โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนตำบลโพนเมือง ของประชาชนตำบลโพนเมือง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Quality of Life According to the Five Precepts of the People in Phon Mueang Subdistrict, At Samat District, Roi Et Province
  • ผู้วิจัยพระมหาขันเงิน ขนฺติธโร (อาจหาญ)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูวาปีจันทคุณ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา05/03/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/665
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 233
  • จำนวนผู้เข้าชม 314

บทคัดย่อภาษาไทย

                 งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศีล 5 ตามแนวของพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการปฏิบัติตามหลักศีล 5 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  ตำบลโพนเมือง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด (3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชา ชน ตำบลโพนเมือง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา

                 ผลการวิจัยพบว่า ศีล 5 เป็นแนวทางปฏิบัติพื้นฐานเพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลและสัง คม ทั้งยังเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข นอกจากศีล 5 จะเป็นข้องดเว้นจากการทำชั่วแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วย ผลจาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ค่านิยมของชุมชน ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับชุมชน และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

                 การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ของชาวตำบลโพนเมืองในปัจจุบัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการดำ เนินชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยมีพระสงฆ์กับผู้นำชุมชน และสำนักงานเทศบาลตำบลโพนเมืองเป็นแกนนำในการกำหนดแนวทางส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามหลักศีล 5 โดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่แสดง ออกถึงความเมตตากรุณาและสร้างมิตรภาพในชุมชน การประกอบอาชีพที่สุจริต ตระหนักถึงความสำ คัญของสถาบันครอบครัว และการไม่ละเมิดคู่ครอง การช่วยกับควบคุมไม่ให้มีอบายมุขแพร่หลายในชุมชน และจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมให้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมให้ใช้สติในการดำเนินชีวิตของประชา ชนในชุมชน    

               การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลโพนเมืองเป็นไปตามหลักศีล 5 ซึ่งนำมาใช้บูรณาการกับสภาพทางสังคมและการประกอบอาชีพ โดยการสร้างกิจกรรมและโครงการขึ้นมารองรับกับศีล 5 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของชุมชน และการส่งเสริมปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรแบบพึ่งพาตนเองในชุมชน ซึ่งมีการสร้างกิจกรรมขึ้นมาภายใต้กรอบของศีล 5 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้ 1) กิจกรรมที่มุ่งพัฒนาการมีส่วนร่วมสร้างความสามัคคีและส่งเสริมมิตรภาพในชุมชน 2) กิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาสัมมาชีพ 3) กิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครับ 4) กิจกรรมพัฒนาการคัดกรองข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มีความเกี่ยวข้องกับชุมชน  เพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกันโดยไม่บิดเบือน 5) กิจ กรรมการลด ละ เลิกอบายมุข และพัฒนาสติปัญญา ซึ่งมีการบูรณาการกิจกรรมทางสังคมกับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน โดยมีการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ผลกระทบที่เป็นผลพวงมาจากการไม่ปฏิบัติตามศีล 5 และการใช้ศีล 5 ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับบุคคลและระดับสังคม ซึ่งมีผลทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 5 ด้าน คือ คุณภาพชีวิตทางด้านสังคม คุณภาพชีวิตทางด้านการประกอบอาชีพ คุณภาพชีวิตในครอบครัว คุณภาพชีวิตด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่โปร่งใส รวมทั้งคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจและปัญญาที่ปราศจากการบีบคั้นจากอบายมุขทั้งปวง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The thesis entitled “The Development of Quality of Life According to the Five Precepts of the People in Phon Mueang Subdistrict, At Samat District, Roi Et Province” consisted of three objectives: 1) to study the Five precepts according to Buddhism; 2) to study the current conditions in accordance with the Five precepts to improve the quality of life of the people in Phon Mueang subdistrict, At Samat district, Roi Et province; and 3) to analyze the development of quality of life according to the Five precepts of the people in Phon Mueang subdistrict, At Samat district, Roi Et province. This is qualitative research by employing the documentary and field research by means of interviewing and descriptive analysis.

               The results showed that the Five precepts are the basic guidelines for controlling the behavior of individuals and society, as well as the guidelines for peaceful coexistence. In addition, the Five precepts are the principle for refraining from doing bad deeds resulting in the development of the quality of life. The result of the development of individual’s quality of life makes it possible to live together in the community appropriately and in accordance with the environment, community values and the absence of causing problems to the community which, eventually, lead to a good quality of life.

               The practice of the Five precepts of the people in Phon Mueang subdistrict in the present is consistent with their way of life and occupation. Having monks, community leaders and the Phon Mueang subdistrict municipality officer as a leader in determining the ways to enhance the quality of life according to the Five precepts, for example, encouraging activities that show kindness and friendship in the community, promoting the honest occupation, recognizing the importance of family institutions and not violating the rights of spouses, helping to control and protect community from all vices, and conducting Dhamma activities to promote mindfulness in the lives of people in the community.

              The development of the quality of life of the people in Phon Mueang subdistrict is in accordance with the Five precepts which are integrated with social and occupational conditions by creating activities and projects to support the Five precepts in order to be consistent with the current conditions and context of the community as well as the promotion of environmental factors to facilitate the development of the quality of life of the community. The development has a focus on the use of self-reliant resources in the community in which activities are created under the framework of the Five precepts as a common practice. The activities are as follows: 1) Activities that focus on developing the participation of people for creating unity and friendship in the community; 2) Activities that focus on the development of livelihoods; 3) Activities aimed at strengthening the family institution; 4) Activities to develop information screening and disclosure of information relevant to the community in order to create mutual awareness without distorting; and 5) Activities to reduce, refrain, stop all vices and develop intellect by integrating with social activities and Buddhist activities together through raising awareness of the value and importance of practicing the Five precepts. The use of the Five precepts to improve the quality of life at the individual and social levels resulting in a good quality of life in five areas as follows: quality of life in a social aspect, quality of life in the occupation aspect, family quality of life, quality of life from getting transparent information, as well as the quality of mind and intellect that is free from all vices.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.42 MiB 233 12 มิ.ย. 2564 เวลา 04:36 น. ดาวน์โหลด