-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการวิเคราะห์วัตถุนิยมวิภาษวิธีของคาร์ล มาร์ก
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of Karl Marx’s Dialectical Materialism
- ผู้วิจัยนายประธาน คงเรืองราช
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุวิน ทองปั้น
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.จรัส ลีกา
- วันสำเร็จการศึกษา27/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/666
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,467
- จำนวนผู้เข้าชม 1,238
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิภาษวิธี 2) เพื่อศึกษาวัตถุนิยมวิภาษวิธีของคาร์ล มาร์กซ 3) เพื่อวิเคราะห์วัตถุนิยมวิภาษวิธีของคาร์ล มาร์กซ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1) วิภาษวิธี คือ วิธีการสนทนาในการหาคำตอบหรือการหาข้อยุติ ต่อมาวิภาษวิธีถูกนำไปใช้ในการพัฒนาและในการแก้ปัญหา โดยการเริ่มต้นจากสภาวการณ์พื้นฐาน เมื่อสภาวการณ์พื้นฐานเกิดความขัดแย้งขึ้น จึงหาวิธีการแก้ปัญหาสภาวการณ์พื้นฐานจนได้สภาวการณ์ใหม่เกิดขึ้น ต่อมาสภาวการณ์ใหม่เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก จึงหาวิธีการแก้ปัญหาสภาวการณ์นั้นจนได้สภาวการณ์ใหม่เกิดขึ้นอีก ซึ่งทำวิธีการอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั้งได้สภาวการณ์สมบูรณ์ ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่าวิภาษวิธี
2) วัตถุนิยมวิภาษวิธีของ คาร์ล มาร์กซ ได้แก่ การนำวิธีการวิภาษวิธีมาใช้ในการพัฒนาทางด้านวัตถุที่เกิดจากความขัดแย้ง โดยธรรมชาติของสรรพสิ่งหรือวัตถุแล้ว ล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้สภาวการณ์ขัดแย้ง โดยเริ่มจากทฤษฎีพื้นฐานที่ว่าวัตถุมีความขัดแย้งอยู่ตลอดเวลา ความขัดแย้งจำนำไปสู่การเคลื่อนไหว และการเคลื่อนไหวจะนำไปสู่การพัฒนา
3) วิเคราะห์วัตถุนิยมวิภาษวิธีของ คาร์ล มาร์กซ ได้แก่ การนำโลกทัศน์ในการพัฒนาชนชั้นกรรมาชีพที่เกิดความขัดแย้ง โดยเฉพาะความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลิต การใช้แรงงาน ซึ่งมีประเด็นในวิเคราะห์ 4 ประการ คือ 1) สรรพสิ่งมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จากปริมาณไปสู่คุณภาพ 2) สรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กัน ไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว 3) สรรพสิ่งมีความขัดแย้ง 4) ความขัดแย้งภายในเป็นสาเหตุ และความขัดแย้งภายนอกเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research paper were: 1) to study Karl Marx’s dialectical materialism; 2) to analyze Karl Marx’s dialectical materialism. This study was carried out by documentary research through studying information from the Tipitaka, academic documents, and related research. The data were analyzed by descriptive methods in accordance with inductive reasoning principles.
The results of this study were as follows:
1) Dialectics is a way of conversation in looking for an answer or finding a solution. Dialectical methods are later applied in development and problem solving by starting from the basic circumstances. When the basic circumstances of the conflict arose, therefore, find a solution to the underlying circumstances problems until a new situation occurs. Therefore, it is to find a way to solve the problem of that situation until a new situation arises again. This continues in this way until the situation is complete. This is called the 'dialectical method.'
2) Karl Marx’s dialectical materialism is the application of dialectical methods in the material development of the conflict. By the nature of things or objects, all fall under the circumstances of the conflict. It starts with the fundamental theory that objects are in constant conflict. Conflict leads to the movement, and the movement will lead to development.
3) The analysis of Karl Marx's dialectical materialism is to lead the worldview in the development of the controversial proletariat, especially economic conflicts, production process, and labor use. These are analyzed in four issues as follows: 1) the movement of things from quantity to quality; 2) all things are related; nothing exists in isolation; 3) all things have conflict; 4) internal conflicts are the cause and external conflicts as conditions lead to change.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
5805505053 | 5805505053 | 1.53 MiB | 1,467 | 12 มิ.ย. 2564 เวลา 04:36 น. | ดาวน์โหลด |