โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาคติความเชื่อการสร้างพระเจ้าทันใจของชาวพุทธในจังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of beliefs in making the Buddha Statue Named Phrajaotanjai of Buddhists People in Lamphun Province
  • ผู้วิจัยพระอานนท์ พฺรหฺมวํโส
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริสุตานุยุต, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระอธิการสมนึก จรโณ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา10/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/657
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 451
  • จำนวนผู้เข้าชม 563

บทคัดย่อภาษาไทย

 วิทยานิพนธ์เรื่อง  คติความเชื่อการสร้างพระเจ้าทันใจของชาวพุทธในจังหวัดลำพูน” ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้  3 ประการ  คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดในพระพุทธศาสนาที่นำไปสู่การสร้างพระพุทธรูป (2) เพื่อศึกษาคติความเชื่อการสร้างพระพุทธรูปของชาวพุทธในล้านนา และ (3) เพื่อวิเคราะห์คติความเชื่อการสร้างพระเจ้าทันใจของชาวพุทธในจังหวัดลำพูน การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลวิจัยพบว่า

                 การศึกษาแนวคิดในพระพุทธศาสนาที่นำไปสู่การสร้างพระพุทธรูป พบว่า พระพุทธรูปมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก แต่เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระพุทธองค์ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุเสมือนรูปปฏิมา เรื่องราวตามพุทธประวัติและชาดกที่พระพุทธองค์ตรัสแสดงแก่พุทธบริษัทมีปรากฏหลายที่ในพระคัมภีร์ เรื่องยมกปาฏิหาริย์ จนกลายมาเป็นตำนานพระพุทธรูปปางไม้แก่นจันทร์  การกำเนิดพระพุทธรูป มีประเด็นอยู่ 3 ประเด็นคือ 1) เชื่อว่าพระพุทธรูปเกิดมาในสมัยที่พุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพ 2) เกิดในสมัยพระเจ้ามิลินท์หรือเมนันเดอร์ซึ่งเป็นกษัตริย์กรีกปกครองอินเดีย  3) เกิดในสมัยพระเจ้ากนิษกะมหาราช ปกครองอินเดียเหนือ

                 ส่วนคติความเชื่อการสร้างพระพุทธรูปของชาวพุทธในล้านนา พบว่าประวัติศาสตร์ของล้านนาสมัยหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีนำพระพุทธศาสนามาวางรากฐานบนดินแดนล้านนาที่หริภุญ ชัยเป็นแห่งแรก ทรงนำพระเถระ500 รูปจากเมืองละโว้มาด้วย พระนางทรงสร้างพระพุทธรูป จนสืบต่อมาให้เห็นในล้านนาตราบถึงปัจจุบันนี้  พุทธศาสนิกชนชาวล้านนา มีศรัทธาเละเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างวัดและพระพุทธรูปไว้เป็นที่เคารพสักการะแทนองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า คติความเชื่อการสร้างพระเจ้าทันใจของชาวพุทธในจังหวัดลำพูน  พบว่าการสร้างพระเจ้าทันใจนั้น พระเจ้าทันใจนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  และปางประทานพร  พระเจ้าทันใจหมายถึงพระพุทธรูปที่ใช้เวลาสร้างได้สำเร็จภายใน 1 วัน จะเริ่มพิธีตั้งแต่เที่ยงคืนเป็นต้นไป จนสามารถสร้างองค์พระได้สำเร็จก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ของวันถัดไป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้ในเย็นอีกวันหนึ่ง การสร้างพระพุทธรูปนั้น มักจะมีขั้นตอน และพิธีกรรมที่ละเอียดซับซ้อน จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพระพุทธานุภาพ และอานุภาพแห่งเทพยดาที่บันดาลให้พิธีกรรมสำเร็จอีกอย่างพระพุทธรูปในล้านนาถูกสร้างขึ้นเพื่อทดสอบความพร้อมเพรียงของหมู่คณะในหมู่บ้านเรียกว่าพระเจ้าทันใจ สร้างขึ้นเพื่อทดสอบบุญบารมี ความสามัคคีของชาวบ้าน เมื่อสร้างเสร็จจึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระเจ้าทันใจ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               This thesis entitled " A Study of beliefs in making the Buddha Statue Named Phrajaotanjai of Buddhists People in Lamphun" has 3 objectives: (1) to study the concept of Buddhism that leads to the making of the Buddha statue, (2) to study the principle of beliefs in making Buddha statue of Lanna Buddhists, and (3) to analyze the principle of beliefs in making the Buddha statue named Phrajaotanjai of Buddhists people in Lamphun Province. This research is a qualitative research, researching data from the documents and field trip.  The results of the research found that:

The study of the concepts in Buddhism that lead to the making of Buddha statues found that the Buddha statues appeared in the Tripitaka. But, it is as a comparison of the Buddha sitting in the middle of monks like a statue. Stories based on the Buddha's biography and jataka that the Lord Buddha spoke to the followers appeared in many places in the scriptures of miracle. And that became a legend of the Buddha statue in Kaenjan wood posture. There are 3 issues of the origin of the Buddha statues: 1) it is believed that the Buddha statue was occurred during the lifetime of the Lord Buddha. 2) it was occurred during the reign of King Milin or Menander, the Greek king who ruled India 3) it was occurred in the period of king Kanishka the Great, who ruled north india.

As for the principle of beliefs in making Buddha statues of Lanna Buddhists found that the Lanna history in the Hariphunchai period during the reign of the queen Chamadevi, Buddhism brought its foundation on the land of Lanna, at Hariphunchai, for the first time, bringing 500 monks from Lavo. She created the Buddha statue. And, it has continued in Lanna until today. Lanna Buddhists have faith and devotion to Buddhism. Therefore, they built temples and Buddha statues as a place of worship and regarded the Lord Buddha. Principle of beliefs in making “Phrajaotanjai” of Buddhists people in Lamphun Province found that the making of Phrajaotanjai favored creating in Maravichai and Phratarnphorn posture.  Phrajaotanjai means a Buddha statue that takes time to build successfully within 1 day. The ceremony will start from midnight onwards until being able to finish building the Buddha statue before the sunset of the next day and able to perform the Phuttha Phisek ceremony on another evening. The making of the Buddha statue always have many steps and complicated rituals. Therefore, it is believed that it was because of his power and the power of the divine that inspired the ritual. Another belief, Buddha statues in Lanna were created to test the unison of the groups in the village. Phrajaotanjai was created to test merit and unity of villagers. When it completed, this Buddha statue was called "Phrajaotanjai" which literally means instant Buddha statue.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.8 MiB 451 12 มิ.ย. 2564 เวลา 03:59 น. ดาวน์โหลด