โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์การเข้าถึงไตรสรณคมน์ของชาวพุทธในสังคมไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Going to the Triple Gem for Refuge of Buddhists in Thai Society
  • ผู้วิจัยนายถิรพิทย์ สุริวงษ์
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร. ประพันธ์ ศุภษร,
  • วันสำเร็จการศึกษา19/05/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/663
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 214
  • จำนวนผู้เข้าชม 403

บทคัดย่อภาษาไทย

               วิธีการเข้าถึงของคนไทย พบว่า 1.การมอบตน ส่วนใหญ่เป็นการประกาศเข้าถึงตามสายตระกูล ไม่ได้มีการฟังคือศึกษาพิจารณาธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนเสียก่อน จึงเป็นการเข้าถึงไตรสรณคมน์ที่เศร้าหมอง คือไม่รู้ไม่เข้าใจพระรัตนตรัย 2.การมีพระรัตนตรัยเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ชาวพุทธในสังคมไทยนอกจากจะยึดพระธรรมคำสอนเรื่องการพึ่งพาตนเองอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งของตน แต่ก็ไม่ได้เข้าใจและถือหลักการพึ่งพาตนเองไปปฏิบัติตามเพราะบางคนยังเชื่อกันว่าพระเครื่องสามารถป้องกันอันตราย จึงเป็นการเข้าถึงที่เศร้าหมองเพราะรู้ผิด เข้าใจผิด คือเข้าใจพระรัตนตรัยหรือวัตถุที่เนื่องด้วยพระรัตนตรัยเช่น พระเครื่องเป็นอย่างเทพเจ้าและของขลัง 3.การยอมเป็นศิษย์ คนไทยโดยมากจะมีความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ผู้ที่ให้ความรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพ ลักษณะของครูที่ดีในพระพุทธศาสนาเถรวาทตรงกับลักษณะครูที่ดีตามความเห็นของคนไทย 4.การกราบไหว้ ชาวพุทธในสังคมไทยนิยมกราบไหว้พระรัตนตรัยคือพระพุทธรูปในฐานะองค์ปฏิมาหรือตัวแทนพระพุทธเจ้า ถือว่าพระพุทธรูปเสมือนมีชีวิตจิตใจ แต่ก็ยังมีการไหว้ผีบรรพบุรุษ ผีบ้านผีเมือง และผีประจำธรรมชาติต่างๆ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

In this research, it was found that Thai people’s taking the Threefold Refuge is of the following manners: 1) surrendering oneself; by and large it refers to the way one seeks refuge in accordance with lineage without first consideration of the Buddha’s teachings and this is akin to taking the Threefold Refuge in impure manner due to improper understanding of Triple Gems, 2) putting Triple Gems ahead; though in Thai society people follow the Buddha’s teachings in accordance with what He says ‘Attã hi attano nãtho’ meaning that one is one’s own refuge, yet one does not understand and properly practice it due to the strong faith in amulet’s protection of danger. Consequently, one attains the impure position of refuge because of misunderstanding of Triple Gems and materiality that the amulet is the god and sacred item, 3) following as the disciple; generally most of Thai people show their gratitude to teachers who instruct them certain kinds of knowledge in living life. Here the good characteristic of teachers in Theravada Buddhism seems to accord with Thai people’s opinions, and 4) paying respect; most of Thai Buddhists always pay due respect to Triple Gems because they believe that the Buddha statue is the representative of the Buddha where the living Buddha exists, but they still pay respect to their ancestors’ spirit, house ghost, and various natural ghosts.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.75 MiB 214 12 มิ.ย. 2564 เวลา 04:32 น. ดาวน์โหลด