-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักพุทธจริยศาสตร์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of the Quality-of-Life Development of the Elderly According to Buddhist Ethics of the Sa Nok Kaew Subdistrict Administrative Organization, Phon Thong District, Roi Et Province
- ผู้วิจัยพระครูปริยัติวราภิรม (ผลา ปภสฺสโร)
- ที่ปรึกษา 1พระครูภาวนาโพธิคุณ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.จรัส ลีกา
- วันสำเร็จการศึกษา27/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/662
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 197
- จำนวนผู้เข้าชม 144
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักพุทธจริยศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 40 รูป/คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. พุทธจริยศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นการนำเอาหลักพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ระดับได้แก่ ระดับต้นคือ ศีล พัฒนากาย วาจา ระดับกลางคือ ศีลกรรมบถ พัฒนากาย วาจา ใจ และระดับสูงคือมรรคมีองค์ 8 พัฒนาปัญญา และพัฒนาควบคู่กันกับหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) หลักภาวนา 4 (กายภาวนา สีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา) และอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)
2. สภาพปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มี 4 ด้าน คือ 1) ปัญหาคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย 2) ปัญหาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ 3) ปัญหาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม และ4) ปัญหาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักพุทธจริยศาสตร์คือ การนำหลักธรรมได้แก่ ไตรสิกขา 3 มาเป็นกระบวนการสร้างระเบียบในการดำเนินชีวิต ภาวนา 4 เพื่อพัฒนากาย ศีล จิต ปัญญาเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขที่ยั่งยืนด้วยการตระหนักรู้ถึงคุณค่า ความปลอดภัยในชีวิตของเพื่อนมนุษย์ ส่วนอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมพื้นฐานนำไปสู่ความสำเร็จที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการซึ่งนำไปสู่ความมีสุขภาพที่แข็งแรงทำให้มีอายุยืน และเมื่อได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องตามหลักพุทธจริยศาสตร์ดังกล่าวมาแล้วจะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตสมบูรณ์และนำไปสู่ความเป็นสังคมคุณภาพครบทั้ง 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม และปัญญา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research were: 1) to study Buddhist ethics in improving the quality-of-life of the elderly; 2) to study the quality-of-life problems of the elderly of the Sa Nok Kaew Subdistrict Administrative Organization, Phon Thong District, Roi Et Province; 3) to analyze the development of the quality-of-life of the elderly according to Buddhist ethics of the Sa Nok Kaew Subdistrict Administrative Organization, Phon Thong District, Roi Et Province. This study was qualitative research conducted by studying information from the Tripitaka, documents, and related research. There were 40 key informants. The data were interpreted by the descriptive analysis based on the inductive method.
The results of the research were as follows:
1) Buddhist ethics in the development of quality of life is the introduction of Buddhist ethics at three levels: the beginning level, Sīla (Precepts) is the physical and verbal development; the middle level, Sīla-kammapatha (Course of morality actions) is the physical, verbal and mental development and the high level, Aṭṭhaṅgika-magga (the Noble Eightfold Path) is the wisdom development in parallel with The Trisikkha (Threefold Learning) principle (Precept, Meditation, Wisdom), the Four Bhāvanā (Development) principles (Physical, Moral, Mental and Intellectual Development) and the Four Iddhipāda Dhammas (Paths of Accomplishment) (Aspiration, Effort, Thoughtfulness, Investigation).
2) The problematic condition of the quality-of-life problem of the elderly was found in four aspects: 1) the physical quality of life, 2) the emotional quality of life, 3) the social quality of life, and 4) the intellectual quality of life.
3) Developing the quality of life of the elderly according to Buddhist ethics is to apply the principles such as Trisikkha as a process of creating an order for living, while the Four Bhāvanā is used to develop a body, morality, and wisdom for a happy and sustainable coexistence in society by realizing the value and safety in the life of our fellow human beings. The Four Iddhipāda Dhammas are used as the fundamental principle that leads to success in relation to each other, it is a process that leads to a healthy life that leads to longevity. When it has been developed in accordance with the aforementioned Buddhist ethics, the elderly will have a quality of life and lead to a quality society in all 4four dimensions: physical, mental, social, and intellectual.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6105105028 | 6105105028 | 2.94 MiB | 197 | 12 มิ.ย. 2564 เวลา 04:27 น. | ดาวน์โหลด |