเรียนรู้ 4) ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ และ 5) ปัจจัยด้านโรคทางจิตเวช ผลกระทบของการดื่มสุรา แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ผลกระทบต่อตนเอง 2) ผลกระทบต่อผู้อื่น และ 3) ผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายและองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริโภคสุราในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 8 กลุ่ม ตามลักษณะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีองค์กรรับผิดชอบ คือ องค์กรทางภาคการเมือง องค์กรภาครัฐราชการ องค์กรด้านวิชาการ องค์กรด้านสังคมและองค์กรระดับนานาชาติ

                แนวทางการลด ละ เลิกการดื่มสุราในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พบว่า คำสอนเกี่ยวกับสุราปรากฏในพระไตรปิฎก คือ เบญจศีลและอบายมุข โดยมีหลักเกณฑ์การวินิจฉัย 4 ประการ คือ น้ำดื่มนั้นเป็นน้ำเมา จิตคิดจะดื่ม ผู้ดื่มมีความพยายามที่จะดื่ม และน้ำเมานั้นไหลล่วงเข้าไปไนลำคอ และได้แสดงโทษของสุรา ไว้ ๖ ประการคือ  1) เสียทรัพย์ทันตาเห็น 2) ก่อการทะเลาะวิวาท 3) เป็นบ่อเกิดแห่งโรคภัยต่างๆ 4) เป็นเหตุเสียชื่อเสียง 5) เป็นเหตุให้ไม่รู้จักอาย และ 6) เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา หลักธรรมที่ส่งเสริมการเว้นจากสุราและเมรัย คือ หลักเบญจธรรมและหลักสติสัมปชัญญะ แนวทางการลด ละ เลิกการดื่มสุราของพระครูวิวิธประชานุกูล วัดหัวริน ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการลด ละ เลิกการลดการดื่มสุราของพระครูวิวิธประชานุกูล สรุปได้ 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการดำเนินการเชิงรุก โดยการค้นหาผู้ป่วยตามสถานที่ต่างๆ 2) รูปการดำเนินการเชิงตั้งรับ โดยการเปิดวัดและศูนย์พุทธอุทยานธรรมชัยมงคลประชานุกูล และมีโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการงดเหล้ามากกว่า 9 โครงการ และ 3) รูปแบบการสร้างเครือข่าย ซึ่งมีมากกว่า 10 เครือข่าย

               วิธีการการลด ละ เลิกการดื่มสุราของพระครูวิวิธประชานุกูล พบว่า ได้มีการดำเนินการลดเหล้า 3 วิธีการ 1) การใช้หลักธรรมเพื่อการลดการดื่มสุรา 2) การใช้กิจกรรมเพื่อลดการดื่มสุรา   3) การใช้วิธีการอุปสมบทเพื่อเลิกสุรา ซึ่งจำแนกออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเมินเฉยหรือขั้นไม่สนใจปัญหา ขั้นที่ 2 ขั้นลังเลใจ ขั้นที่ 3 ขั้นตัดสินใจ หรือเตรียมการ  ขั้นที่ 4 ขั้นลงมือกระทำขั้นที่ 5 ขั้นกระทำต่อเนื่อง และขั้นที่ 6  ขั้นกลับไปดื่มซ้ำ ในส่วนของรูปแบบและวิธีการที่ใช้ในการลด ละ เลิกการดื่มสุรา สามารถวิเคราะห์ตามหลักอนุปุพพิกถา คือ 1) ทานกถา การเข้าหาและค้นหาผู้ป่วย 2) ศีลกถา การชักนำให้ผู้ติดสุราหันหน้าเข้าวัด 3) สัคคกถา การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่ติดเหล้าได้ตั้งใจเลิกเหล้า 4) กามาทีนวกถา การพัฒนาผู้ติดเหล้าให้มีจิตสูงขึ้น และ 5) เนกขัมกถา การชักชวนผู้ที่ผ่านการบำบัดสุราได้อย่างเด็ดขาดเข้าสู่การอุปสมบท

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The thesis entitled “The Patterns and Methods for Reducing Alcohol Consumtion of Phrakruwiwitprachanukul, the Abbot of Huarin Temple, Sanpatong District, Chiangmai Province” is a qualitative research. The objectives of the study are: 1. to study the alcohol drinking problems in Thai society, 2. to study the ways to reduce and stop drinking in the Buddhist scriptures, and 3. to analyze patterns and methods for reducing alcohol drinking by Phrakruwiwitprachanukul, the abbot of Huarin Temple, Thung Sa toke Sub district, San Pa Tong District, Chiang Mai Province.

The results of the study show that alcohol refers to beverages that contain Ethyl alcohol, which is classified into 3 types, namely Surā, Merai, and majja. The situation of alcohol consumption in Thai society found that most drinkers are male. The average age is 19.20 years. The 3 reasons for drinking are imitate friends’ behavior friends’ invitation, want to try drinking, and for socializing party. There are 5 causes of alcohol dependence, 1) personal factors, 2) biological factors, 3) learning factors, 4) personality factors, and 5) psychiatric factors. The effects of drinking alcohol are divided into 3 areas which are 1) impact on oneself, 2) impact on others and 3) impact on society and economy. The policies and organizations involved in alcohol consumption in Thailand divided into 8 groups according to the characteristics of those involved. The responsible organizations are political organizations, government organizations, academic organizations, social organizations, and international organizations.

In the Buddhist Scriptures, it is found that the teachings about alcohol appear in the Tripitaka, which are Pañcasĩla and Abāyamukha. There are 4 diagnostic criteria that are: that beverage is alcohol, the intention to drink, the endeavor to drink, and that beverage flows past the throat. The Tripitaka shows the harm of alcohol in 6 aspects which are losing property in a timely manner, quarrel, being the cause of various diseases, causing discredit, causing to be embarrassed and being the cause of intellectual decrease. The doctrines that promote abstinence from alcohol and spirits are the Pañcadhamma and Sati Sampajañña.

Guidelines for reducing and stop alcohol drinking by Phrakruwiwit prachanukul, Hua Rin Temple abbot, Thung Sa Toke Sub district, San Pa Tong District, Chiang Mai Province can be summarized into 3 forms which are 1) Proactive Action Model: by searching for patients at various locations 2) Defensive action: by opening the temple and Dhammachai Mongkol Prachanukul Buddhist Park Center and there are 9 different projects to support the abstention from alcohol and 3) Network construction model which has more than 10 networks.

Methods of reducing alcohol consumption of Phrakruwiwitprachanukul, it was found that liquor was implemented in 3 methods 1) Using the principles for reducing alcohol 2) Using activities to reduce alcohol 3) The use of ordination methods to stop alcohol. There are divided into 6 steps; Step 1) Nonchalant or Ignoring, Step 2) Hesitant, Step 3) Decision or Preparation, Step 4) Act, Step 5) Continuation, and Step 6) repeatedly drink. In terms of patterns and methods used to reduce and stop drinking according to Anupubbikathā, namely 1) Dāna-kathā; approaching and searching for patients 2) Sila-kathā; the induction of the alcoholic patients to the temple 3) Sagga-kathā; to inspire alcoholics to stop alcohol 4) Kāmādĩ nava-kathā;, the development of alcoholics’ minds and 5) Nekkhammānisamsa-kathā; to persuade the person who has passed the alcohol abstinence treatment to be ordained.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.14 MiB 513 12 มิ.ย. 2564 เวลา 03:37 น. ดาวน์โหลด