โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาผู้สูงอายุ ผู้มาปฏิบัติธรรมวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Buddhist Holistic Health of the Elderly : A Case Study of the Elderly Who Meditation Practices at Wat Phra Rama 9 Karnchanapisek Bangkok
  • ผู้วิจัยพระมหาเด่นศักดิ์ สุขุมาโล
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วุฒินันท์ กันทะเตียน
  • วันสำเร็จการศึกษา21/04/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/661
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 198
  • จำนวนผู้เข้าชม 447

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  เพื่อศึกษาระดับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ  2)  เพื่อศึกษาความแตกต่างระดับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของผู้สูงอายุจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ประชากรคือผู้สูงอายุผู้มาปฏิบัติธรรม ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร  จำนวน  188  คน  เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ประกอบด้วย  ค่าร้อยละ,ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน,  ทดสอบค่าที,  One  Way  ANOVA  ผลการวิจัยพบว่า  1)  ข้อมูลทั่วไป  ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  คิดเป็นร้อยละ  75  มีอายุ  60  ปี - 90 ปี  ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง  71-80  ปี  (ร้อยละ  58.51)  สถานภาพการสมรสส่วนใหญ่เป็นโสด  (ร้อยละ82.98) อาชีพส่วนใหญ่เป็นอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ  43.09)  ระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่าเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 86.17) ส่วนรายได้ต่อเดือนนั้นส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000  บาทต่อเดือน  (ร้อยละ  83.51)  2)  ระดับการรับรู้ปัจจัยจิตสังคม  พบว่าผู้สูงอายุฯ มีระดับการรับรู้ปัจจัยจิตสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.93, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.69) 3)  ระดับการรับรู้สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ พบว่ามีระดับการรับรู้สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในระดับ  มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.44,  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.36)  จัดลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้  ลำดับ 1 ด้านปัญญาภาวนา  (ปัญญา)  (ค่าเฉลี่ย = 4.89)  ลำดับ 2 ด้านศีลภาวนา (สังคม) (ค่าเฉลี่ย  =  4.86) ลำดับ 3 ด้านจิตตภาวนา (อารมณ์) (ค่าเฉลี่ย = 4.46) ลำดับ 4 ด้านกายภาวนา (กาย)  (ค่าเฉลี่ย =  3.58)  4) ความแตกต่างในระดับการรับรู้สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ  พบว่า  เพศ  อายุ  สถานภาพการสมรส อาชีพเดิมและระดับการศึกษาสูงสุดของผู้สูงอายุไม่ส่งผลต่อความแตกต่างต่อระดับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ แต่รายได้ต่อเดือนของผู้สูงอายุพบว่าส่งผลต่อความแตกต่างต่อระดับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  0.05

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The main objectives of this research are : (1) to study the level of Buddhist holistic health. (2) to study the difference of Buddhist holistic health of the elderly separated according to personal information. Population is 188 elderlies in Wat Phra Rama 9 Karnchanapisek Bangkok The tool for collecting data is questionnaire and statistics to be used consist of percentage, mean, standard deviation, t-test, One Way ANOVA and the findings of this research are concluded as follows:  1)  General information  Most of the elderly are female (75%), 71-80 years of age (59%), and single (83%). Mostly Their occupation is private business/trading (43.09%), highest education level is the secondary school or lower (86.17%) and monthly income is lower than 5,000 per month (83.51%)  2)  Perception levels of Psycho-social factors

This research founded that totally perception  level of Psycho-social factors the elderlies is much (M= 4.93, S.D.= 0.69). When considered specific aspect in descending order it founded that 1. Perception of ability of oneself on taking care of health (M= 4.55). 2. Good attitude on taking care of the health of oneself (M= 4.47). 3. Belief internal-external powers concerning taking care of health of oneself (M= 4.40). 4. Supporting on taking care of the health of oneself from personal within in the center (M= 4.21). 5. Supporting on taking care of the health of oneself from physical personal (M= 3.86).  3)  Perception on Buddhist holistic health. It founded that the level of perception on Buddhist holistic health is much (M=4.44, S.D.= 0.36) and specific aspects in descending order are as following : 1. Wisdom development (M= 4.89). 2. Moral development (M= 4.86). 3. Emotional development (M= 4.46). 4. Physical development (M= 3.58). 4)  The difference among perception levels of  Buddhist holistic health. It founded that the elderlies categorized by sex, age, marital status, old occupation and the highest education have no different level of Buddhist holistic health.

However monthly income effected to level of Buddhist holistic health of the elderlies at significant level 0.05

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.57 MiB 198 12 มิ.ย. 2564 เวลา 04:19 น. ดาวน์โหลด